Skip to main content

ขอตั้งข้อสังเกตต่อสถานการณ์ขณะนี้ 3 ข้อ ว่าด้วย ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ฝ่ายหนุนรัฐบาล และความเสี่ยงของประเทศ

1) "ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล" บอบช้ำจากการแตกกันตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา กระทั่งขณะนี้ก็ยังรวมกันไม่ติดดีนัก กลุ่มที่กุมมวลชนไว้ได้มากที่สุด คือพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่มีแนวร่วมเฉพาะกาลเป็นอธิการบดี 24 สถาบัน นอกจากนั้นเป็นกลุ่มกระเส็นกระสายจากพันธมิตรฯ เดิม ที่ยังรวมไม่ติดกับ ปชป. 

ปัญหาของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลคือ นอกจากเรื่องต้านทักษิณแล้ว ยังมองไม่ออกว่าเรื่องอะไรจะมาฉุดให้มวลชนออกมาได้อีก ขณะนี้ หลังจากกระแสต้านพรบ.เหมาเข่งซาลงแล้ว มวลชนกลุ่มนี้กำลังรอกระแสงมงายเรื่องเสียดินแดนเขาพระวิหารว่าจะดึงให้คนมาร่วมต้านได้เท่ากับกระแสต้านพรบ.ล้างผิดทักษิณหรือเปล่า  

นอกจากนั้น หากมวลชนที่ยืนร่วมกันอยู่ห่างๆ นี้หมดแรงเล่นการเมืองบนท้องถนน กำลังส่วนนี้จะหมดไปอย่างแทบจะกู้กลับมาได้อีกยาก ดังนั้น เป็นไปได้ว่าการเคลื่อนไหวมวลชนของกลุ่มนี้จะต้องจบเกมเร็วๆ จะต้องเร่งปฏิกิริยา ถ้อยคำจะรุนแรงไร้ความรับผิดชอบมากขึ้น และจะกระตุ้นกระแสรัฐประหารมากขึ้นเรื่อยๆ 

2) "ฝ่ายหนุนรัฐบาล" บอบช้ำจากการแตกหักกันเรื่องพรบ.เหมาเข่งสุดซอย มวลชนเสื้อแดงที่พยายามยืนระยะห่างกับนปช.และพรรคเพื่อไทย เช่นกลุ่มบก.ลายจุด พวกปัญญาชน เร่ิมระอากับพท.มากขึ้น ส่วนนปช.จะยังพยายามเชื่อมพรรคกับมวลชนเสื้อแดง แม้จะแสดงออกบ้างว่าพร้อมที่จะทัดทานเชิงหลักการกับพรรค แต่ก็ไม่แน่ชัดว่าจะรักษาระยะห่างหับพรรคแค่ไหน พรรคเพื่อไทยจึงยังย่ามใจว่ามีมวลชนหนุน 

ข้อเสียเปรียบคือ พท.เริ่มเสื่อมความนิยมจากปัญญาชนที่สามารถเป็นปากเป็นเสียงช่วยเถียงให้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ พรรคเริ่มต้องพึ่งพลังมวลชนมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะยังไม่เดินถนน แต่ก็เริ่มระดมพลัง แสดงว่าการเมืองในห้องประชุมรัฐสภาเริ่มเสื่อมความชอบธรรม ขณะนี้จึงถูกดึงลงมาท้องถนนมากขึ้น 

3) "ความเสี่ยงของประเทศ" เนื่องจากมวลชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมีกำลังน้อยกว่า ภาพยังไม่ยิ่งใหญ่ ยังไม่สามารถรวมตัวกันได้ติด จุดร่วมกันมีต่ำ ไม่เข้มแข็ง พลังส่วนนี้จึงต้องเร่งกระแส อาศัยจังหวะที่กำลังดูเข้มแข็ง จบเกมให้เร็ว คาดว่าสัปดาห์นี้กระแสปลุกรัฐประหารจะแรงขึ้น 

หากฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถดึงเกมการเมืองกลับไปสู่ห้องประชุม กลับไปสู่รัฐสภา ให้ออกจากการเมืองท้องถนนไปได้ หรือหากฝ่ายหนุนรัฐบาลลงไปเล่นการเมืองมวลชน การเมืองท้องถนนมากขึ้น จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรง หากเกิดการรัฐประหารขึ้นจริง จะเกิดการปะทะกันของทั้งประชาชนด้วยกันเองและประชาชนกับกองกำลังทหาร รวมทั้งอาจมีกองกำลังทหารที่แตกแถว เกิดภาวะสงครามกลางเมือง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในภาคการศึกษาที่ผ่านมา ผมสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน เนื่องจากเป็นการสอนชั่วคราว จึงรับผิดชอบสอนเพียงวิชาเดียว แต่ผมก็เป็นเจ้าของวิชาอย่างเต็มตัว จึงได้เรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่นี่เต็มที่ตลอดกระบวนการ มีหลายอย่างที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย จึงอยากบันทึกไว้ ณ ที่นี้ ให้ผู้อ่านชาวไทยได้ทราบกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (เวลาในประเทศไทย) เป็นวันเด็กในประเทศไทย ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ผมเดินทางไปดูกิจกรรมต่างๆ ในประเทศซึ่งผมพำนักอยู่ขณะนี้จัดด้วยความมุ่งหวังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ แล้วก็ให้รู้สึกสะท้อนใจแล้วสงสัยว่า เด็กไทยเติบโตมากับอะไร คุณค่าอะไรที่เราสอนกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ปีนี้ไม่ค่อยชวนให้ผมรู้สึกอะไรมากนัก ความหดหู่จากเหตุการณ์เมื่อกลางปีที่แล้วยังคงเกาะกุมจิตใจ ยิ่งมองย้อนกลับไปก็ยิ่งยังความโกรธขึ้งและสิ้นหวังมากขึ้นไปอีก คงมีแต่การพบปะผู้คนนั่นแหละที่ชวนให้รู้สึกพิเศษ วันสิ้นปีก็คงจะดีอย่างนี้นี่เอง ที่จะได้เจอะเจอคนที่ไม่ได้เจอกันนานๆ สักครั้งหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งกลับจากชิคาโก เดินทางไปสำรวจพิพิธภัณฑ์กับแขกผู้ใหญ่จากเมืองไทย ท่านมีหน้าที่จัดการด้านพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ก็เลยพลอยได้เห็นพิพิธภัณฑ์จากมุมมองของคนจัดพิพิธภัณฑ์ คือเกินเลยไปจากการอ่านเอาเรื่อง แต่อ่านเอากระบวนการจัดทำพิพิธภัณฑ์ด้วย แต่ส่วนตัวผมเองก็ไม่ได้อะไรมากนักหรอก แค่ติดตามเขาไปแล้วก็เรียนรู้เท่าที่จะได้มามากบ้างน้อยบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวันส่งท้ายปีเก่าพาแขกชาวไทยคนหนึ่งไปเยี่ยมชมภาควิชามานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ก็เลยทำให้ได้รู้จักอีก 2 ส่วนของภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่ว่ามีความจริงจังลึกซึ้งขนาดไหน ทั้งๆ ที่ก็ได้เคยเรียนที่นี่มา และได้กลับมาสอนหนังสือที่นี่ แต่ก็ไม่เคยรู้จักที่นี่มากเท่าวันนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วาทกรรม "ประชาธิปไตยแบบไทย" ถูกนำกลับมาใช้เสมอๆ เพื่อลดทอนความน่าเชื่อถือของแนวคิดประชาธิปไตยสากล 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นข่าวงาน "นิธิ 20 ปีให้หลัง" ที่ "มติชน" แล้วก็น่ายินดีในหลายสถานด้วยกัน  อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์มีคนรักใคร่นับถือมากมาย จึงมีแขกเหรื่อในวงการนักเขียน นักวิชาการ ไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก เรียกว่ากองทัพปัญญาชนต่างตบเท้าไปร่วมงานนี้กันเลยทีเดียว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (12 ธค. 2557) ปิดภาคการศึกษาแล้ว เหลือรออ่านบทนิพนธ์ทางมานุษยวิทยาภาษาของนักศึกษา ที่ผมให้ทำแทนการสอบปลายภาค เมื่อเหลือเวลาอีก 15 นาทีสุดท้าย ตามธรรมเนียมส่วนตัวของผมแล้ว ในวันปิดสุดท้ายของการเรียน ผมมักถามนักศึกษาว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่ได้เคยเรียนมาก่อนจากวิชานี้บ้าง นักศึกษาทั้ง 10 คนมีคำตอบต่างๆ กันดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์ (ขอเรียกง่ายๆ ว่า "หนัง" ก็แล้วกันครับ) เรื่องที่เป็นประเด็นใหญ่เมื่อ 2-3 วันก่อน ที่จริงก็ถ้าไม่มีเพื่อนๆ ถกเถียงกันมากมายถึงฉากเด็กวาดรูปฮิตเลอร์ ผมก็คงไม่อยากดูหรอก แต่เมื่อดูแล้วก็คิดว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนความล้มเหลวของการรัฐประหารครั้งนี้ได้อย่างดี มากกว่านั้นคือ สะท้อนความลังเล สับสน และสับปลับของสังคมไทยได้เป็นอย่างดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเป็นคนหนึ่งที่ยืนยันแม้จะไม่ถึงกับต่อต้านมาตลอดว่า เราไม่ควรเปิดโครงการนานาชาติในประเทศไทย ด้วยเหตุผลสำคัญ 2-3 ประการ หนึ่ง อยากให้ภาษาไทยพัฒนาไปตามพัฒนาการของความรู้สากล สอง คิดว่านักศึกษาไทยจะเป็นผู้เรียนเสียส่วนใหญ่และจึงจะทำให้ได้นักเรียนที่ภาษาไม่ดีพอ การศึกษาก็จะแย่ตามไปด้วย สาม อาจารย์ผู้สอน (รวมทั้งผมเอง) ก็ไม่ได้ภาษาอังกฤษดีมากนัก การเรียนการสอนก็จะยิ่งตะกุกตะกัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายปีที่ผ่านมา สังคมปรามาสว่านักศึกษาเอาใจใส่แต่ตัวเอง ถ้าไม่สนใจเฉพาะเสื้อผ้าหน้าผม คอสเพล มังหงะ กับกระทู้ 18+ ก็เอาแต่จมดิ่งกับการทำความเข้าใจตนเอง ประเด็นอัตลักษณ์ บริโภคนิยม เพศภาวะ เพศวิถี เกลื่อนกระดานสนทนาที่ซีเรียสจริงจังเต็มไปหมด