Skip to main content

"พี่จะไปเวียดนามครั้งแรก มีอะไรแนะนำมั่ง" เพื่อนคนหนึ่งเขียนมาถามอย่างนั้นพร้อมส่งโปรแกรมการเดินทางที่กลุ่มเขาจะเดินทางด้วยมาให้ดู ผมเลยตอบไปคร่าวๆ ข้างล่างนี้ เพื่อนยุให้นำมาเผยแพร่ต่อที่นี่ ยุมาก็จัดไปครับ เผื่อเป็นไอเดียสำหรับใครที่จะไปเวียดนามเหนือช่วงนี้

"ที่พี่ส่งมาก็เป็นโปรแกรมมาตรฐานสำหรับการไปเวียดนามครั้งแรกน่ะพี่ ไปแล้วกลับมาคนถามว่าไปที่เหล่านี้หรือเปล่า แล้วพอตอบ "ไม่ได้ไปอ่ะ เพราะ 'จารย์... แนะนำให้ไป... ... ..." คนไทยทั่วไปเขาก็จะว่า "ยี้ ไปทั้งทีทำไมไม่ไป ... ... ... (ตามโปรแกรมเค้าน่ะ)"...

"แต่เท่าที่ดูนี่ นอกจากแถวสุสานลุงโฮแล้ว ก็ไม่มีไปพิพิธภัณฑ์อื่นเลยนะ คือพิพิธภัณฑ์เวียดนามนี่ ฝรั่งมากนะพี่ เขาทำไว้เพื่อการศึกษาจริงๆ ไม่ใช่แบบบ้านเรา ผมว่าอันนี้น่าเสียดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธ์ุวิทยานี่ ควรไป แต่หากเวลาน้อย ก็เลือกเอาเถอะ...

"ที่จริงตรงกันข้ามกับสุสานลุงโฮเป๊ะเลย คือวังเก่าสมัยค.ศ. 15 และก่อนหน้านั้น เพิ่งขุดพบเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง อันนี้ก็เดินเข้าได้นะ แทนที่จะไปรอต่อคิวเป็นชั่วโมงเพื่อเข้าไปโฉบดูศพลุงแกนอนขาวซีดตัวบวมอย่างน่าเวทนาอยู่ในห้องเย็นภายในสิบห้าวินาที...

"เดือนนี้เป็นเดือนที่ผมอิจฉาคนได้ไปฮานอยมาก มันเจ๋งมากสำหรับการนั่งจิบเบียร์เหงาๆ เบียร์เวียดนามมีไม่กี่ยี่ห้อหรอก มันจืดสนิท ฮานอยมีเบียร์ฮานอย หาซื้อเบียร์ไซ่ง่อนกินก็พอมี รสก็ไม่ต่างกันนัก มีเบียร์ฮาลิดาของเช็คหรือยังไงเนี่ย กับเบียร์ 333 ภาษาเวียดเรียก "บาบาบา" แปลว่า สามๆๆ นั่นแหละ...

"แต่โลกของเบียร์ในฮานอยจริงๆ ที่มีเฉพาะฮานอยน่ะ คือ bia hơi อ่านว่าเบียเฮย ดูเหมือนเบียเอยดีเน๊าะ มันคือเบียร์สด เฉพาะที่ฮานอยเท่านั้นที่มีโรงเบียร์แบบนี้ มีอยู่สัก 2-3 ยี่ห้อ แต่ที่ดังคือเบียเฮยฮานอย หากินยากเหมือนกัน เมื่อก่อนในเขตเมือง ในเขตถนน 36 สายน่ะเยอะมาก แต่ตอนนี้ลดน้อยลง ต้องเดินๆ หาหน่อย เจอยี่ห้ออะไรก็กินเถอะ สังเกตได้จากถังเบียร์สดน่ะ ถ้าร้านเล็กๆ จะตั้งไว้เลย ถ้าร้านใหญ่จะมีผู้ชายนั่งเยอะๆ เก้าอี้เตี้ยๆ...

"ผมน่ะมีร้านประจำอยู่ร้านนึง เพื่อนพาไปกินประจำ อยู่ริมทะเลสาบ Hồ Tây โห่เต็ย ชื่อร้าน Bia Hơi Cường Hói เบียเฮยเกื่องหอย แปลว่า เบียร์สดตาเกื่องหัวล้าน เข้าใจว่าตั้งตามหัวเจ้าของร้าน ร้านนี้ไม่ไกลจากถนน 36 สายนัก คนเยอะมาก อาหารอร่อยมาก ปลาหม้อไฟนี่อร่อยมาก มีไก่พอกดินแล้วเผา กุ้งในทะเลสาปตัวจิ๋วๆเผากรอบเกรียม เต้าหู้ทอด หมูหัน ฯลฯ อะไรก็อร่อย กินกับเบียร์อร่อยเฮย อูยยยยย...

"เรื่องอาหารนี่ ที่จริงพี่ควรหาโอกาสชิมอาหารฮานอยอย่างน้อยตอนกลางวัน กินกับทัวร์น่ะ ไม่อยากบอก อาหารฮานอยที่หากินที่ไหนไม่ได้มีเยอะมาก กลางวันๆ จะได้กลิ่นหมูย่างไปทั่วเมือง เรียก bún chả บู๋นจ่า เป็นขนมจีนกินกับหมูย่างที่ลอยมาในซุปเปรี้ยวหวานใสๆ เย็นๆมี bánh cuốn แบ๋ญก๋วน หรือปากหม้อแผ่นใหญ่ๆ โรยหน้าด้วยหอมเจียว แนมกับหมูยอชนิดนึง (หมูยอมีหลายชนิดมาก) กินกับน้ำจิ้มเปรี้ยวหวานใสๆ และ ฯลฯ...

"ซาปานี่ ควรไปเป็นอย่างยิ่ง เรื่องอาหารการกินผมไม่มีอะไรประทับใจ แต่ต้องกินยอดฟักแม้วผัด (ขออภัยที่ใช้คำว่าแม้ว) อากาศแบบนี้ที่นั่นน่าจะหนาวมากแล้ว เตรียมตัวให้ดีล่ะพี่ มันหนาวจริง อาจเลขตัวเดียวได้ หนาวๆแบบนี้น่าจะกินเหล้ากับ lẩu เหลิ่ว คือสุกี้แบบเวียดๆอร่อยนะ เวียดนามชอบใส่ผักกาดดองในน้ำสุกี้ บางทีมีผักอร่อยๆเยอะ...

"แต่ที่เด็ดมากของซาปาคือเหล้าชนิดหนึ่ง ผมจำชื่อไม่ได้สักที (หาเจอแล้ว เรียก rượi Sán Lùng เสี่ยวสานหลุ่ง เหล้าสามมังกร เป็นเหล้าชาวเย้า) มันเป็นเหล้าสีออกเหลืองๆ คือเหล้าเวียดนามทั่วไปมันจะสีใสๆ แต่นี่สีเหลืองๆ ลองดมดูจะมีกลิ่นเปลือกข้าว กลิ่นแกลบนั่นแหละพี่ หอมมาก หาร้านที่ดูไว้ใจได้แต่ไม่ต้องดูหรูอะไรนะ ดื่มนี่ตอนอากาศเย็นๆนะ โหย เดิมทีมีร้านนึงที่ผมรู้จัก เป็นร้านเล็กๆ เจ้าของร้านเป็นคนเวียดอพยพไปอยู่ที่นั่น แกแก่แล้ว ไม่รู้ตายรึยัง ทำเหล้าเยอะมาก แต่ไม่รู้จะบอกทางพี่ยังไง ซาปาไม่ใหญ่ แต่บอกทางยากอยู่...

"ตลาดคนม้งนั่นก็ควรไป ผมยังไม่เคยไปเลย เป็นตลาดนัด เข้าใจว่าเขาคงจัดให้ไปตรงกับวันนัดตลาดพอดี ที่ผมเคยไปเป็นอีกที่นึง ผมเลี่ยงไปอีกที่เพราะไม่อยากเจอนักท่องเที่ยวเยอะ ที่ผมไปชื่อตลาด Mường Khương เหมื่องเคือง เป็นเมืองของคนไตกลุ่มหนึ่ง แต่มีคนหลายกลุ่มมาตลาดนัดนี้ในวันอาทิตย์เยอะมาก แต่ไม่ใหญ่เท่าบั๊คห่า (Bắc Hà) ที่พี่จะไปหรอก...

"กลางเมืองฮานอยมีร้านเบียร์เยอรมันสดอยู่ร้านนึง นั่งสบาย อยู่ริมทะเลสาป Hồ Hoàn Kiếm โห่หว่านเกี๋ยม ด้านทิศเหนือ มีอาคารข้ามถนนไปจากบริเวณริมทะเลสาบ อาคารสูง 3-4 ชั้น ชั้นสองเป็นร้านเบียร์ชื่อ Legend Beer อาหารก็โออยู่ แต่ผมไปกินแต่เบียร์ อากาศดีๆอย่างนี้นะ นั่งจิบเบียร์ได้ไม่เบื่อ เบียร์ไม่แพง อร่อย...

"มีถนนหลายสายที่ควรเดินทอดน่องเรื่อยเปื่อย แต่ถ้าไปกันหลายๆ คนก็ระวังคนล้วงกระเป๋าหน่อยก็แล้วกัน ในถนน 36 สายคนล้วงกระเป๋าเยอะ...

"มีถนนนึง ตั้งชื่อตามกวีในปลายศตวรรษที่ 18 ถึงต้นราชวงศ์เหงวียน กวีชื่อ Nguyễn Du เหงวียนซู ชื่อถนนตั้งตามชื่อแกเลย ผมชอบถนนสายนี้มาก เขาปลูกต้นตีนเป็ด (ภาษาเวียดเรียก Hoa Sữa ดอกน้ำนม) อายุมากแล้ว สูงมาก เดือนนี้กำลังมีดอกเลย เดินบนถนนนี้แล้วคิดถึงผลงานอมตะเหงวียนซูแล้วได้อารมณ์ดีจัง...

"ผมเขียนไปได้เรื่อยๆ แหละพี่ ยังไงพี่ไปเที่ยวนี้ดูแล้วกัน แล้วหากมีโอกาสไปพร้อมกันค่อยว่ากัน."

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ