Skip to main content

หนังสือ ประวัติศาสตร์ไทดำ : รากเหง้าวัฒนธรรม-สังคมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2557) เล่มนี้เป็นผลจากการวิจัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมทำวิจัยชิ้นนั้นก็เพื่อให้เข้าใจงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของชาวไทในเวียดนามสำหรับทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แต่เนื้อหาของหนังสือนี้แทบไม่ได้ถูกนำเสนอในวิทยานิพนธ์

หนังสือเล่มนี้เป็นผลจากการนั่งอ่านทำความเข้าใจประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธ์ุหนึ่ง จากมุมมองของพวกเขาเอง จากคำบอกเล่า จากบันทึกของพวกเขาเอง ผมได้แปลเอกสาร 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นภาษาไทดำ อีกชิ้นหนึ่งเป็นภาษาเวียดนาม แล้วเขียนบทความอธิบายที่มาที่ไปของเอกสารและเนื้อหาของเอกสาร

ความเข้าใจที่สำคัญส่วนหนึ่งคือ ความเข้าใจถึงวิธีการเล่าประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธ์ุหนึ่ง นิทาน-ตำนานในถิ่นหนึ่งของเวียดนามปัจจุบัน ความเป็นมาอันยาวนานของกลุ่มชาติพันธ์ุหนึ่ง สำนวนภาษาของคนไทในเวียดนามเทียบกับสำนวนภาษาไทยสยาม ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปรากฏตัวของหนังสือเล่มนี้ยังความสุขมาให้กับผมท่ามกลางความสับสนวุ่นวายในบ้านเมืองประเทศไทย หนังสือนี้เป็นผลงานที่รัก ผมรักที่ได้อ่าน ได้เขียน ได้ใช้ภาษาและอักษรหลายๆ ภาษา แม้ว่างานชิ้นนี้จะทำไปโดยไม่ได้ผลตอบแทนใดๆ แต่การได้เห็นหนังสือเป็นรูปเล่มออกมานี้ ก็นับเป็นผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่แล้ว

ผมยังมีงานลักษณะนี้ที่ตั้งใจจะทำก่อนพ้นวัยที่จะสามารถทำได้อีก 2 ชิ้น เป็นการอ่านเอกสารโบราณของชาวไทในเวียดนาม ชิ้นหนึ่งว่าด้วยการทำขวัญ อีกชิ้นหนึ่งเป็นนิทานคำกลอนขนาดยาวที่เล่าเรื่องราวชีวิตพื้นบ้านมากมาย งานทั้งสองชิ้นยังไม่เป็นที่รู้จักนอกประเทศเวียดนามมากนัก จะค่อยๆ ทยอยทำออกมาต่อไป

หนังสือเล่มนี้ไม่มีขาย พิมพ์จำนวนจำกัดเพียง 500 เล่ม เพราะได้ทุนมาเพียงเท่านั้น และก็ไม่คาดคิดว่าจะมีคนสนใจอ่านเกิน 10 คน ไม่แน่ใจว่าใครกันจะสนใจเรื่องเก่าๆ เรื่องไกลตัว เรื่องเฉพาะเจาะจงขนาดนี้ อย่างไรก็ดี ก็ต้องขอบคุณสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ที่ให้ทุนจัดพิมพ์ 

คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้ก่อตั้งวารสารศิลปวัฒนธรรม มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการตีพืมพ์หนังสือเล่มนี้ ทั้งยังได้ให้เกียรติเขียนคำนำเสนอให้อย่างละเอียดพิสดาร

ขอฝากให้นักศึกษา เพื่อนๆ และนักอ่านทั่วไปได้อ่าน ติติง และเผยแพร่หนังสือเล่มนี้กันต่อๆ ไปครับ เชิญผู้สนใจดาวน์โหลดไปอ่านได้ฟรีจากที่นี่

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี