Skip to main content

หนังสือ ประวัติศาสตร์ไทดำ : รากเหง้าวัฒนธรรม-สังคมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2557) เล่มนี้เป็นผลจากการวิจัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมทำวิจัยชิ้นนั้นก็เพื่อให้เข้าใจงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของชาวไทในเวียดนามสำหรับทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แต่เนื้อหาของหนังสือนี้แทบไม่ได้ถูกนำเสนอในวิทยานิพนธ์

หนังสือเล่มนี้เป็นผลจากการนั่งอ่านทำความเข้าใจประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธ์ุหนึ่ง จากมุมมองของพวกเขาเอง จากคำบอกเล่า จากบันทึกของพวกเขาเอง ผมได้แปลเอกสาร 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นภาษาไทดำ อีกชิ้นหนึ่งเป็นภาษาเวียดนาม แล้วเขียนบทความอธิบายที่มาที่ไปของเอกสารและเนื้อหาของเอกสาร

ความเข้าใจที่สำคัญส่วนหนึ่งคือ ความเข้าใจถึงวิธีการเล่าประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธ์ุหนึ่ง นิทาน-ตำนานในถิ่นหนึ่งของเวียดนามปัจจุบัน ความเป็นมาอันยาวนานของกลุ่มชาติพันธ์ุหนึ่ง สำนวนภาษาของคนไทในเวียดนามเทียบกับสำนวนภาษาไทยสยาม ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปรากฏตัวของหนังสือเล่มนี้ยังความสุขมาให้กับผมท่ามกลางความสับสนวุ่นวายในบ้านเมืองประเทศไทย หนังสือนี้เป็นผลงานที่รัก ผมรักที่ได้อ่าน ได้เขียน ได้ใช้ภาษาและอักษรหลายๆ ภาษา แม้ว่างานชิ้นนี้จะทำไปโดยไม่ได้ผลตอบแทนใดๆ แต่การได้เห็นหนังสือเป็นรูปเล่มออกมานี้ ก็นับเป็นผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่แล้ว

ผมยังมีงานลักษณะนี้ที่ตั้งใจจะทำก่อนพ้นวัยที่จะสามารถทำได้อีก 2 ชิ้น เป็นการอ่านเอกสารโบราณของชาวไทในเวียดนาม ชิ้นหนึ่งว่าด้วยการทำขวัญ อีกชิ้นหนึ่งเป็นนิทานคำกลอนขนาดยาวที่เล่าเรื่องราวชีวิตพื้นบ้านมากมาย งานทั้งสองชิ้นยังไม่เป็นที่รู้จักนอกประเทศเวียดนามมากนัก จะค่อยๆ ทยอยทำออกมาต่อไป

หนังสือเล่มนี้ไม่มีขาย พิมพ์จำนวนจำกัดเพียง 500 เล่ม เพราะได้ทุนมาเพียงเท่านั้น และก็ไม่คาดคิดว่าจะมีคนสนใจอ่านเกิน 10 คน ไม่แน่ใจว่าใครกันจะสนใจเรื่องเก่าๆ เรื่องไกลตัว เรื่องเฉพาะเจาะจงขนาดนี้ อย่างไรก็ดี ก็ต้องขอบคุณสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ที่ให้ทุนจัดพิมพ์ 

คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้ก่อตั้งวารสารศิลปวัฒนธรรม มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการตีพืมพ์หนังสือเล่มนี้ ทั้งยังได้ให้เกียรติเขียนคำนำเสนอให้อย่างละเอียดพิสดาร

ขอฝากให้นักศึกษา เพื่อนๆ และนักอ่านทั่วไปได้อ่าน ติติง และเผยแพร่หนังสือเล่มนี้กันต่อๆ ไปครับ เชิญผู้สนใจดาวน์โหลดไปอ่านได้ฟรีจากที่นี่

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเลี่ยงที่จะอ่านข่าวเกี่ยวกับมติครม.งดเหล้าเข้าพรรษาเพราะไม่อยากหงุดหงิดเสียอารมณ์ ไม่อยากมีความเห็น และไม่อยากต้องโดนด่าหลังแสดงความเห็น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปแม่ฮ่องสอนสามวัน ค้างสองคืน เพื่อร่วมงาน "ไทใหญ่ศึกษา" ทั้งๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน ไม่รู้จักวัฒนธรรมไทใหญ่มาก่อน พอจะรู้จากการอ่านงานเรื่อง "ฉาน" เรื่องรัฐไทใหญ่ เรื่องประวัติศาสตร์บ้างนิดหน่อย จึงมิอาจให้ความเห็นใดๆ กับอาหารไทใหญ่ได้ ทำได้แค่เพียงบอกเล่า "ความประทับใจแรกเริ่ม" ในแบบที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ทั่วไปมักทำกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่รู้เป็นอะไรกันนักหนากับเครื่องแต่งกายนักศึกษา จะต้องมีการประจาน จะต้องมีการให้คุณค่าบวก-ลบ จะต้องถือเป็นเรื่องจริงจังกันจนบางคณะถึงกับต้องนำเรื่องนี้เข้ามาเป็นวาระ "เพื่อพิจารณา" ในที่ประชุมคณาจารย์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานนี้ (12 มิถุนายน 2556) อาจารย์ที่คณะท่านหนึ่งเชิญไปบรรยายในวิชา "มนุษย์กับสังคม" หัวข้อ "สังคมศาสตร์กับความเข้าใจผู้คนและสังคม" ให้นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปี 1 ในห้องเรียนมีนักศึกษาราว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้ถูกเผยแพร่ในอีกพื้นที่หนึ่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเห็นว่าเข้ากับโอกาสของการเปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงขอนำมาเสนออีกครั้งในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธ์ุอยู่หลากหลายกลุ่ม พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และร่วมสร้างสังคม สร้างประวัติศาสตร์โบราณและสมัยใหม่อย่างขาดไม่ได้ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยมีนโยบายกลุ่มชาติพันธ์ุมาก่อน (ยาวนะครับ ถ้ายังอยู่ในโลก 8 บรรทัดโปรดอย่าอ่าน)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 มีคนบ่นว่า "ผ่านมาสามปีแล้ว ทำไมคนเสื้อแดงยังไปรวมตัวกันที่ราชประสงค์กันอีก นี่พวกเขาจะต้องระลึกถึงเหตุการณ์นี้กันไปจนถึงเมื่อไหร่" แล้วลงท้ายว่า "รถติดจะตายอยู่แล้ว ห้างต้องปิดกันหมด ขาดรายได้ นักท่องเที่ยวเดือดร้อน" นั่นสิ น่าคิดว่าทำไมการบาดเจ็บและความตายที่ราชประสงค์เมื่อพฤษภาคม 2553 มีความหมายมากกว่าโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรียน ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ"