Skip to main content

"รู้สึกไหมว่า การศึกษาต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง"

 นั่นเป็นคำถามที่เพื่อนนักมานุษยวิทยาจากสิงค์โปรที่ไปทำงานอยู่ที่ญี่ปุ่นถาม เมื่อสนทนากันในร้านโดนัทที่เกียวโต เรื่องความพยายามทำลายระบอบประชาธิปไตยของชนชั้นกลางระดับบนในกรุงเทพฯ และบรรดาปัญญาชนชั้นนำของไทย

ผมย้อนว่า "ไม่ใช่เฉพาะสังคมไทยนะที่เป็นอย่างนี้ ก็คนที่ได้รับการศึกษาดีๆ ทั่วโลกน่ะ ก็มีจำนวนมากที่ทำแบบนี้ แล้วยิ่งกว่านั้น อย่าว่าแต่ครูบาอาจารย์ตัวเล็กๆ อย่างเราสองคนเลย พวกครูบาอาจารย์ใหญ่ๆ ทั้งนั้น ในไทยน่ะ ที่ส่งเสริมการล้มล้างประชาธิปไตย" 

เพื่อนคนนี้ย้อนกลับมาว่า "ก็ใช่ ประเด็นคือ ระบบการศึกษาน่ะ ช่วยอะไรโลกได้บ้าง ไม่ใช่คนที่จบมหาวิทยาลัยดังๆ ในโลกนี้หรอกหรือ ที่ฆ่าแกงคนอื่นได้ง่ายๆ ไม่ใช่พวกที่ได้รับการศึกษาดีๆ ในประเทศพัฒนาแล้วหรอกหรือ ที่ทำร้ายคนทั่วโลก ระบบการศึกษาทั้งหมดที่เราสองคนมีส่วนร่วมอยู่ด้วยน่ะ ต้องรับผิดชอบด้วย" 

"จะให้รับผิดชอบอย่างไรล่ะ" ผมถามย้อน เพื่อนตอบว่า "ก็ลองนึกดูสิ ว่าบรรดาลูกศิษย์ที่ผ่านชั้นเรียนเราไป พวกนั้นไปทำอะไร เข้าร่วมขบวนการล้มล้างประชาธิปไตยหรือเปล่า มหาวิทยาลัยสอนอะไรเขาบ้าง" ผมไม่รู้จะตอบอย่างไร จำต้องฟังเพื่อนเทศนาต่อ 

"ถึงที่สุด เราต้องลองละทิ้งการพยายามอธิบายสิ่งต่างๆ ละวางการพยายามครอบงำคำบอกเล่าอย่างตรงไปตรงมาของผู้คนเสียบ้าง แล้วเปิดใจ เปิดหู ฟังคำบอกเล่าของผู้คน ฟังเรื่องราวที่กระจัดกระจายของผู้คนทั่วๆ ไป ที่แม้จะไปคนละทิศคนละทาง แต่ก็อาจมีจุดร่วมกันบางอย่างที่ทำให้พวกเขายอมรับกันได้ แม้จะเพียงน้อยนิด บางทีทางออกจากวิกฤตจะอยู่ที่นั่่น" 

ผมเริ่มเห็นด้วย "ใช่แล้ว ส่วนมาก คนที่มีข้อเสนอสุดโต่งน่ะ ไม่ว่าจะฝ่ายไหน ก็เป็นเพียงคนส่วนน้อย แต่มักได้รับความสนใจจากสื่อ แต่คนทั่วไปน่ะ เสียงของเขากระจัดกระจายจนเบาบาง ไม่มีใครได้ยิน"

เพื่อนคนนี้มีความคิดแปลกใหม่เสมอ มีข้อเสนอท้าทายเสมอ อีกคำถามหนึ่งที่เขาถามคือ "ลองถามตัวเองสิ ว่าเมื่อยี่สิบปีก่อน ตอนที่นายยังไม่ได้ทำงานวิชาการน่ะ นายคิดอย่างไรกับประชาธิปไตย คิดกับการเลือกตั้งอย่างไร แล้วขณะนี้ ถ้าปลดการวิเคราะห์คนอื่นออกไป แล้วตอบจากใจตนเองล่ะ จะตอบว่ายังไง" 

ผมมีคำตอบในใจที่สามารถจะตอบดังๆ ได้ในร้านโดนัทในประเทศญี่ปุ่น แต่หากเพียงตอบเงียบๆ ในพื้นที่เสมือนจริงซ้อนเขตอำนาจรัฐไทยอยู่ ก็คงอายุสั้นแน่

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง