Skip to main content

การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งคือการยึดอำนาจของ กปปส. เพื่อจัดตั้งสภาประชาชน ไม่มีทางที่การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งจะเป็นการปฏิรูปที่ปวงชนชาวไทยจะมีส่วนร่วม เนื่องจาก...

1) "กปปส. มองคนไม่เท่ากัน" ทั้งแกนนำและผู้นำความคิดของ กปปส. ดูถูกคนจน ดูถูกคนการศึกษาน้อย ดูถูกคนชนบท

2) "กปปส. จะทำเพียงเพื่อประโยชน์สุขของคนบางกลุ่ม" ในเมื่อเริ่มต้น กปปส. ก็เริ่มคิดจากการเห็นคนไม่เท่ากัน ไม่ยอมรับอำนาจการตัดสินใจของคนเท่ากันแล้ว กปปส. จะสามารถคิดแทนคนที่ตนเองดูถูกหรือ กปปส. จะทำเพื่อประโยชน์สุขของคนทั้งประเทศ หรือเพื่อเอื้อประโยชน์พวกพ้องตนเองเท่านั้นกันแน่

3) "กปปส. ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่" เพียงแค่อ้างการลุกฮือของคนกลุ่มเดียว แต่กลับไม่ยอมรับการตัดสินใจของปวงชนชาวไทยด้วยการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แสดงว่า กปปส. เองก็ไม่มั่นใจว่าการกระทำของตนจะได้รับการยอมรับในวงกว้างแค่ไหน

4) "ประเทศชาติจะไม่สงบสุขหลังการขึ้นสู่อำนาจของ กปปส." เนื่องจากประชาชนไม่ได้ให้ฉันทานุมัติ หากมีการลุกฮือของประชาชนอีกกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับ กปปส. กปปส. จะยอมรับโดยดีหรือไม่ หากมีการปะทะกันรุนแรงจะทำอย่างไร

5) "กปปส. จะไม่มีประสิทธิภาพ จะใช้ความรุนแรงจัดการปัญหา และจะฉ้อฉลโกงกินอย่างขนานใหญ่" ข้อนี้ประเมินได้จากประสบการณ์ของการบริหารประเทศใต้อำนาจของผู้นำ กปปส. ในอดีต

6) "กปปส. ไร้ประสิทธิภาพตั้งแต่ยังไม่เริ่มงาน" จนถึงทุกวันนี้ กปปส. ยังไม่มีแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเป็นรูปเป็นร่าง แม้แต่ที่มาของสภาประชาชนจะเป็นอย่างไรก็ยังไม่ชัดเจน ยังคิดไม่จบ แล้วจะมาทำงานใหญ่ได้อย่างไร ใครจะบริหารประเทศ ใครจะร่างกฎหมาย อย่างไร

7) "ใครจะตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของ กปปส. และสภาประชาชน" ในเมื่อ กปปส. จะมีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว จะมีโครงสร้างอะไรมาตรวจสอบ แล้วการตรวจสอบนั้นยึดโยงกับประชาชนอย่างไร

8) "ไม่มีหลักประกันอะไรว่าข้อเสนอการปฏิรูปของ กปปส. และสภาประชาชนจะแก้ปัญหาประเทศได้" เพราะคณะรัฐประหารที่ผ่านมาซึ่งมีอำนาจมากกว่า กปปส. ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ปัญหาการเมือง ปัญหาการซื้อเสียงได้ แต่การแก้ปัญหาเหล่านี้ต้องช่วยกันคิด ต้องใช้เวลา ต้องอดทน ลำพังอำนาจเบ็ดเสร็จไม่เคยสามารถทำได้

9) "ไม่มีกระบวนการให้ประชาชนยอมรับข้อเสนอของ กปปส. และสภาประชาชน" หากใช้ประชามติ ทำไมไม่ขอประชามติผ่านการเลือกตั้ง เช่น พรรคการเมืองที่สนับสนุน กปปส. อย่างประชาธิปัตย์ควรเสนอนโยบายว่าจะทำตาม กปปส. และจะจัดตั้งสภาประชาชน ให้ปวงชนชาวไทยตัดสินว่าจะเอาด้วยไหม หากผลออกมาแล้วประชาชนไม่ยอมรับ กปปส. จะยอมรับประชาชนหรือไม่

10) "ไม่มีหลักประกันอะไรว่า กปปส. และสภาประชาชน จะอยู่ไปนานแค่ไหน" เมื่อใดกันแน่ที่ กปปส. จะคืนอำนาจให้ประชาชน และเมื่อคืนอำนาจแล้ว หากระบบไม่เป็นไปตามที่ กปปส. คาดหวัง แกนนำ กปปส. จะนำมวลชนลุกฮือก่อความวุนวายหลังการคืนอำนาจอีกหรือไม่ เมื่อไหร่จะเกิดความสงบสุข

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระดับภูมิภาคซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนภูมิภาค สภาองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในแต่ละปี ผมมักไปร่วมสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในคณะในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนประจำอยู่โดยไม่ได้ขาด เสียดายที่ปีนี้มีโอกาสสัมภาษณ์นักเรียนเพียงไม่กี่คน เพราะติดภาระกิจมากมาย แต่ก็ยังดีที่ได้สัมภาษณ์อย่างจริงจังถึง 10 คนด้วยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียชีวิตของเด็กหญิงบนรถไฟทำให้สังคมไทยสะเทือนใจกันไปทั่ว แต่ที่น่าสะเทือนใจไม่น้อยไปกว่าความสูญเสียดังกล่าวคือ การแสดงออกของสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นสังคมอาชญากรรมในหลายๆ ประการ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวัยเยาว์ ผมเริ่มสงสัยง่าย ๆ ว่า ในหัวของแต่ละคนคิดอะไรอยู่ จึงได้ทำให้คนแตกต่างกันหรือเหมือนกัน ผมพยายามค้นหาว่าความรู้ชนิดใดกันที่จะทำให้เข้าใจความคิดในหัวคนได้ แรก ๆ ก็เข้าใจว่าศาสนาจะช่วยให้เข้าใจได้ ต่อมาก็คือจิตวิทยา แต่ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ แล้วมาสนใจประวัติศาสตร์และปรัชญา ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ถูกใจ สุดท้ายผมได้เจอกับวิชาที่น่าสนใจว่าน่าจะช่วยให้เข้าใจทัศนคติได้ดี นั่นก็คือวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมสงสัยว่า บุคคลที่น่านับถือจำนวนมากที่ยินยอมตอบรับหรือเสนอตัวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ในคณะกรรมการต่างๆ มากมายนั้น ทั้งโดยออกนอกหน้าและเสนอตัวว่าขอทำงานอย่างลับๆ พวกเขาเข้าร่วมด้วยหลักการอะไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่า ทำไมคนไทยกลุ่มหนึ่งจึงโกรธนักโกรธหนาที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประณามและต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่พวกเขานั้นเป็นทาสฝรั่งเหล่านี้มากที่สุดในประเทศนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้*ท่านคงไม่ได้ติดตามข่าว ขณะนี้ไม่มีใครพูดถึงมาตรา 7 กันแล้ว ฝ่ายที่จะพยายามตั้งรัฐบาล ทั้ง กปปส. และพรรคพวก และการดำเนินงานของประธานวุฒิสภาเถื่อน (เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้า ทำเกินอำนาจหน้าที่) ในขณะนี้ ไม่ได้สนใจข้อกฎหมายมาตราใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาเพียงพยายามหาเสียงสนับสนุนจากสังคมโดยไม่ใยดีกับเสียงคัดค้าน ไม่ใยดีกับข้อกฎหมาย เพื่อที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของเขาเท่านั้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (8 พค. 57) ผมข้องเกี่ยวอยู่กับภาพยนตร์ในหลายๆ ลักษณะ ตอนเช้า สัมภาษณ์นักศึกษาสอบเข้าปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ น่าแปลกใจที่ผู้เข้าสอบหลายต่อหลายคนสนใจภาพยนตร์ ตกบ่าย ไปชมภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"ตามคำเชิญของ "คุณสืบ" และ "คุณเปีย" ผู้กำกับและตากล้องภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 12 เพิ่งจบสิ้นลงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (22-24 เมษายน ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย) ผมไปประชุมครั้งนี้อย่างเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องเตรียมตัวเสนอบทความตนเองหนึ่งชิ้น และร่วมในห้องเสวนาโต๊ะกลมอีกสองห้อง ทุกรายการอยู่คนละวัน ผมก็เลยต้องพูดทุกวันทั้งสามวัน