Skip to main content

 

ผมอยู่ในแวดวงวิชาการ พร้อม ๆ กับทำกิจกรรมบริการทางสังคมด้านสิทธิ-เสรีภาพ การบริการทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานทางวิชาการ นอกเหนือจากการสอน การทำวิจัย และการเขียนงานวิชาการ แต่ในโลกทางวิชาการไทยปัจจุบัน เมื่อคุณก้าวออกมานอกรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว คุณจะกลายเป็น "คนมีสีเสื้อ" ไม่ว่าปกติคุณจะใส่เสื้อสีอะไร จะมีสติ๊กเกอร์ติดเสื้อคุณอยู่เสมอว่า "เสื้อตัวนี้สี..." เพียงแต่เสื้อบางสีเท่านั้นที่ถูกกีดกัน

<--break->เมื่อไม่นานมานี้ มีนักการทูตจากประเทศหนึ่งถามผมว่า "ในภาวะการณ์ทางการเมืองที่มีการแบ่งฝ่ายทางการเมืองอย่างรุนแรงนี้ ส่งผลต่อเสรีภาพในการพูด (freedom of speech) ของนักวิชาการบ้างหรือเปล่า" ผมตอบว่า ที่ผมประสบมาและที่ทราบมามีหลายกรณีด้วยกัน

หนึ่ง เมื่อไม่กี่วันมานี้ ผมถูกปฏิเสธ ไม่ให้เข้ารับตำแหน่งบริหารขององค์กรหนึ่ง เมื่อก่อนองค์กรนี้มีบทบาททางวิชาการอย่างสำคัญ แต่ระยะหลังซบเซาไป มีเพื่อนนักวิชาการไม่กี่คนที่รู้การทาบทามนี้ ทุกคนสงสัยแต่แรกว่าจะเป็นไปได้จริงหรือ ผมเองก็สงสัยแต่แรก แต่อีกใจก็อยากรู้ว่าจะเดาผิดหรือเปล่า ผลก็คือ ผู้ใหญ่ ๆ ในองค์กรนั้นบอกผู้ใหญ่ที่มาทาบทามผมว่า "คนนี้ใส่เสื้อมีสี ให้มาทำงานที่นี่ไม่ได้เด็ดขาด" เล่นเอาผู้ใหญ่ที่มาทาบทามผมงงงวยไปเลย

สอง เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ผมได้รับการทาบทามให้ไปเป็นองค์ปาฐกให้กับการประชุมทางวิชาการใหญ่รายการหนึ่งจากเพื่อนนักวิชาการ แต่แล้วเมื่อรายการจัดออกมา ปรากฏว่าไม่มีรายชื่อผม ผมก็ไม่ได้ติดใจถามไถ่อะไร เนื่องจากคิดว่าตนเองคงยังไม่มีคุณวุฒิเพียงพอ แต่เพิ่งมารู้ภายหลังว่า แหล่งทุนที่ให้เงินสนับสนุนระบุมาว่า "อย่าให้มีพวกใส่เสื้อสี...มากนัก" ชื่อผมก็เลยหลุดไป

สาม ในตำแหน่งบริหารในมหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนี้ผมหมดวาระแล้ว และผมไม่ได้รับตำแหน่งต่อ เพราะอยากทำงานเขียนให้มากขึ้นและเห็นว่าเพื่อนร่วมงานก็น่าจะได้ลองทำงานบริหารกันบ้าง แต่ในระหว่างอยู่ในตำแหน่ง เมื่อใดที่ขอห้องประชุมจัดงาน ฝ่ายบริหารซึ่งดูแลสถานที่จะต้องแขวะกลับมาทุกทีว่า "เป็นงานเสื้อ...อีกแล้วใช่ไหม" หากไม่มีการเมืองสีเสื้อ งานเหล่านี้จะเป็นกิจกรรมบริการวิชาการที่มหาวิทยาลัยสนับสนุนเป็นอย่างดี

สี่ ในการขอทุนทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาคนหนึ่งที่ผมเป็นกรรมการวิทยานิพนธ์ แหล่งทุนปฏิเสธการสนับสนุนวิทยานิพนธ์ที่ศึกษาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ในมิติทางสังคม-วัฒนธรรม หน่วยงานดังกล่าวซึ่งเป็นแหล่งทุนที่สำคัญที่สุดแหล่งหนึ่งของประเทศนี้ ให้เหตุผลว่าแหล่งทุนไม่มีนโยบายสนับสนุนให้ทำวิทยานิพนธ์ประเด็นดังกล่าว ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญในสังคมไทย และเรายังขาดความรู้อีกมาก

ห้า ในการทำงานวิจัยที่ผ่านมา ผมและเพื่อนร่วมวิจัยทุกคนประสบกับอุปสรรคใหญ่ในการเขียนรายงานวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ การวิจัยศึกษาความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยจากมุมมองของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ ส่วนหนึ่งของข้อมูลคือความเห็นของประชาชนต่อบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในปัจจุบัน แหล่งทุนบังคับว่าจะต้องตัดความเห็นเหล่านั้นออกจากงานวิจัย มิฉะนั้นจะไม่ยอมรับผลการวิจัย

หก นี่เป็นเรื่องไกลตัว ผมไม่ได้ประสบเอง แต่รับรู้มาว่า การสลับสับเปลี่ยนคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัย สถาบันวิชาการสำคัญ ๆ หลายสถาบันเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้เขี่ยนักวิชาการที่มีผลงานโดดเด่นและเป็นที่นับถือทั้งในแวดวงวิชาการและแวดวงบริการสังคมออกไปเป็นจำนวนมาก คนเหล่านั้นถูกแทนที่ด้วยนักวิชาการตายซาก ด้วยบรรดาคนเฒ่าคนชราที่เลิกอ่านหนังสือไปหลายสิบปีแล้ว ผมสงสัยว่าจะเกี่ยวอะไรกันกับการติดสติ๊กเกอร์ "เสื้อตัวนี้สี..." อีกหรือเปล่า

นี่คือเหตุผลที่ทำไมนักวิชาการส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะเดินบนเส้นทางที่ค้ำจุนการคงไว้ซึ่งความเหลื่อมล้ำต่ำสูงของสังคมไทย และทำไมนักวิชาการอีกจำนวนมากจึงนิ่งดูดายกับความไม่ยุติธรรมในสังคมนี้ และดังนั้น ในภาพรวมของแวดวงการศึกษา ผมไม่หวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นภายในระยะ 10 ปีนี้เป็นอย่างน้อย

 

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี