Skip to main content

การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งคือการยึดอำนาจของ กปปส. เพื่อจัดตั้งสภาประชาชน ไม่มีทางที่การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งจะเป็นการปฏิรูปที่ปวงชนชาวไทยจะมีส่วนร่วม เนื่องจาก...

1) "กปปส. มองคนไม่เท่ากัน" ทั้งแกนนำและผู้นำความคิดของ กปปส. ดูถูกคนจน ดูถูกคนการศึกษาน้อย ดูถูกคนชนบท

2) "กปปส. จะทำเพียงเพื่อประโยชน์สุขของคนบางกลุ่ม" ในเมื่อเริ่มต้น กปปส. ก็เริ่มคิดจากการเห็นคนไม่เท่ากัน ไม่ยอมรับอำนาจการตัดสินใจของคนเท่ากันแล้ว กปปส. จะสามารถคิดแทนคนที่ตนเองดูถูกหรือ กปปส. จะทำเพื่อประโยชน์สุขของคนทั้งประเทศ หรือเพื่อเอื้อประโยชน์พวกพ้องตนเองเท่านั้นกันแน่

3) "กปปส. ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่" เพียงแค่อ้างการลุกฮือของคนกลุ่มเดียว แต่กลับไม่ยอมรับการตัดสินใจของปวงชนชาวไทยด้วยการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แสดงว่า กปปส. เองก็ไม่มั่นใจว่าการกระทำของตนจะได้รับการยอมรับในวงกว้างแค่ไหน

4) "ประเทศชาติจะไม่สงบสุขหลังการขึ้นสู่อำนาจของ กปปส." เนื่องจากประชาชนไม่ได้ให้ฉันทานุมัติ หากมีการลุกฮือของประชาชนอีกกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับ กปปส. กปปส. จะยอมรับโดยดีหรือไม่ หากมีการปะทะกันรุนแรงจะทำอย่างไร

5) "กปปส. จะไม่มีประสิทธิภาพ จะใช้ความรุนแรงจัดการปัญหา และจะฉ้อฉลโกงกินอย่างขนานใหญ่" ข้อนี้ประเมินได้จากประสบการณ์ของการบริหารประเทศใต้อำนาจของผู้นำ กปปส. ในอดีต

6) "กปปส. ไร้ประสิทธิภาพตั้งแต่ยังไม่เริ่มงาน" จนถึงทุกวันนี้ กปปส. ยังไม่มีแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเป็นรูปเป็นร่าง แม้แต่ที่มาของสภาประชาชนจะเป็นอย่างไรก็ยังไม่ชัดเจน ยังคิดไม่จบ แล้วจะมาทำงานใหญ่ได้อย่างไร ใครจะบริหารประเทศ ใครจะร่างกฎหมาย อย่างไร

7) "ใครจะตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของ กปปส. และสภาประชาชน" ในเมื่อ กปปส. จะมีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว จะมีโครงสร้างอะไรมาตรวจสอบ แล้วการตรวจสอบนั้นยึดโยงกับประชาชนอย่างไร

8) "ไม่มีหลักประกันอะไรว่าข้อเสนอการปฏิรูปของ กปปส. และสภาประชาชนจะแก้ปัญหาประเทศได้" เพราะคณะรัฐประหารที่ผ่านมาซึ่งมีอำนาจมากกว่า กปปส. ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ปัญหาการเมือง ปัญหาการซื้อเสียงได้ แต่การแก้ปัญหาเหล่านี้ต้องช่วยกันคิด ต้องใช้เวลา ต้องอดทน ลำพังอำนาจเบ็ดเสร็จไม่เคยสามารถทำได้

9) "ไม่มีกระบวนการให้ประชาชนยอมรับข้อเสนอของ กปปส. และสภาประชาชน" หากใช้ประชามติ ทำไมไม่ขอประชามติผ่านการเลือกตั้ง เช่น พรรคการเมืองที่สนับสนุน กปปส. อย่างประชาธิปัตย์ควรเสนอนโยบายว่าจะทำตาม กปปส. และจะจัดตั้งสภาประชาชน ให้ปวงชนชาวไทยตัดสินว่าจะเอาด้วยไหม หากผลออกมาแล้วประชาชนไม่ยอมรับ กปปส. จะยอมรับประชาชนหรือไม่

10) "ไม่มีหลักประกันอะไรว่า กปปส. และสภาประชาชน จะอยู่ไปนานแค่ไหน" เมื่อใดกันแน่ที่ กปปส. จะคืนอำนาจให้ประชาชน และเมื่อคืนอำนาจแล้ว หากระบบไม่เป็นไปตามที่ กปปส. คาดหวัง แกนนำ กปปส. จะนำมวลชนลุกฮือก่อความวุนวายหลังการคืนอำนาจอีกหรือไม่ เมื่อไหร่จะเกิดความสงบสุข

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ