Skip to main content

หลังยุค 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 คนหนุ่มสาวรุ่นหลังมักถูกตั้งคำถามเสมอว่า "นักศึกษาหายไปไหน" กระทั่งสรุปกันไปเลยว่า "ขบวนการนักศึกษาตายแล้ว" แต่ใครจะถามบ้างไหมว่าที่ผ่านมาร่วม 40 ปีน่ะ สังคมไทยมันไม่เปลี่ยนไปบ้างเลยหรืออย่างไร แล้วจะให้ความคิดนักศึกษาหยุดอยู่นิ่งๆ คอยจ้องหาเผด็จการแบบเมื่อ 40 ปีที่แล้วอยู่ได้อย่างไร 

โจทย์ของสังคมไทยในอดีตกับในปัจจุบันย่อมแตกต่างกัน ในอดีตนักศึกษาต่อสู้กับเผด็จการทหาร โจทย์มันน่ากลัว ท้าทาย เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย แต่ก็มีเป้าที่ชัดเจน สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาที่ก็มองเห็นผลประโยชน์ของชนชั้นตนเอง แม้จะก้าวออกมาในนามของมวลชน แต่ท้ายสุด พวกเขาก็ทำเพื่อผลประโยชน์ของการเติบโตของชนชั้นตนเองนั่นแหละ 

ที่พูดอย่างนั้นเพราะอย่างที่เราเห็นคือ สุดท้ายในปัจจุบัน เมื่อพวกเขากลับออกจากป่าและก้าวขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ยังมีนักศึกษาสมัยนั้นเหลืออยู่อีกสักกี่คนกันที่ยังคิดถึงมวลชนอย่างบริสุทธิ์ใจ ถ้าพวกเขายังยึดมั่นอุดมการณ์เดิม ทำไมพวกเขาจำนวนมากจึงเฉลิมฉลองกับการรัฐประหาร 19 กย. 49 แล้วทำไมหัวขบวนของพวกเขาจำนวนมากจึงเงียบสนิทกับการสังหารหมู่กลางกรุงเมื่อพฤษภาคม 53 ทำไมพวกเขาจำนวนมากกลายมาเป็นผู้ดูหมิ่นดูแคลนและร่วมกดขี่ข่มเหงประชาชนที่พวกเขาเคยรักเสียเอง 

นักศึกษาแต่ละรุ่นเผชิญกับโจทย์ของตนเองและสังคมที่แตกต่างกัน อย่าว่าแต่รุ่น 40 ปีก่อนกับรุ่นนี้เลย นักศึกษารุ่นผม ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างรุ่น "คนเดือนตุลา" เมื่อ 40 ปีก่อนกับนักศึกษาปัจจุบัน ก็ยังแตกต่างทั้งจากคนเดือนตุลาและนักศึกษาปัจจุบัน คนรุ่นผมยังสนใจเรื่องใหญ่ๆ เรื่องอำนาจรัฐ สังคมชนบท การพัฒนา กระทั่งยังมีคนฝันถึงสังคมนิยม ยังหาทางวิพากษ์ระบบทุนนิยม ยังวิพากษ์บริโภคนิยม พร้อมๆ กันนั้น ก็เริ่มเปิดรับความคิดใหม่ๆ เรื่องการเมืองวัฒนธรรม ความกระจัดกระจายของอำนาจ การต่อต้านอำนาจในชีวิตประจำวัน แต่ดูเหมือนความสนใจทั้งสองเรื่องนี้ในปัจจุบันยิ่งห่างจากกันไปทุกที

ที่จริงนักศึกษาปัจจุบันที่สนใจ "เรื่องใหญ่ๆ" ก็มีอยู่หรอก ดูได้จาก "ไอดอล" ของพวกเขาสิ อย่าง "สศจ." ก็พูดแต่เรื่องใหญ่ๆ นี่ก็แสดงว่านักศึกษาปัจจุบันก็หาทางต่อกรกับอำนาจเผด็จการแบบใหม่ที่น่าเกรงกลัวแต่ซ่อนรูปอย่างแยบยลอยู่เหมือนกัน แต่พร้อมๆ กันนั้น พวกเขาก็เข้าไปนั่งฟังเลคเชอร์แรงๆ ของ "ธเนศ วงศ์ฯ" แล้วหาซื้องานเขียนอ่านยากของไอดอลคนนี้มาถือไปมา ทั้งที่ก็ล้วนเป็นงานเกี่ยวกับการเมืองวัฒนธรรม แต่จะว่าไป นักศึกษาที่ "ชาบู" สองไอดอลนี้ก็น่าจะเป็นนักศึกษาส่วนน้อย 

ความจริงก็คือ วัยรุ่นปัจจุบันส่วนใหญ่สนใจเรื่องสังคมวงกว้างน้อยลง ผมไม่เข้าใจตั้งแต่กลับมาสอนหนังสือใหม่ๆ แล้วว่าทำไมนักศึกษาชอบทำรายงานหรือวิทยานิพนธ์เรื่องร้านกาแฟ ร้านเหล้า การดูหนังฟังเพลง ยิ่งเรื่องเซ็กซ์ยิ่งชอบศึกษากัน ชอบทำเป็นรายงานมาส่ง จนกระทั่งหลังๆ ผมต้องเตือนพวกเขาว่า "ถ้าใครจะทำเรื่องเซ็กซ์โดยไม่มีประเด็นใหม่ๆ แตกต่างไปจากที่รุ่นพี่ๆ คุณเคยทำมาแล้ว ผมจะไม่ให้ทำแล้ว เบื่ออ่านชีวิตเซ็กซ์ของพวกคุณเต็มทีแล้ว" 

แต่พอหลายปีเข้า ก็เริ่มเห็นประโยชน์ว่า ก็ดีเหมือนกันที่ทำให้เข้าใจโลกของคนยุคปัจจุบันมากขึ้น เช่น เข้าใจวรรณกรรมยุคใหม่ๆ เข้าใจเพลงปัจจุบัน เข้าใจภาษาใหม่ๆ เข้าใจการบริโภคของพวกเขา เข้าใจทัศนคติต่อเรื่องเพศของคนปัจจุบัน เข้าใจการให้ความหมายกับชีวิตตนเองของพวกเขา ฯลฯ ยิ่งหากพวกเขาไม่พยายามใช้ทัศนะแบบผู้ใหญ่หัวเก่ามาครอบตนเองแล้ว ก็จะยิ่งทำให้เห็นชีวิตของคนรุ่นปัจจุบันได้ชัดเจนมาก 

จากตรงนั้น ผมก็จะอาศัยบทเรียนจากวิชาที่สอนอยู่ สอดแทรกแลกเปลี่ยนกับประเด็นปัญหาใกล้ตัวที่พวกเขาสนใจไปทีละเล็กละน้อย เพื่อเชื่อมโยงประเด็นใกล้ตัวเขาให้ไปสู่ประเด็นที่กว้างใหญ่ของสังคม และพยายามให้เขาเข้าใจผู้คนที่มีชีวิตและฐานะความเป็นอยู่แตกต่างจากพวกเขาบ้าง เห็นใจและช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลกบ้าง เข้าใจความเหลื่อมล้ำและความอยุติธรรมบ้าง ก็ทำเท่าที่พวกเขาจะรับได้ 

ผมไม่ชอบยัดเยียดให้นักศึกษาจะต้องกลายเป็นคนรับผิดชอบต่อสังคมในนามของ "จิตอาสา" ภายในหนึ่งภาคการศึกษาแบบที่อาจารย์บางคนทำหรอก เพราะผมสงสัยว่าปัจจุบันน้ียังมียังมีชนบทที่ไหนให้นักศึกษาไปพัฒนาอยู่อีกหรือ ยังมีชาวบ้านที่ไหนเดินขบวนไม่เป็น ยังเหลือประเด็นทางสังคมอะไรอีกที่รัฐและเอ็นจีโอที่ก็กินเงินเดือนรัฐยังไม่ได้เข้าไปจับต้อง สู้แลกเปลี่ยนกับพวกเขาในประเด็นที่พวกเขาสนใจไม่ดีกว่าหรือ 

สุดท้าย แน่นอนว่าสังคมไทยยังจะต้องรำลึกและทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ตุลา 16, ตุลา 19 กันต่อไป แต่ผมคิดว่า ควรเลิกเอา "คนเดือนตุลา" เมื่อ 40 ปีก่อนมาเป็นอุดมคติกดดันหรือกระทั่งยัดเยียดคนหนุ่มสาวยุคต่อๆ มาเสียทีเถอะ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเป็นแบบผม คือพยายามข่มอารมณ์ฝ่าฟันการสบถของท่านผู้นำ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตั้งแต่ที่ผมรู้จักงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์มา มีปีนี้เองที่ผมคิดว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีความหมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เปิดภาคการศึกษานี้มีเรื่องน่าตื่นเต้นคือ วันแรกที่ไปสอน (ผมสอนอังคาร, พฤหัสบดี ครั้งละ 1 ชั่วโมง 15 นาที) มีนักเรียนมาเต็มห้อง เขากำหนดโควต้าไว้ที่ 34 คน แต่หลังจากผมแนะนำเค้าโครงการบรรยาย คงเพราะงานมาก จุกจิก ก็มีคนถอนชื่อออกไปจำนวนหนึ่ง คืนก่อนที่จะไปสอนครั้งที่สอง ผมก็เลยฝันร้าย คือฝันว่าวันรุ่งขึ้นมีนักเรียนมาเรียนแค่ 3 คน แล้วเรียนๆ ไปนักเรียนหนีหายไปเหลือ 2 คน แต่พอตื่นไปสอนจริง ยังมีนักเรียนเหลืออีก 20 กว่าคน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อได้ทราบว่าอาจารย์เก่งกิจทำวิจัยทบทวนวรรณกรรมด้านชนบทศึกษา โดยลงแรงส่วนหนึ่งอ่านงาน “ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ทบทวนภูมิทัศน์ฯ”) (อภิชาต ยุกติ นิติ 2556) ที่ผมมีส่วนร่วมกับนักวิจัยในทีมทั้งหมด 6 คนในตอนแรก และ 9 คนในช่วงทำวิจัยใหญ่ [1] ผมก็ตื่นเต้นยินดีที่นานๆ จะมีนักวิชาการไทยอ่านงานนักวิชาการไทยด้วยกันเองอย่างเอาจริงเอาจังสักที 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ถ้านับย้อนกลับไปถึงช่วงปีที่ผมเริ่มสนใจงานวิชาการจนเข้ามาทำงานเป็นอาจารย์ ก็อาจนับได้ไปถึง 25 ปีที่ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกวิชาการไทย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สำคัญคือการบริหารงานในมหาวิทยาลัย แต่ขอยกเรื่องนั้นเอาไว้ก่อน เพราะหากค่อยๆ ดูเรื่องย่อยๆ ไปเรื่อยๆ แล้วก็น่าจะช่วยให้เห็นอะไรมากขึ้นว่า การบริหารงานวิชาการในขณะนี้วางอยู่บนระบบแบบไหน เป็นระบบที่เน้นสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการในเชิงปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บอกอีกครั้งสำหรับใครที่เพิ่งอ่านตอนนี้ ผมเขียนเรื่องนี้ต่อเนื่องกันมาชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ 5 แล้ว ถ้าจะไม่อ่านชิ้นอื่นๆ (ซึ่งก็อาจชวนงงได้) ก็ขอให้กลับไปอ่านชิ้นแรก ที่วางกรอบการเขียนครั้งนี้เอาไว้แล้ว อีกข้อหนึ่ง ผมยินดีหากใครจะเพิ่มเติมรายละเอียด มุมมอง หรือประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป แต่ขอให้แสดงความเห็นแบบ "ช่วยกันคิด" หน่อยนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงวิทยานิพนธ์เป็นส่วนน้อยๆ ของโลกวิชาการอันกว้างใหญ่ และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิชาการ แต่วิทยานิพนธ์ก็เป็นผลงานที่อาจจะดีที่สุดของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่สังคมวิชาการไทยกลับให้คุณค่าด้อยที่สุด พูดอย่างนี้เหมือนขัดแย้งกันเอง ขอให้ผมค่อยๆ อธิบายก็แล้วกันครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนเริ่มพูดเรื่องนี้ ผมอยากชี้แจงสักหน่อยนะครับว่า ที่เขียนนี่ไม่ใช่จะมาบ่นเรื่อยเปื่อยเพื่อขอความเห็นใจจากสังคม แต่อยากประจานให้รู้ว่าระบบที่รองรับงานวิชาการไทยอยู่เป็นอย่างไร ส่วนจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร อย่าถามผมเลย เพราะผมไม่มีอำนาจ ไม่ต้องมาย้อนบอกผมด้วยว่า "คุณก็ก้มหน้าก้มตาทำงานไปให้ดีที่สุดก็แล้วกัน" เพราะถ้าไม่เห็นว่าสิ่งที่เล่าไปเป็นประเด็นก็อย่าสนใจเสียเลยดีกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมขอเริ่มที่เรืองซึ่งถือได้ว่าเป็นยาขมที่สุดของแวดวงมหาวิทยาลัยไทยเลยก็แล้วกัน ที่จริงว่าจะเขียนเรื่องการผลิตความรู้ก่อน แต่หนีไม่พ้นเรื่องการสอน เพราะนี่เป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการทำงานวิชาการในไทยมากถึงมากที่สุดเลยก็ว่าได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้