Skip to main content

ข่าวครม.ผ่านร่างพรบ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ชวนให้ผู้เขียนเศร้าใจจนกลายเป็นโกรธและสมเพชรัฐบาลอย่างเกินเวทนา ผู้บริหารประเทศนี้ชักจะบ้าจี้กันไปใหญ่แล้ว ความจริงไม่ใช่นักการเมืองบ้าอำนาจหรอก แต่นักการเมืองประเทศนี้เกรงกลัวสถาบันหลักต่างๆ อย่างไร้สติกันเกินไปแล้ว จนกระทั่งออกกฎหมายป้อยอ ปกป้องกันจนจะบิดเบือนธรรมชาติของสังคมกันไปใหญ่แล้ว

คำถามข้อแรกเลยคือ ทุกวันนี้สถาบันกษัตริย์ ศาสนา และความมั่นคงของประเทศ ยังได้รับการคุ้มครองไม่เพียงพออีกหรืออย่างไร จึงต้องเอาการคุ้มครองวัฒนธรรมเข้าไปผูกพ่วงด้วย

กล่าวเฉพาะสถาบันกษัตริย์ นี่ถ้าใครหมิ่นกษัตริย์ด้วยภาษาถิ่นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ นอกจากคดี ม. 112 แล้ว ยังจะต้องถูกดำเนินคดีพ่วงเข้าไปอีกคดีหรืออย่างไร ถ้าไม่นับว่าศาลจะมารู้อะไรเกี่ยวกับวัฒนธรรม ก็สงสัยว่าศาลจะลงโทษอย่างไร ใช้คำหนึ่งคือผิดหนึ่งกระทง ใช้ 5 คำผิด 5 กระทง แบบเดียวกับตัดสินจำนวนครั้งที่ส่ง SMS อีกหรือเปล่า 

คำถามต่อมาคือ แล้วใครจะเป็นคนแจ้งความดำเนินคดี เช่น หากมีใครได้กำลังดูการแสดงหนังตะลุงอยู่ แล้วถ่ายคลิปที่แสดงในลักษณะ "หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ กระทบกระเทือนศาสนาและความมั่นคงของประเทศ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี" ไว้ ก็สามารถนำไปแจ้งความจับได้อย่างนั้นหรือ

นี่จะไม่ทำให้สังคมไทยโกลาหลกันไปใหญ่หรือ สังคมนี้จะกลายเป็นสังคมที่ทุกคนจ้องจับผิดกันเองตลอดเวลาหรือ สังคมนี้มิทำให้ทุกคนกลายเป็นเด็กขี้ฟ้องหรอกหรือ ลำพังคดี ม. 112 ที่พี่น้องแจ้งความดำเนินคดีกัน หรือนักจัดรายการอะไรที่ไหนก็ไม่รู้เดินขึ้นโรงพักไปแจ้งความดำเนินคดี ม. 112 กับนักศึกษาที่ออกมารณรงค์เรื่องชุดนักศึกษา ฯลฯ ยังโกลาหลคลุ้มคลั่งกันไม่พออีกหรืออย่างไร 

คำถามสุดท้าย วัฒนธรรมกลายเป็นสิ่งของที่คนบางกลุ่มเท่านั้นที่จะสามารถปกป้องดูแลได้หรือ เราจะไว้ใจ "คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม" ที่มีอำนาจในการเรียกคนนั้นคนนี้ที่เข้าข่ายกระทำผิดมาสอบสวนได้อย่างไร คนเหล่านั้นเป็นใคร มาจากไหน รู้จักวัฒนธรรมดีหรือ คณะกรรมการเหล่านี้เป็นใครกันจึงจะรู้ดีกว่าผู้ผลิตวัฒนธรรม 

หากใครที่ใช้วัฒนธรรมเหล่านั้นไปกระทำผิด คนเหล่านั้นก็น่าจะต้องเป็นเจ้าของวัฒนธรรมนั้นเองไม่ใช่หรือ เช่น คนร้องเพลงแหล่ ก็จะต้องร้องเพลงเป็น ก็แสดงว่าเขาเป็นผู้ใช้และสืบทอดเพลงนั้นมาเอง ก็แปลว่าเขาเป็นเจ้าของวัฒนธรรมนั้นไม่ใช่หรือ แต่เจ้าของวัฒนธรรมเหล่านี้กลับจะต้องถูกตัดสินจากใครก็ไม่รู้ว่ากระทำผิดทางวัฒนธรรมของตนเองอย่างนั้นหรือ

ต่อให้มีการเชิญเจ้าของวัฒนธรรมมาร่วมตัดสินคดี รัฐกำลังจะให้อำนาจคนบางคนมาตัดสินคุณค่าทางวัฒนธรรมเท่านั้นหรือ เช่น จะมีเพียงเจ้าของภาษาถิ่นบางคนเท่านั้นหรือที่จะรู้ดีว่า อะไรถูกอะไรผิดในการใช้ภาษานั้น

วัฒนธรรมเป็นของทั้งชุมชนผู้สร้างและปัจเจกชนผู้ใช้ แสดงออก และร่วมสร้าง ทั้งชุมชนและปัจเจกชนมีสิทธิครอบครอง ใช้ และดัดแปลงวัฒนธรรมของตนเอง ไม่ใช่เรื่องอะไรที่รัฐจะต้องยื่นอำนาจเข้ามาก้าวก่าย รัฐอาจช่วยส่งเสริม ช่วยสนับสนุนให้พัฒนาได้ และนั่นเป็นบทบาทที่ถูกต้องของรัฐ การประกาศกฎหมายแบบนี้ออกมาเขาไม่ได้เรียกการส่งเสริมวัฒนธรรมหรอก เขาเรียกเผด็จการทางวัฒนธรรมต่างหาก 

แล้วคิดว่ากฎหมายแบบนี้จะช่วยปกป้องคุ้มครองสถาบันหลักๆ เหล่านั้นได้จริงหรือ กฎหมายที่มีอยู่แล้วยังช่วยคุ้มครองสถาบันเหล่านั้นไม่เพียงพอหรือ และเท่าที่มีกฎหมายต่างๆ อยู่แล้วน่ะ สามารถปกป้องไม่ให้สถาบันเหล่านั้นเสื่อมลงได้หรือ อะไรจะดีจะงามย่อมอยู่ที่คุณค่าในตัวมันเองและความนิยมชมชอบ ความเคารพศรัทธาของสังคมไม่ใช่หรือ กฎหมายจะทำให้สถาบันเหล่านั้นดีงามขึ้นมาได้อย่างไรถ้าสถาบันเหล่านั้นเสื่อมลงไปเอง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง