Skip to main content

การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งคือการยึดอำนาจของ กปปส. เพื่อจัดตั้งสภาประชาชน ไม่มีทางที่การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งจะเป็นการปฏิรูปที่ปวงชนชาวไทยจะมีส่วนร่วม เนื่องจาก...

1) "กปปส. มองคนไม่เท่ากัน" ทั้งแกนนำและผู้นำความคิดของ กปปส. ดูถูกคนจน ดูถูกคนการศึกษาน้อย ดูถูกคนชนบท

2) "กปปส. จะทำเพียงเพื่อประโยชน์สุขของคนบางกลุ่ม" ในเมื่อเริ่มต้น กปปส. ก็เริ่มคิดจากการเห็นคนไม่เท่ากัน ไม่ยอมรับอำนาจการตัดสินใจของคนเท่ากันแล้ว กปปส. จะสามารถคิดแทนคนที่ตนเองดูถูกหรือ กปปส. จะทำเพื่อประโยชน์สุขของคนทั้งประเทศ หรือเพื่อเอื้อประโยชน์พวกพ้องตนเองเท่านั้นกันแน่

3) "กปปส. ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่" เพียงแค่อ้างการลุกฮือของคนกลุ่มเดียว แต่กลับไม่ยอมรับการตัดสินใจของปวงชนชาวไทยด้วยการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แสดงว่า กปปส. เองก็ไม่มั่นใจว่าการกระทำของตนจะได้รับการยอมรับในวงกว้างแค่ไหน

4) "ประเทศชาติจะไม่สงบสุขหลังการขึ้นสู่อำนาจของ กปปส." เนื่องจากประชาชนไม่ได้ให้ฉันทานุมัติ หากมีการลุกฮือของประชาชนอีกกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับ กปปส. กปปส. จะยอมรับโดยดีหรือไม่ หากมีการปะทะกันรุนแรงจะทำอย่างไร

5) "กปปส. จะไม่มีประสิทธิภาพ จะใช้ความรุนแรงจัดการปัญหา และจะฉ้อฉลโกงกินอย่างขนานใหญ่" ข้อนี้ประเมินได้จากประสบการณ์ของการบริหารประเทศใต้อำนาจของผู้นำ กปปส. ในอดีต

6) "กปปส. ไร้ประสิทธิภาพตั้งแต่ยังไม่เริ่มงาน" จนถึงทุกวันนี้ กปปส. ยังไม่มีแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเป็นรูปเป็นร่าง แม้แต่ที่มาของสภาประชาชนจะเป็นอย่างไรก็ยังไม่ชัดเจน ยังคิดไม่จบ แล้วจะมาทำงานใหญ่ได้อย่างไร ใครจะบริหารประเทศ ใครจะร่างกฎหมาย อย่างไร

7) "ใครจะตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของ กปปส. และสภาประชาชน" ในเมื่อ กปปส. จะมีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว จะมีโครงสร้างอะไรมาตรวจสอบ แล้วการตรวจสอบนั้นยึดโยงกับประชาชนอย่างไร

8) "ไม่มีหลักประกันอะไรว่าข้อเสนอการปฏิรูปของ กปปส. และสภาประชาชนจะแก้ปัญหาประเทศได้" เพราะคณะรัฐประหารที่ผ่านมาซึ่งมีอำนาจมากกว่า กปปส. ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ปัญหาการเมือง ปัญหาการซื้อเสียงได้ แต่การแก้ปัญหาเหล่านี้ต้องช่วยกันคิด ต้องใช้เวลา ต้องอดทน ลำพังอำนาจเบ็ดเสร็จไม่เคยสามารถทำได้

9) "ไม่มีกระบวนการให้ประชาชนยอมรับข้อเสนอของ กปปส. และสภาประชาชน" หากใช้ประชามติ ทำไมไม่ขอประชามติผ่านการเลือกตั้ง เช่น พรรคการเมืองที่สนับสนุน กปปส. อย่างประชาธิปัตย์ควรเสนอนโยบายว่าจะทำตาม กปปส. และจะจัดตั้งสภาประชาชน ให้ปวงชนชาวไทยตัดสินว่าจะเอาด้วยไหม หากผลออกมาแล้วประชาชนไม่ยอมรับ กปปส. จะยอมรับประชาชนหรือไม่

10) "ไม่มีหลักประกันอะไรว่า กปปส. และสภาประชาชน จะอยู่ไปนานแค่ไหน" เมื่อใดกันแน่ที่ กปปส. จะคืนอำนาจให้ประชาชน และเมื่อคืนอำนาจแล้ว หากระบบไม่เป็นไปตามที่ กปปส. คาดหวัง แกนนำ กปปส. จะนำมวลชนลุกฮือก่อความวุนวายหลังการคืนอำนาจอีกหรือไม่ เมื่อไหร่จะเกิดความสงบสุข

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี