Skip to main content

มาเกียวโตเที่ยวนี้หนาวที่สุดเท่าที่เคยมา (สัก 6 ครั้งได้แล้ว) อุณหภูมิอยู่ราวๆ 0-5 องศาเซลเซียสตลอด แต่นี่ยังไม่เท่าเมืองที่เคยอยู่ คือวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้อยู่ราวๆ -20 องศาเซลเซียส และเคยหนาวได้ถึง -40 องศาเซลเซียส หนาวขนาดนั้นมีแต่นกกากับกระรอก ที่อึดพอจะอยู่นอกอาคารได้นานๆ แต่ที่เกียวโต คนยังสามารถเดินไปเดินมา หรือกระทั่งเดินเล่นกันได้เป็นชั่วโมงๆ หากมีเครื่องกันหนาวที่เหมาะสม

ว่าแล้วจะหาว่าคุย ความหนาวแบบเกียวโตขณะนี้น่ะหรือ ที่วิสคอนซินน่ะแค่ฤดูใบไม้ร่วงหรือฤดูใบไม้ผลิเท่านั้นเอง ที่วิสคอนซิน บางปีตอนฤดูหนาว หนาวเหน็บมาก กระทั่งเมื่อเริ่มฤดูใบไม้ผลิ วันไหนอุณหภูมิแตะสัก 40 ฟาเรนไฮต์ คือสัก 1-2 เซลเซียส พวกสาวๆ เธอก็นุ่งสั้น บางคนเว่อร์ขนาดนุ่งบิกินี่มาอาบแดดกันทีเดียว

เครื่องกันหนาวที่วิเศษอย่างหนึ่งของเกียวโตคือเสื้อ heattech เขาคุยว่าเป็น Japan Technology ผมก็ไปซื้อมา ไม่ได้แพงบ้าบออะไร เสื้อตัวละสามร้อยบาท กางเกงตัวละสามร้อยบาท ใส่แบบแนบเนื้อทั้งล่างและบน แล้วใส่เสื้อสเว็ตเตอร์ทับ แล้วเสื้อแจ๊คเก็ตดีๆ (พาเสื้อขนเป็ดที่เขาว่าวิธีเอาขนมานั้นทรมาณเป็ดนักหนานั่นแหละมาหนึ่งตัว ไม่ได้แพงมากมาย ซื้อตอนเขาลดราคา) นุ่งยีนส์ธรรมดา รองเท้าก็แบบใส่ที่เมืองไทย ใส่ถุงมือหน่อย ใส่หมวกหน่อย เอาผ้าพันคอหนาๆ พันคอสักรอบนึง แค่นี้ก็เดินเล่นในเกียวโตขณะนี้ได้อย่างสบายอารมณ์แล้ว

ความรู้เรื่องการแต่งตัวหน้าหนาวส่วนใหญ่ได้มาจากการใช้ชีวิตที่วิสคอนซิน ฝรั่งเขาว่า ต้องใส่ชั้นในแนบเนื้อเพื่อรักษาความร้อนเอาไว้ในตัว การใส่หมวกจะช่วยเก็บความร้อนของร่างกายได้ด้วย เพราะเขาว่าความร้อนจะระบายออกทางหัว ถุงมือต้องมี เพราะอาจโดนฟรอสไบท์ หรือนำ้แข็งกัดเอาได้ คือหมายถึงมือมันจะแข็งน่ะ หากหนาวมากๆ อาจต้องหาอะไรมาปิดหู ไม่งั้นหูจะแข็งได้ บางทีต้องใส่หมวกคลุมหัวที่ปิดหูได้ด้วย แบบที่พวกแร็บเตอร์ใส่น่ะ (เคยเห็นเด็กไทยใส่ที่แบงค์ค่อกแล้วจะบ้าตาย ไม่ร้อนตายรึไงครับขุ่นหนู)

แต่ที่ลำบากสำหรับผมคือ ชาวเกียวโตบ้าแฟชั่น ช่างแต่งตัว พวกเขาแต่งตัวกันสวยงามกันทุกฤดูกาล ส่วนผมน่ะ ประสบการณ์ความหนาวก็มาจากวิสคอนซิน เมืองบ้านนอกที่ผู้คนชอบแต่งตัวราวกับจะไปล่ากวางตลอดเวลา (ที่นั่นมีฤดูล่ากวางกับล่าไก่งวงจริงๆ เพราะมันเยอะ เขาให้นักล่าซื้อใบอนุญาตล่าสัตว์ ล่ากันตอนฤดูใบไม้ร่วง เดือนพฤศจิกายน แล้วเอามาทำอาหารกินกันตอน Thanksgiving) 

ตอนอยู่วิสคอนซิน เงินทองไม่ค่อยมีใช้ ต้องประหยัดขนาดไปหาซื้อเสื้อผ้ามือสองใส่ เจออะไรพอใส่ได้กันหนาวก็ซื้อมา ไม่ได้สนใจแฟชั่นอะไร เรียกว่าแต่งตัวตกยุคพ้นสมัยเสียยิ่งกว่าคนวิสคอซินเสียอีก เคยมีบางทีที่ไปสัมมนาวิชาการที่เมืองใหญ่ๆ อย่างชิคาโก ชาววิสคอนซิน ก็พวกเพื่อนๆ ร่วมชั้นไปกันหลายๆ คนนั่นแหละ เดินในชิคาโกแล้วอายเขาแทบแทรกหิมะหนี สีสันแจ๊คเก็ตชาววิสคอนซินนี่มันบ้านน้อกบ้านนอก

ยังอยู่หนาวอีกหลายวัน เอาไว้หากมีโอกาสฝ่าหนาวไปเยี่ยมชมที่ไหนที่น่าสนใจจะมาทยอยเล่าให้ฟังครับ (วันนี้เพิ่งไปพิพิธภัณฑ์มังกะมา เอาไว้ค่อยเล่า)

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน