Skip to main content

วันที่ 9 มกราคม 2557 เวทีเสวนาประชาธิปไตยภาคใต้ ได้จัดอภิปรายเรื่อง "ปฏิรูปประเทศไทย : ปาตานีในระยะเปลี่ยนผ่าน" ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผมกับอาจารย์เอกชัย ไชยนุวัติ ได้รับเชิญในฐานะตัวแทนจากสมัชชาปกป้องประชาธิปไตยไปร่วมบรรยายกับวิทยากรชาวปัตตานีและชาวสงขลา

ช่วงท้ายของการบรรยาย ประชาชน นักศึกษา นักวิชาการที่เข้าร่วม ได้ส่งเสียงสะท้อนถึงความคิดต่อประชาธิปไตยของประชาชนเองหลายประการ ผมจึงขอใช้พื้นที่นี้บอกเล่าเสียงสะท้อนส่วนหนึ่งจากคนสามจังหวัดภาคใต้ที่ผมบันทึกมา ให้ได้ยินกันทั่วประเทศดังนี้

"ประชาธิปไตยไปด้วยกันได้กับหลักศาสนาอิสลาม พระเจ้าได้สร้างมนุษย์บนต้นทุนเดียวกัน แม้ว่าคุณจะเป็น มรว. หรือใคร ก็ถูกสร้างขึ้นมาจากต้นทุนที่เท่ากัน"

"ในระบบที่เห็นคุณค่าคนเท่าๆ กัน คนมลายูจะไม่แตกต่างกับคนไทย จะเท่าเทียมกับความเป็นคนไทย แต่ในระบบเผด็จการ คนมลายูอาจจะไม่มีตัวตน" 

"ประชาธิปไตยคือกระบวนการของสันติภาพ อย่าเริ่มนับศูนย์ใหม่เลย หากเริ่มใหม่ กระบวนการสันติภาพที่กำลังดำเนินไปจะสะดุดหมด จะทำลายความหวังประชาชนหมด" 

"ฉันเป็นตำรวจชาวพุทธในปัตตานี ถูกชาวพุทธด่าว่าตำรวจชั่ว ไม่รักชาติ อ้าว.. แล้วที่ฉันมาอยู่สามจังหวัดนี่ไม่รักชาติยังไง เสี่ยงตายขนาดนี้" 

"การเลือกตั้งทำให้ประชาชนเลือกผู้ปกครองได้ เลือกนโยบายได้ เลือกว่าชอบหรือไม่ชอบพรรคการเมืองไหนได้ ถ้าไม่มีประชาธิปไตย เราจะสั่งสอนนักการเมืองได้อย่างไร" 

"คนที่นี่มีความรู้มาก พูด อ่าน เขียนได้หลายภาษามากกว่าคนกรุงเทพ" 

"คนเท่ากันเมื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้ง คนอาจมีคุณธรรมไม่เท่ากัน มีความรู้ไม่เท่่ากัน แต่มีสิทธิเท่ากัน" 

"คน 3 จังหวัดมีความเป็นประชาธิปไตยและเข้าใจการเลือกตั้งมากกว่าอีก 7 จังหวัดในภาคใต้ด้วยกัน" 

"วันที่ 2 กุมภาฯ จะตัดสินว่า เราจะปฏิรูปทุกอย่างไหม หรือจะปฏิรูปแค่ไม่ให้ทักษิณกลับบ้าน" 

เสียงเหล่านี้สะท้อนว่า ประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะเป็นหลักประกันวิถีชีวิตชาวปัตตานี ชาวยะลา และชาวนราธิวาส เสียงจากประชาชนเหล่านี้คือเสียงปกป้องประชาธิปไตย คือเสียงเดินหน้าเลือกตั้ง คือเสียงต่อต้านรัฐประหาร 

ประชาธิปไตยจึงไม่ไช่หลักการนามธรรมจากตะวันตก ไม่ว่าชนชั้นนำหรือนักวิชาการเจ้าหลักการที่ไหนก็ไม่สามารถนำประชาธิปไตยมายัดเยียดให้ประชาชนได้ แต่ประชาธิปไตยคืออำนาจทางการเมืองของประชาชน ประชาชนชาว 3 จังหวัดภาคใต้ได้พิสูจน์ด้วยตนเองแล้วว่า ประชาธิปไตยคือวิถีชีวิตของประชาชน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร