Skip to main content

หนังสือ ประวัติศาสตร์ไทดำ : รากเหง้าวัฒนธรรม-สังคมไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (2557) เล่มนี้เป็นผลจากการวิจัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผมทำวิจัยชิ้นนั้นก็เพื่อให้เข้าใจงานเขียนทางประวัติศาสตร์ของชาวไทในเวียดนามสำหรับทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก แต่เนื้อหาของหนังสือนี้แทบไม่ได้ถูกนำเสนอในวิทยานิพนธ์

หนังสือเล่มนี้เป็นผลจากการนั่งอ่านทำความเข้าใจประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธ์ุหนึ่ง จากมุมมองของพวกเขาเอง จากคำบอกเล่า จากบันทึกของพวกเขาเอง ผมได้แปลเอกสาร 2 ชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นภาษาไทดำ อีกชิ้นหนึ่งเป็นภาษาเวียดนาม แล้วเขียนบทความอธิบายที่มาที่ไปของเอกสารและเนื้อหาของเอกสาร

ความเข้าใจที่สำคัญส่วนหนึ่งคือ ความเข้าใจถึงวิธีการเล่าประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธ์ุหนึ่ง นิทาน-ตำนานในถิ่นหนึ่งของเวียดนามปัจจุบัน ความเป็นมาอันยาวนานของกลุ่มชาติพันธ์ุหนึ่ง สำนวนภาษาของคนไทในเวียดนามเทียบกับสำนวนภาษาไทยสยาม ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปรากฏตัวของหนังสือเล่มนี้ยังความสุขมาให้กับผมท่ามกลางความสับสนวุ่นวายในบ้านเมืองประเทศไทย หนังสือนี้เป็นผลงานที่รัก ผมรักที่ได้อ่าน ได้เขียน ได้ใช้ภาษาและอักษรหลายๆ ภาษา แม้ว่างานชิ้นนี้จะทำไปโดยไม่ได้ผลตอบแทนใดๆ แต่การได้เห็นหนังสือเป็นรูปเล่มออกมานี้ ก็นับเป็นผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่แล้ว

ผมยังมีงานลักษณะนี้ที่ตั้งใจจะทำก่อนพ้นวัยที่จะสามารถทำได้อีก 2 ชิ้น เป็นการอ่านเอกสารโบราณของชาวไทในเวียดนาม ชิ้นหนึ่งว่าด้วยการทำขวัญ อีกชิ้นหนึ่งเป็นนิทานคำกลอนขนาดยาวที่เล่าเรื่องราวชีวิตพื้นบ้านมากมาย งานทั้งสองชิ้นยังไม่เป็นที่รู้จักนอกประเทศเวียดนามมากนัก จะค่อยๆ ทยอยทำออกมาต่อไป

หนังสือเล่มนี้ไม่มีขาย พิมพ์จำนวนจำกัดเพียง 500 เล่ม เพราะได้ทุนมาเพียงเท่านั้น และก็ไม่คาดคิดว่าจะมีคนสนใจอ่านเกิน 10 คน ไม่แน่ใจว่าใครกันจะสนใจเรื่องเก่าๆ เรื่องไกลตัว เรื่องเฉพาะเจาะจงขนาดนี้ อย่างไรก็ดี ก็ต้องขอบคุณสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ที่ให้ทุนจัดพิมพ์ 

คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้ก่อตั้งวารสารศิลปวัฒนธรรม มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการตีพืมพ์หนังสือเล่มนี้ ทั้งยังได้ให้เกียรติเขียนคำนำเสนอให้อย่างละเอียดพิสดาร

ขอฝากให้นักศึกษา เพื่อนๆ และนักอ่านทั่วไปได้อ่าน ติติง และเผยแพร่หนังสือเล่มนี้กันต่อๆ ไปครับ เชิญผู้สนใจดาวน์โหลดไปอ่านได้ฟรีจากที่นี่

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
มีวันหนึ่ง อาจารย์อคินเดินคุยอยู่กับอาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่ง ผมเดินตามทั้งสองท่านมาข้างหลังอย่างที่ทั้งสองท่านรู้ตัวดี ตอนนั้นผมกำลังเรียนปริญญาเอกที่อเมริกา หรือไม่ก็เรียนจบกลับมาแล้วนี่แหละ อาจารย์อคินไม่รู้จักผม หรือรู้จักแต่ชื่อแต่ไม่เคยเห็นหน้า หรือไม่ก็จำหน้าไม่ได้ ผมแอบได้ยินอาจารย์อคินเปรยกับอาจารย์อีกท่านว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คืนวาน วันฮาโลวีน นักศึกษาชวนผมไปพูดเรื่องผี ปกติผมไม่อยู่รังสิตจนมืดค่ำ แต่ก็มักใจอ่อนหากนักศึกษาชวนให้ร่วมเสวนา พวกเขาจัดงานกึ่งรื่นเริงกึ่งเรียนรู้ (น่าจะเรียกว่าเริงรู้ หรือรื่นเรียนก็คงได้) ในคืนวันผีฝรั่ง ในที่ซึ่งเหมาะแก่การจัดคือพิพิธภัณฑ์มานุษยวิทยา เพราะมีของเก่าเยอะ ก็ต้องมีผีแน่นอน ผมก็เลยคิดว่าน่าสนุกเหมือนกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ถึงกับต่อต้านกิจกรรมเชียร์อย่างรุนแรง เพราะคนสำคัญใกล้ตัวผมก็เป็นอดีตเชียร์ลีดเดอร์งานบอลประเพณีฯ ด้วยคนหนึ่ง และเพราะอย่างนั้น ผมจึงพบด้วยตนเองจากคนใกล้ตัวว่า คนคนหนึ่งกับช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของมหาวิทยาลัยมันเป็นเพียงแค่ส่วนเสี้ยวหนึ่งของพัฒนาการของแต่ละคน แต่ก็ยังอยากบ่นเรื่องการเชียร์อยู่ดี เพราะความเข้มข้นของกิจกรรมในปัจจุบันแตกต่างอย่างยิ่งจากในสมัยของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเพิ่งไปเก็บข้อมูลวิจัยเรื่องการรู้หนังสือแบบดั้งเดิมของ "ลาวโซ่ง" ในไทยที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ได้ราว 2 วัน ได้ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับประเด็นที่สนใจ แต่ก็ได้อย่างอื่นมาด้วยไม่น้อยเช่นกัน เรื่องหนึ่งคือความรู้เกี่ยวกับปลา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันก่อนปฐมนิเทศนักศึกษาปริญญาโท-เอกของคณะ ในฐานะคนดูแลหลักสูตรบัณฑิตศึกษาทางมานุษยวิทยา ผมเตรียมหัวข้อมาพูดให้นักศึกษาฟัง 4 หัวข้อใหญ่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ชื่อโมเฮน-โจ-ดาโรแปลตามภาษาซินธ์ (Sindh) ว่า "เนิน (ดาโร) แห่ง (โจ) ความตาย (โมเฮน)" เหตุใดจึงมีชื่อนี้ ผมก็ยังไม่ได้สอบถามค้นคว้าจริงจัง แต่ชื่อนี้ติดหูผมมาตั้งแต่เรียนปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน และเพราะโมเฮนโจดาโรและเมืองคู่แฝดที่ห่างไกลออกไปถึง 600 กิโลเมตรชื่อ "ฮารัปปา" นี่แหละที่ทำให้ผมชอบวิชาโบราณคดีและทำให้อยากมาปากีสถาน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ก่อนมา รู้อยู่แล้วว่าปากีสถานช่วงเดือนนี้คือเดือนที่ร้อนมาก และก็เพิ่งรู้ว่าเดือนนี้แหละที่ร้อนที่สุด แต่ที่ทำให้ “ใจชื้น” (แปลกนะ เรามีคำนี้ที่แปลว่าสบายใจ โดยเปรียบกับอากาศ แต่ที่ปากีสถาาน เขาคงไม่มีคำแบบนี้) คือ ความร้อนที่นี่เป็นร้อนแห้ง ไม่ชื้น และจึงน่าจะทนได้มากกว่า 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ครึ่งวันที่ผมมีประสบการณ์ตรงในกระบวนการยุติธรรมไทย บอกอะไรเกี่ยวกับสังคมไทยมากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมลองเอากรณีทุบรถกับทุบลิฟมาเปรียบเทียบกัน แล้วก็เห็นความแตกต่างกันมากหลายมุม ได้เห็นความเหลื่อมล้ำของสังคมที่สนใจกรณีทั้งสองอย่างไม่สมดุลกัน แต่สุดท้ายมันบอกอะไรเรื่องเดียวกัน คือความบกพร่องของสถาบันจัดการความขัดแย้งของประเทศไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนรุ่นใหม่ครับ... 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้