Skip to main content

จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ

การค้านนิรโทษกรรมอย่างคับแคบของคณาจารย์ธรรมศาสตร์ มุ่งค้านการล้างผิดทักษิณ ชินวัตรโดยไม่ได้คำนึงถึงความจำเป็นของการนิรโทษกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมปี 2553 และความจำเป็นในการรักษาหลักการของการไม่งดเว้นความผิดให้ผู้สั่งการใช้ความรุนแรงแก่ประชาชน เพื่อไม่ให้รัฐก่อการทำร้ายประชาชนโดยไม่ต้องรับผิดได้อีก 

จากรายงานของ ศปช. และจากคำสั่งศาลในการไต่สวนการตายหลายกรณีที่ผ่านมา ให้ข้อสรุปชัดเจนตรงกันหลายกรณีแล้วว่า พลเรือนหลายรายเสียชีวิตจากวิถีกระสุนที่มาจากเจ้าหน้าที่ และผู้ตายเหล่านั้นไม่มีอาวุธ นอกจากนั้น ผู้ตายจำนวนมากยังไม่ได้เป็นผู้ร่วมชุมนุม แต่เป็นอาสาสมัครหรือเป็นประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา นี่ยังไม่นับว่ามีคนเจ็บและผู้ต้องขังจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่กลับต้องมีมลทินและต้องโทษโดยที่ตนเองไม่ได้มีความผิด 

นี่เป็นเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองครั้งใหญ่อย่างน้อยครั้งที่ 4 แล้วที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้กำลังปราบปรามประชาชน การที่ประชาชนส่วนหนึ่งคัดค้านการเหมาเข่งนิรโทษกรรมเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะผู้สั่งการไปด้วยนั้น แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีว่า สังคมได้ก้าวหน้ามาถึงจุดที่ไม่อาจยอมรับการกระทำเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่รัฐได้อีกต่อไปแล้ว 

แต่ที่น่าละอายใจคือ คณาจารย์ธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีคนต่อไปของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ กลับกระตือรือล้นท่ีจะคัดค้าน พรบ.นิรโทษกรรมสุดซอยเหมาเข่งนี้ ด้วยการเน้นสาระสำคัญของการคัดค้านอยู่ที่การคัดค้านการล้างผิดคนโกง โดยไม่ให้ความสำคัญกับการคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ไม่ได้ใส่ใจกับหลักการไม่งดเว้นความผิดให้กับผู้สั่งการสลายการชุมนุม 

หากจะไม่ลำเลิกกันเกินไป ข้าพเจ้าก็ขอตั้งคำถามว่า คณาจารย์ธรรมศาสตร์ที่ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์นี้จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รับการเสนอชื่อเพื่อดำรงตำแหน่งอธิการบดี ซึ่งไม่ได้เคยแยแสกับการสลายการชุมนุมด้วยการใข้กำลังอย่างรุนแรงเกินกว่าเหตุ ไม่ได้เคยเหลียวแลที่จะต่อสู้เพื่อคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมปี 2553 มาก่อนเลยนั้น มาบัดนี้ทำไมจึงลุกขึ้นมาปกป้องหลักนิติธรรม 

หรือหลักนิติธรรมของท่านมีเพียงเพื่อป้องกันการกลับมาสู่อำนาจใครบางคนที่เป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองกับท่านเท่านั้น หลักนิติธรรมของท่านครอบคลุมไปถึงประชาชนที่ได้รับผลการะทบจากการสลายการชุมนุม ที่ท่านเองอาจมีส่วนเผลอไผลยุยงหรือทำเป็นปิดตาข้างเดียวมองไม่เห็นหรือไม่ และนั่นยิ่งทำให้น่าสงสัยว่า เจตนาของแถลงการณ์นี้จะเป็นไปเพื่อเร่งกระแสการต่อต้านรัฐบาลและเป็นตัวกระตุ้นความขัดแย้งในสังคม หรือเพื่อธำรงความยุติธรรมของสังคมนี้กันแน่ 

ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงไม่อาจเห็นด้วยกับจดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์ที่คัดค้านร่างพรบ.ฉบับสุดซอยเหมาเข่งนี้ 

ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเลี่ยงที่จะอ่านข่าวเกี่ยวกับมติครม.งดเหล้าเข้าพรรษาเพราะไม่อยากหงุดหงิดเสียอารมณ์ ไม่อยากมีความเห็น และไม่อยากต้องโดนด่าหลังแสดงความเห็น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปแม่ฮ่องสอนสามวัน ค้างสองคืน เพื่อร่วมงาน "ไทใหญ่ศึกษา" ทั้งๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน ไม่รู้จักวัฒนธรรมไทใหญ่มาก่อน พอจะรู้จากการอ่านงานเรื่อง "ฉาน" เรื่องรัฐไทใหญ่ เรื่องประวัติศาสตร์บ้างนิดหน่อย จึงมิอาจให้ความเห็นใดๆ กับอาหารไทใหญ่ได้ ทำได้แค่เพียงบอกเล่า "ความประทับใจแรกเริ่ม" ในแบบที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ทั่วไปมักทำกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่รู้เป็นอะไรกันนักหนากับเครื่องแต่งกายนักศึกษา จะต้องมีการประจาน จะต้องมีการให้คุณค่าบวก-ลบ จะต้องถือเป็นเรื่องจริงจังกันจนบางคณะถึงกับต้องนำเรื่องนี้เข้ามาเป็นวาระ "เพื่อพิจารณา" ในที่ประชุมคณาจารย์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานนี้ (12 มิถุนายน 2556) อาจารย์ที่คณะท่านหนึ่งเชิญไปบรรยายในวิชา "มนุษย์กับสังคม" หัวข้อ "สังคมศาสตร์กับความเข้าใจผู้คนและสังคม" ให้นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปี 1 ในห้องเรียนมีนักศึกษาราว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้ถูกเผยแพร่ในอีกพื้นที่หนึ่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเห็นว่าเข้ากับโอกาสของการเปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงขอนำมาเสนออีกครั้งในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธ์ุอยู่หลากหลายกลุ่ม พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และร่วมสร้างสังคม สร้างประวัติศาสตร์โบราณและสมัยใหม่อย่างขาดไม่ได้ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยมีนโยบายกลุ่มชาติพันธ์ุมาก่อน (ยาวนะครับ ถ้ายังอยู่ในโลก 8 บรรทัดโปรดอย่าอ่าน)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 มีคนบ่นว่า "ผ่านมาสามปีแล้ว ทำไมคนเสื้อแดงยังไปรวมตัวกันที่ราชประสงค์กันอีก นี่พวกเขาจะต้องระลึกถึงเหตุการณ์นี้กันไปจนถึงเมื่อไหร่" แล้วลงท้ายว่า "รถติดจะตายอยู่แล้ว ห้างต้องปิดกันหมด ขาดรายได้ นักท่องเที่ยวเดือดร้อน" นั่นสิ น่าคิดว่าทำไมการบาดเจ็บและความตายที่ราชประสงค์เมื่อพฤษภาคม 2553 มีความหมายมากกว่าโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรียน ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ"