Skip to main content

ข่าวครม.ผ่านร่างพรบ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ชวนให้ผู้เขียนเศร้าใจจนกลายเป็นโกรธและสมเพชรัฐบาลอย่างเกินเวทนา ผู้บริหารประเทศนี้ชักจะบ้าจี้กันไปใหญ่แล้ว ความจริงไม่ใช่นักการเมืองบ้าอำนาจหรอก แต่นักการเมืองประเทศนี้เกรงกลัวสถาบันหลักต่างๆ อย่างไร้สติกันเกินไปแล้ว จนกระทั่งออกกฎหมายป้อยอ ปกป้องกันจนจะบิดเบือนธรรมชาติของสังคมกันไปใหญ่แล้ว

คำถามข้อแรกเลยคือ ทุกวันนี้สถาบันกษัตริย์ ศาสนา และความมั่นคงของประเทศ ยังได้รับการคุ้มครองไม่เพียงพออีกหรืออย่างไร จึงต้องเอาการคุ้มครองวัฒนธรรมเข้าไปผูกพ่วงด้วย

กล่าวเฉพาะสถาบันกษัตริย์ นี่ถ้าใครหมิ่นกษัตริย์ด้วยภาษาถิ่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ นอกจากคดี ม. 112 แล้ว ยังจะต้องถูกดำเนินคดีพ่วงเข้าไปอีกคดีหรืออย่างไร ถ้าไม่นับว่าศาลจะมารู้อะไรเกี่ยวกับวัฒนธรรม ก็สงสัยว่าศาลจะลงโทษอย่างไร ใช้คำหนึ่งคือผิดหนึ่งกระทง ใช้ 5 คำผิด 5 กระทง แบบเดียวกับตัดสินจำนวนครั้งที่ส่ง SMS อีกหรือเปล่า 

คำถามต่อมาคือ แล้วใครจะเป็นคนแจ้งความดำเนินคดี เช่น หากมีใครได้กำลังดูการแสดงหนังตะลุงอยู่ แล้วถ่ายคลิปที่แสดงในลักษณะ "หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ กระทบกระเทือนศาสนาและความมั่นคงของประเทศ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี" ไว้ ก็สามารถนำไปแจ้งความจับได้อย่างนั้นหรือ

นี่จะไม่ทำให้สังคมไทยโกลาหลกันไปใหญ่หรือ สังคมนี้จะกลายเป็นสังคมที่ทุกคนจ้องจับผิดกันเองตลอดเวลาหรือ สังคมนี้มิทำให้ทุกคนกลายเป็นเด็กขี้ฟ้องหรอกหรือ ลำพังคดี ม. 112 ที่พี่น้องแจ้งความดำเนินคดีกัน หรือนักจัดรายการอะไรที่ไหนก็ไม่รู้เดินขึ้นโรงพักไปแจ้งความดำเนินคดี ม. 112 กับนักศึกษาที่ออกมารณรงค์เรื่องชุดนักศึกษา ฯลฯ ยังโกลาหลคลุ้มคลั่งกันไม่พออีกหรืออย่างไร 

คำถามสุดท้าย วัฒนธรรมกลายเป็นสิ่งของที่คนบางกลุ่มเท่านั้นที่จะสามารถปกป้องดูแลได้หรือ เราจะไว้ใจ "คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม" ที่มีอำนาจในการเรียกคนนั้นคนนี้ที่เข้าข่ายกระทำผิดมาสอบสวนได้อย่างไร คนเหล่านั้นเป็นใคร มาจากไหน รู้จักวัฒนธรรมดีหรือ คณะกรรมการเหล่านี้เป็นใครกันจึงจะรู้ดีกว่าผู้ผลิตวัฒนธรรม 

หากใครที่ใช้วัฒนธรรมเหล่านั้นไปกระทำผิด คนเหล่านั้นก็น่าจะต้องเป็นเจ้าของวัฒนธรรมนั้นเองไม่ใช่หรือ เช่น คนร้องเพลงแหล่ ก็จะต้องร้องเพลงเป็น ก็แสดงว่าเขาเป็นผู้ใช้และสืบทอดเพลงนั้นมาเอง ก็แปลว่าเขาเป็นเจ้าของวัฒนธรรมนั้นไม่ใช่หรือ แต่เจ้าของวัฒนธรรมเหล่านี้กลับจะต้องถูกตัดสินจากใครก็ไม่รู้ว่ากระทำผิดทางวัฒนธรรมของตนเองอย่างนั้นหรือ

ต่อให้มีการเชิญเจ้าของวัฒนธรรมมาร่วมตัดสินคดี รัฐกำลังจะให้อำนาจคนบางคนมาตัดสินคุณค่าทางวัฒนธรรมเท่านั้นหรือ เช่น จะมีเพียงเจ้าของภาษาถิ่นบางคนเท่านั้นหรือที่จะรู้ดีว่า อะไรถูกอะไรผิดในการใช้ภาษานั้น

วัฒนธรรมเป็นของทั้งชุมชนผู้สร้างและปัจเจกชนผู้ใช้ แสดงออก และร่วมสร้าง ทั้งชุมชนและปัจเจกชนมีสิทธิครอบครอง ใช้ และดัดแปลงวัฒนธรรมของตนเอง ไม่ใช่เรื่องอะไรที่รัฐจะต้องยื่นอำนาจเข้ามาก้าวก่าย รัฐอาจช่วยส่งเสริม ช่วยสนับสนุนให้พัฒนาได้ และนั่นเป็นบทบาทที่ถูกต้องของรัฐ การประกาศกฎหมายแบบนี้ออกมาเขาไม่ได้เรียกการส่งเสริมวัฒนธรรมหรอก เขาเรียกเผด็จการทางวัฒนธรรมต่างหาก 

แล้วคิดว่ากฎหมายแบบนี้จะช่วยปกป้องคุ้มครองสถาบันหลักๆ เหล่านั้นได้จริงหรือ กฎหมายที่มีอยู่แล้วยังช่วยคุ้มครองสถาบันเหล่านั้นไม่เพียงพอหรือ และเท่าที่มีกฎหมายต่างๆ อยู่แล้วน่ะ สามารถปกป้องไม่ให้สถาบันเหล่านั้นเสื่อมลงได้หรือ อะไรจะดีจะงามย่อมอยู่ที่คุณค่าในตัวมันเองและความนิยมชมชอบ ความเคารพศรัทธาของสังคมไม่ใช่หรือ กฎหมายจะทำให้สถาบันเหล่านั้นดีงามขึ้นมาได้อย่างไรถ้าสถาบันเหล่านั้นเสื่อมลงไปเอง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระดับภูมิภาคซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนภูมิภาค สภาองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในแต่ละปี ผมมักไปร่วมสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในคณะในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนประจำอยู่โดยไม่ได้ขาด เสียดายที่ปีนี้มีโอกาสสัมภาษณ์นักเรียนเพียงไม่กี่คน เพราะติดภาระกิจมากมาย แต่ก็ยังดีที่ได้สัมภาษณ์อย่างจริงจังถึง 10 คนด้วยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียชีวิตของเด็กหญิงบนรถไฟทำให้สังคมไทยสะเทือนใจกันไปทั่ว แต่ที่น่าสะเทือนใจไม่น้อยไปกว่าความสูญเสียดังกล่าวคือ การแสดงออกของสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นสังคมอาชญากรรมในหลายๆ ประการ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวัยเยาว์ ผมเริ่มสงสัยง่าย ๆ ว่า ในหัวของแต่ละคนคิดอะไรอยู่ จึงได้ทำให้คนแตกต่างกันหรือเหมือนกัน ผมพยายามค้นหาว่าความรู้ชนิดใดกันที่จะทำให้เข้าใจความคิดในหัวคนได้ แรก ๆ ก็เข้าใจว่าศาสนาจะช่วยให้เข้าใจได้ ต่อมาก็คือจิตวิทยา แต่ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ แล้วมาสนใจประวัติศาสตร์และปรัชญา ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ถูกใจ สุดท้ายผมได้เจอกับวิชาที่น่าสนใจว่าน่าจะช่วยให้เข้าใจทัศนคติได้ดี นั่นก็คือวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมสงสัยว่า บุคคลที่น่านับถือจำนวนมากที่ยินยอมตอบรับหรือเสนอตัวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ในคณะกรรมการต่างๆ มากมายนั้น ทั้งโดยออกนอกหน้าและเสนอตัวว่าขอทำงานอย่างลับๆ พวกเขาเข้าร่วมด้วยหลักการอะไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่า ทำไมคนไทยกลุ่มหนึ่งจึงโกรธนักโกรธหนาที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประณามและต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่พวกเขานั้นเป็นทาสฝรั่งเหล่านี้มากที่สุดในประเทศนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้*ท่านคงไม่ได้ติดตามข่าว ขณะนี้ไม่มีใครพูดถึงมาตรา 7 กันแล้ว ฝ่ายที่จะพยายามตั้งรัฐบาล ทั้ง กปปส. และพรรคพวก และการดำเนินงานของประธานวุฒิสภาเถื่อน (เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้า ทำเกินอำนาจหน้าที่) ในขณะนี้ ไม่ได้สนใจข้อกฎหมายมาตราใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาเพียงพยายามหาเสียงสนับสนุนจากสังคมโดยไม่ใยดีกับเสียงคัดค้าน ไม่ใยดีกับข้อกฎหมาย เพื่อที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของเขาเท่านั้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (8 พค. 57) ผมข้องเกี่ยวอยู่กับภาพยนตร์ในหลายๆ ลักษณะ ตอนเช้า สัมภาษณ์นักศึกษาสอบเข้าปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ น่าแปลกใจที่ผู้เข้าสอบหลายต่อหลายคนสนใจภาพยนตร์ ตกบ่าย ไปชมภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"ตามคำเชิญของ "คุณสืบ" และ "คุณเปีย" ผู้กำกับและตากล้องภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 12 เพิ่งจบสิ้นลงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (22-24 เมษายน ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย) ผมไปประชุมครั้งนี้อย่างเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องเตรียมตัวเสนอบทความตนเองหนึ่งชิ้น และร่วมในห้องเสวนาโต๊ะกลมอีกสองห้อง ทุกรายการอยู่คนละวัน ผมก็เลยต้องพูดทุกวันทั้งสามวัน