Skip to main content

การปฏิรูปก่อนเลือกตั้งคือการยึดอำนาจของ กปปส. เพื่อจัดตั้งสภาประชาชน ไม่มีทางที่การปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งจะเป็นการปฏิรูปที่ปวงชนชาวไทยจะมีส่วนร่วม เนื่องจาก...

1) "กปปส. มองคนไม่เท่ากัน" ทั้งแกนนำและผู้นำความคิดของ กปปส. ดูถูกคนจน ดูถูกคนการศึกษาน้อย ดูถูกคนชนบท

2) "กปปส. จะทำเพียงเพื่อประโยชน์สุขของคนบางกลุ่ม" ในเมื่อเริ่มต้น กปปส. ก็เริ่มคิดจากการเห็นคนไม่เท่ากัน ไม่ยอมรับอำนาจการตัดสินใจของคนเท่ากันแล้ว กปปส. จะสามารถคิดแทนคนที่ตนเองดูถูกหรือ กปปส. จะทำเพื่อประโยชน์สุขของคนทั้งประเทศ หรือเพื่อเอื้อประโยชน์พวกพ้องตนเองเท่านั้นกันแน่

3) "กปปส. ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่" เพียงแค่อ้างการลุกฮือของคนกลุ่มเดียว แต่กลับไม่ยอมรับการตัดสินใจของปวงชนชาวไทยด้วยการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง แสดงว่า กปปส. เองก็ไม่มั่นใจว่าการกระทำของตนจะได้รับการยอมรับในวงกว้างแค่ไหน

4) "ประเทศชาติจะไม่สงบสุขหลังการขึ้นสู่อำนาจของ กปปส." เนื่องจากประชาชนไม่ได้ให้ฉันทานุมัติ หากมีการลุกฮือของประชาชนอีกกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับ กปปส. กปปส. จะยอมรับโดยดีหรือไม่ หากมีการปะทะกันรุนแรงจะทำอย่างไร

5) "กปปส. จะไม่มีประสิทธิภาพ จะใช้ความรุนแรงจัดการปัญหา และจะฉ้อฉลโกงกินอย่างขนานใหญ่" ข้อนี้ประเมินได้จากประสบการณ์ของการบริหารประเทศใต้อำนาจของผู้นำ กปปส. ในอดีต

6) "กปปส. ไร้ประสิทธิภาพตั้งแต่ยังไม่เริ่มงาน" จนถึงทุกวันนี้ กปปส. ยังไม่มีแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนเป็นรูปเป็นร่าง แม้แต่ที่มาของสภาประชาชนจะเป็นอย่างไรก็ยังไม่ชัดเจน ยังคิดไม่จบ แล้วจะมาทำงานใหญ่ได้อย่างไร ใครจะบริหารประเทศ ใครจะร่างกฎหมาย อย่างไร

7) "ใครจะตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของ กปปส. และสภาประชาชน" ในเมื่อ กปปส. จะมีอำนาจสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว จะมีโครงสร้างอะไรมาตรวจสอบ แล้วการตรวจสอบนั้นยึดโยงกับประชาชนอย่างไร

8) "ไม่มีหลักประกันอะไรว่าข้อเสนอการปฏิรูปของ กปปส. และสภาประชาชนจะแก้ปัญหาประเทศได้" เพราะคณะรัฐประหารที่ผ่านมาซึ่งมีอำนาจมากกว่า กปปส. ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ปัญหาการเมือง ปัญหาการซื้อเสียงได้ แต่การแก้ปัญหาเหล่านี้ต้องช่วยกันคิด ต้องใช้เวลา ต้องอดทน ลำพังอำนาจเบ็ดเสร็จไม่เคยสามารถทำได้

9) "ไม่มีกระบวนการให้ประชาชนยอมรับข้อเสนอของ กปปส. และสภาประชาชน" หากใช้ประชามติ ทำไมไม่ขอประชามติผ่านการเลือกตั้ง เช่น พรรคการเมืองที่สนับสนุน กปปส. อย่างประชาธิปัตย์ควรเสนอนโยบายว่าจะทำตาม กปปส. และจะจัดตั้งสภาประชาชน ให้ปวงชนชาวไทยตัดสินว่าจะเอาด้วยไหม หากผลออกมาแล้วประชาชนไม่ยอมรับ กปปส. จะยอมรับประชาชนหรือไม่

10) "ไม่มีหลักประกันอะไรว่า กปปส. และสภาประชาชน จะอยู่ไปนานแค่ไหน" เมื่อใดกันแน่ที่ กปปส. จะคืนอำนาจให้ประชาชน และเมื่อคืนอำนาจแล้ว หากระบบไม่เป็นไปตามที่ กปปส. คาดหวัง แกนนำ กปปส. จะนำมวลชนลุกฮือก่อความวุนวายหลังการคืนอำนาจอีกหรือไม่ เมื่อไหร่จะเกิดความสงบสุข

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเลี่ยงที่จะอ่านข่าวเกี่ยวกับมติครม.งดเหล้าเข้าพรรษาเพราะไม่อยากหงุดหงิดเสียอารมณ์ ไม่อยากมีความเห็น และไม่อยากต้องโดนด่าหลังแสดงความเห็น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปแม่ฮ่องสอนสามวัน ค้างสองคืน เพื่อร่วมงาน "ไทใหญ่ศึกษา" ทั้งๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน ไม่รู้จักวัฒนธรรมไทใหญ่มาก่อน พอจะรู้จากการอ่านงานเรื่อง "ฉาน" เรื่องรัฐไทใหญ่ เรื่องประวัติศาสตร์บ้างนิดหน่อย จึงมิอาจให้ความเห็นใดๆ กับอาหารไทใหญ่ได้ ทำได้แค่เพียงบอกเล่า "ความประทับใจแรกเริ่ม" ในแบบที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ทั่วไปมักทำกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่รู้เป็นอะไรกันนักหนากับเครื่องแต่งกายนักศึกษา จะต้องมีการประจาน จะต้องมีการให้คุณค่าบวก-ลบ จะต้องถือเป็นเรื่องจริงจังกันจนบางคณะถึงกับต้องนำเรื่องนี้เข้ามาเป็นวาระ "เพื่อพิจารณา" ในที่ประชุมคณาจารย์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานนี้ (12 มิถุนายน 2556) อาจารย์ที่คณะท่านหนึ่งเชิญไปบรรยายในวิชา "มนุษย์กับสังคม" หัวข้อ "สังคมศาสตร์กับความเข้าใจผู้คนและสังคม" ให้นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปี 1 ในห้องเรียนมีนักศึกษาราว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้ถูกเผยแพร่ในอีกพื้นที่หนึ่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเห็นว่าเข้ากับโอกาสของการเปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงขอนำมาเสนออีกครั้งในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธ์ุอยู่หลากหลายกลุ่ม พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และร่วมสร้างสังคม สร้างประวัติศาสตร์โบราณและสมัยใหม่อย่างขาดไม่ได้ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยมีนโยบายกลุ่มชาติพันธ์ุมาก่อน (ยาวนะครับ ถ้ายังอยู่ในโลก 8 บรรทัดโปรดอย่าอ่าน)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 มีคนบ่นว่า "ผ่านมาสามปีแล้ว ทำไมคนเสื้อแดงยังไปรวมตัวกันที่ราชประสงค์กันอีก นี่พวกเขาจะต้องระลึกถึงเหตุการณ์นี้กันไปจนถึงเมื่อไหร่" แล้วลงท้ายว่า "รถติดจะตายอยู่แล้ว ห้างต้องปิดกันหมด ขาดรายได้ นักท่องเที่ยวเดือดร้อน" นั่นสิ น่าคิดว่าทำไมการบาดเจ็บและความตายที่ราชประสงค์เมื่อพฤษภาคม 2553 มีความหมายมากกว่าโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรียน ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ"