Skip to main content

ขอตั้งข้อสังเกตต่อสถานการณ์ขณะนี้ 3 ข้อ ว่าด้วย ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ฝ่ายหนุนรัฐบาล และความเสี่ยงของประเทศ

1) "ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล" บอบช้ำจากการแตกกันตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา กระทั่งขณะนี้ก็ยังรวมกันไม่ติดดีนัก กลุ่มที่กุมมวลชนไว้ได้มากที่สุด คือพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่มีแนวร่วมเฉพาะกาลเป็นอธิการบดี 24 สถาบัน นอกจากนั้นเป็นกลุ่มกระเส็นกระสายจากพันธมิตรฯ เดิม ที่ยังรวมไม่ติดกับ ปชป. 

ปัญหาของกลุ่มต่อต้านรัฐบาลคือ นอกจากเรื่องต้านทักษิณแล้ว ยังมองไม่ออกว่าเรื่องอะไรจะมาฉุดให้มวลชนออกมาได้อีก ขณะนี้ หลังจากกระแสต้านพรบ.เหมาเข่งซาลงแล้ว มวลชนกลุ่มนี้กำลังรอกระแสงมงายเรื่องเสียดินแดนเขาพระวิหารว่าจะดึงให้คนมาร่วมต้านได้เท่ากับกระแสต้านพรบ.ล้างผิดทักษิณหรือเปล่า  

นอกจากนั้น หากมวลชนที่ยืนร่วมกันอยู่ห่างๆ นี้หมดแรงเล่นการเมืองบนท้องถนน กำลังส่วนนี้จะหมดไปอย่างแทบจะกู้กลับมาได้อีกยาก ดังนั้น เป็นไปได้ว่าการเคลื่อนไหวมวลชนของกลุ่มนี้จะต้องจบเกมเร็วๆ จะต้องเร่งปฏิกิริยา ถ้อยคำจะรุนแรงไร้ความรับผิดชอบมากขึ้น และจะกระตุ้นกระแสรัฐประหารมากขึ้นเรื่อยๆ 

2) "ฝ่ายหนุนรัฐบาล" บอบช้ำจากการแตกหักกันเรื่องพรบ.เหมาเข่งสุดซอย มวลชนเสื้อแดงที่พยายามยืนระยะห่างกับนปช.และพรรคเพื่อไทย เช่นกลุ่มบก.ลายจุด พวกปัญญาชน เร่ิมระอากับพท.มากขึ้น ส่วนนปช.จะยังพยายามเชื่อมพรรคกับมวลชนเสื้อแดง แม้จะแสดงออกบ้างว่าพร้อมที่จะทัดทานเชิงหลักการกับพรรค แต่ก็ไม่แน่ชัดว่าจะรักษาระยะห่างหับพรรคแค่ไหน พรรคเพื่อไทยจึงยังย่ามใจว่ามีมวลชนหนุน 

ข้อเสียเปรียบคือ พท.เริ่มเสื่อมความนิยมจากปัญญาชนที่สามารถเป็นปากเป็นเสียงช่วยเถียงให้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ พรรคเริ่มต้องพึ่งพลังมวลชนมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะยังไม่เดินถนน แต่ก็เริ่มระดมพลัง แสดงว่าการเมืองในห้องประชุมรัฐสภาเริ่มเสื่อมความชอบธรรม ขณะนี้จึงถูกดึงลงมาท้องถนนมากขึ้น 

3) "ความเสี่ยงของประเทศ" เนื่องจากมวลชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมีกำลังน้อยกว่า ภาพยังไม่ยิ่งใหญ่ ยังไม่สามารถรวมตัวกันได้ติด จุดร่วมกันมีต่ำ ไม่เข้มแข็ง พลังส่วนนี้จึงต้องเร่งกระแส อาศัยจังหวะที่กำลังดูเข้มแข็ง จบเกมให้เร็ว คาดว่าสัปดาห์นี้กระแสปลุกรัฐประหารจะแรงขึ้น 

หากฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถดึงเกมการเมืองกลับไปสู่ห้องประชุม กลับไปสู่รัฐสภา ให้ออกจากการเมืองท้องถนนไปได้ หรือหากฝ่ายหนุนรัฐบาลลงไปเล่นการเมืองมวลชน การเมืองท้องถนนมากขึ้น จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรง หากเกิดการรัฐประหารขึ้นจริง จะเกิดการปะทะกันของทั้งประชาชนด้วยกันเองและประชาชนกับกองกำลังทหาร รวมทั้งอาจมีกองกำลังทหารที่แตกแถว เกิดภาวะสงครามกลางเมือง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำถามที่ว่า "นายสุเทพ เทือกสุบรรณและพรรคประชาธิปัตย์ได้รับสัญญาณอะไรพิเศษหรือไม่จึงกล้าบ้าบิ่นได้ขนาดนี้?" คำถามที่ว่า "เครือข่ายชนชั้นนำเก่าฉวยโอกาสตีตลบหลังเครือข่ายทักษิณ ผ่านอำนาจตุลาการและองค์กรอิสระต่างๆ ด้วยหรือไม่" นั้น ผมไม่มีปัญญาตอบ ขอติดตามการวิเคราะห์ของผู้อื่นที่เข้าถึงข้อมูลแปลกๆ หรือมีทฤษฎีวิเคราะห์การเมืองไทยจากมุมชนชั้นนำทางการเมืองมาเล่าเองดีกว่า ส่วนตัวผมอยากทำความเข้าใจมวลชน หรืออย่างน้อยอยากเข้าใจเพื่อนๆ มากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอตั้งข้อสังเกตต่อสถานการณ์ขณะนี้ 3 ข้อ ว่าด้วย ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ฝ่ายหนุนรัฐบาล และความเสี่ยงของประเทศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชีวิตคนมีหลายด้าน คนหลายกลุ่มไม่ได้หมกมุ่นวุ่นวายเรื่องใดเรื่องเดียวกับเรา ผมอยากเขียนถึงคนที่แม่สอด ไม่ใช่เพื่อหลีกลี้หนีจากความวุ่นวายในกรุงเทพ แต่เพื่อบันทึกความประทับใจจากการพบปะผู้คนที่เพิ่งได้ไปเจอมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จดหมายเปิดผนึกของคณาจารย์ธรรมศาสตร์เป็นตัวอย่างของการคัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งอย่างคับแคบ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"พี่จะไปเวียดนามครั้งแรก มีอะไรแนะนำมั่ง" เพื่อนคนหนึ่งเขียนมาถามอย่างนั้นพร้อมส่งโปรแกรมการเดินทางที่กลุ่มเขาจะเดินทางด้วยมาให้ดู ผมเลยตอบไปคร่าวๆ ข้างล่างนี้ เพื่อนยุให้นำมาเผยแพร่ต่อที่นี่ ยุมาก็จัดไปครับ เผื่อเป็นไอเดียสำหรับใครที่จะไปเวียดนามเหนือช่วงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คงมีใครเคยอธิบายเรื่องนี้ไปแล้วอย่างเป็นระบบและมีการอ้างอิงอย่างเป็นวิชาการอย่างที่สุด แต่ผมก็ยังอยากเขียนเรื่องนี้อย่างย่นย่อในวันนี้อีกอยู่ดี 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แว่บแรกที่ฟังจบ ผมอุทานในใจว่า "ปาฐกถาเสกสรรค์โคตรเท่!" ผมไม่คาดคิดเลยว่าปาฐกถา อ.เสกสรรค์ ประเสริฐกุลในวาระ 40 ปี 14 ตุลาจะเท่ขนาดนี้ ผมว่ามีประเด็นมากมายที่ไม่ต้องการการสรุปซ้ำ เพราะมันชัดเจนในตัวของมันเอง อย่างน้อยในหูและหัวของผม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวครม.ผ่านร่างพรบ.ว่าด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ชวนให้ผู้เขียนเศร้าใจจนกลายเป็นโกรธและสมเพชรัฐบาลอย่างเกินเวทนา ผู้บริหารประเทศนี้ชักจะบ้าจี้กันไปใหญ่แล้ว ความจริงไม่ใช่นักการเมืองบ้าอำนาจหรอก แต่นักการเมืองประเทศนี้เกรงกลัวสถาบันหลักต่างๆ อย่างไร้สติกันเกินไปแล้ว จนกระทั่งออกกฎหมายป้อยอ ปกป้องกันจนจะบิดเบือนธรรมชาติของสังคมกันไปใหญ่แล้ว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังยุค 14 ตุลา 16, 6 ตุลา 19 คนหนุ่มสาวรุ่นหลังมักถูกตั้งคำถามเสมอว่า "นักศึกษาหายไปไหน" กระทั่งสรุปกันไปเลยว่า "ขบวนการนักศึกษาตายแล้ว" แต่ใครจะถามบ้างไหมว่าที่ผ่านมาร่วม 40 ปีน่ะ สังคมไทยมันไม่เปลี่ยนไปบ้างเลยหรืออย่างไร แล้วจะให้ความคิดนักศึกษาหยุดอยู่นิ่งๆ คอยจ้องหาเผด็จการแบบเมื่อ 40 ปีที่แล้วอยู่ได้อย่างไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"นี่หรือธรรม..ธรรมศาสตร์ นี่แหละคือธรรม..ธรรมศาสตร์" กร๊ากๆๆ ขำจะตายอยู่แล้ว พวกคุณถามว่าทำไมนักศึกษาสมัยนี้สนใจเรื่องจิ๊บจ๊อย ไม่สนใจเรื่องใหญ่โต แล้วนี่พวกคุณทำอะไร เขาเถียงกันอยู่ว่าจะสร้างเขื่อนแม่วงก์ดีไหม องค์กรซ้อนรัฐไหนกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างเขื่อน ใครกันที่สำรวจเรื่องเขื่อนแล้วสรุปให้สร้างซึ่งพอสร้างแล้วเงินก็เข้ากระเป๋าเขาเอง..
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เอ่อ.. คือ.. ผมก็เบื่อเรื่องนี้นะ อยากให้จบสักที แต่มันก็ไม่จบง่ายๆ มีอาจารย์ใส่เครื่องแบบถ่ายภาพตัวเอง มีบทสัมภาษณ์ มีข่าวต่อเนื่อง มีเผจล้อเลียน มีโพลออกมา มีคนโต้เถียง ฯลฯลฯ แต่ที่เขียนนี่ อยากให้นักศึกษาที่อึดอัดกับการต่อต้านการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาอ่านมากที่สุดนะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไมปรากฏการณ์แฟรงค์ เนติวิทย์ และอั้ม เนโกะจึงทำให้สังคมไทยดิ้นพล่าน