Skip to main content

เมื่อเช้า (26 มค.) ผมไปเลือกตั้งล่วงหน้าที่เขตจอมทอง ด้วยเหตุจำเป็นไม่สามารถไปเลือกตั้งวันที่ 2 กพ. ได้ ก่อนไป สังหรณ์ใจอยู่ก่อนแล้วว่าจะเกิดเหตุไม่ดี ผมไปถึงเขตเลือกตั้งเวลาประมาณ 9:00 น. สวนทางกับผู้ชุมนุมนกหวีดที่กำลังออกมาจากสำนักงานเขต นึกได้ทันทีว่ามีการปิดหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้า มวลชนหลักร้อย ดูฮึกเหิม ท่าทางจะไปปิดหน่วยเลือกตั้งอื่นต่อไป ผมถ่ายรูปคนจำนวนหนึ่งไว้

ผมเข้าไปถึงหน่วยเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่บอกว่าให้กลับบ้าน ไม่มีการเลือกตั้งแล้ว ผมโมโหมาก ถามเจ้าหน้าที่ว่าใครสั่ง เจ้าหน้าที่บอกว่า กกต. บอกให้เลื่อนเลือกตั้งแล้ว บางคนบอกผอ.เขตให้ยกเลิก ผมขอหนังสือยกเลิก ก็ไม่มีใครชี้แจงอะไรผมเดินไปถามเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าที่ สน. มีใครรับแจ้งความไหม เขาบอกมี ผมก็วิ่งไปที่สน.บางมด จะไปแจ้งความ

ไปถึงสน. ตำรวจบอกไม่ต้องแจ้งความแล้ว เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งกับเจ้ากกต.กำลังแจ้งความว่ามีผู้ชุมนุมมาปิดหน่วยเลือกตั้ง เจ้าหน้าที่จากสนง.เขตบอกให้กลับไปที่สนง.เขตเพื่อลงทะเบียนแจ้งรักษาสิทธิ์เลือกตั้ง ผมทำตามโดยดี โดยไม่ได้ทันเฉลียวใจว่า ที่จริงผมก็มีสิทธิ์แจ้งความดำเนินคดีกับคนที่มาผิดหน่วยเลือกตั้งและมีสิทธิ์แจ้งความดำเนินคดีกับการไม่พยายามปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง

แต่อีกใจ ผมก็เห็นใจเจ้าหน้าที่ ว่าเขาคงถูกข่มขู่คุกคามอย่างรุนแรง ไม่อยากถือโทษว่าพวกเขาเองก็อาจสมรู้ร่วมคิดกับการปิดหน่วยเลือกตั้งด้วย เมื่อได้เห็นประกาศปิดหน่วยเลือกตั้งด้วยเหตุผลว่า "มีกลุ่มผู้ชุมนุมปิดสำนักงานเขตจอมทอง" ผมก็ลงทะเบียนรักษาสิทธิ์ไว้ทันที

พวกคุณที่เป่านกหวีดร่วมกับ กปปส. น่ะ พวกคุณคิดหรือว่าการทำแบบนี้แล้วจะช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าไปได้ 

แต่ที่เสียใจที่สุดคือ พวกคุณทำไมต้องมาตัดสิทธิของผม ทำไมต้องมาคิดแทนผมว่าคะแนนเสียงผมไม่มีค่า เป็นอันว่าผมไม่สามารถเลือกได้ว่าผมจะให้ใครบริหารประเทศ ผมไม่สามารถกำหนดชะตาชีวิตผมได้ แม้ว่าผมจะเลือกคนที่พวกคุณเห็นว่าชั่วร้ายขนาดไหน แต่ในเมื่อคนเหล่านั้นยังมีสิทธิ์รับเลือกตั้ง ผมก็มีสิทธิ์เลือกคนเหล่านั้นอยู่ดี 

พวกคุณดีกว่าผมอย่างไรจึงมาตัดสินใจแทนผมได้ พวกคุณรู้ดีกว่าผมอย่างไรจึงจะมาตัดสิทธิ์การตัดสินใจของผม พวกคุณคือใคร ก็แค่คนเท่าผม 

พวกคุณไว้ใจคนที่พวกคุณเดินตามเขาอยู่ได้อย่างไร ผมคนหนึ่งที่ไม่ไว้ใจ แต่หากพวกเขาเข้าสู่กระบวนการของการเคารพหนึ่งคนหนึ่งเสียงแล้วได้เป็นผู้บริหารประเทศ ผมก็จะยอมรับอำนาจเขา แต่ก็จะวิจารณ์เขา โต้เถียงกับพวกเขา แต่หากพวกเขาเข้ามาสู่อำนาจ มีอำนาจการบริหารโดยวิธีพิเศษแล้ว พวกคุณคิดหรือว่าพวกเขาจะฟังใคร

ตกเย็น ผมไม่รู้จะทำอย่างไรจึงจะลดความโกรธได้ ก็เลยออกไปจุดเทียน เป็นเทียนเล่มแรกที่จุดในขบวนการจุดเทียนเพื่อรักษาสิทธิ์ เป็นแสงเทียนริบหรี่ที่ไม่ส่งเสียงให้ใครได้ยินได้ เพราะเสียงของผมถูกริบไปแล้วด้วยอำนาจป่าเถื่อนในการเลือกตั้งครั้งนี้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเลี่ยงที่จะอ่านข่าวเกี่ยวกับมติครม.งดเหล้าเข้าพรรษาเพราะไม่อยากหงุดหงิดเสียอารมณ์ ไม่อยากมีความเห็น และไม่อยากต้องโดนด่าหลังแสดงความเห็น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปแม่ฮ่องสอนสามวัน ค้างสองคืน เพื่อร่วมงาน "ไทใหญ่ศึกษา" ทั้งๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน ไม่รู้จักวัฒนธรรมไทใหญ่มาก่อน พอจะรู้จากการอ่านงานเรื่อง "ฉาน" เรื่องรัฐไทใหญ่ เรื่องประวัติศาสตร์บ้างนิดหน่อย จึงมิอาจให้ความเห็นใดๆ กับอาหารไทใหญ่ได้ ทำได้แค่เพียงบอกเล่า "ความประทับใจแรกเริ่ม" ในแบบที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ทั่วไปมักทำกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่รู้เป็นอะไรกันนักหนากับเครื่องแต่งกายนักศึกษา จะต้องมีการประจาน จะต้องมีการให้คุณค่าบวก-ลบ จะต้องถือเป็นเรื่องจริงจังกันจนบางคณะถึงกับต้องนำเรื่องนี้เข้ามาเป็นวาระ "เพื่อพิจารณา" ในที่ประชุมคณาจารย์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานนี้ (12 มิถุนายน 2556) อาจารย์ที่คณะท่านหนึ่งเชิญไปบรรยายในวิชา "มนุษย์กับสังคม" หัวข้อ "สังคมศาสตร์กับความเข้าใจผู้คนและสังคม" ให้นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปี 1 ในห้องเรียนมีนักศึกษาราว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้ถูกเผยแพร่ในอีกพื้นที่หนึ่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเห็นว่าเข้ากับโอกาสของการเปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงขอนำมาเสนออีกครั้งในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธ์ุอยู่หลากหลายกลุ่ม พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และร่วมสร้างสังคม สร้างประวัติศาสตร์โบราณและสมัยใหม่อย่างขาดไม่ได้ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยมีนโยบายกลุ่มชาติพันธ์ุมาก่อน (ยาวนะครับ ถ้ายังอยู่ในโลก 8 บรรทัดโปรดอย่าอ่าน)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 มีคนบ่นว่า "ผ่านมาสามปีแล้ว ทำไมคนเสื้อแดงยังไปรวมตัวกันที่ราชประสงค์กันอีก นี่พวกเขาจะต้องระลึกถึงเหตุการณ์นี้กันไปจนถึงเมื่อไหร่" แล้วลงท้ายว่า "รถติดจะตายอยู่แล้ว ห้างต้องปิดกันหมด ขาดรายได้ นักท่องเที่ยวเดือดร้อน" นั่นสิ น่าคิดว่าทำไมการบาดเจ็บและความตายที่ราชประสงค์เมื่อพฤษภาคม 2553 มีความหมายมากกว่าโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรียน ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ"