Skip to main content

หลายคนถามผมว่า "ไปญี่ปุ่นทำไมบ่อยๆ" นั่นสินะ ไปทีไรกลับมาก็มีของฝากบ้าง เรื่องเล่าบ้าง รูปวาดบ้าง เล่าว่าไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ ไม่เห็นมีบอกตรงไหนว่าไปทำงานมา ก็เลยขอเล่าสักหน่อยแล้วกันว่าไปทำอะไรมาบ้าง

ผมไปเกียวโตครั้งแรกตั้งแต่ปีค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (CSEAS) มหาวิทยาลัยเกียวโตเชิญไปสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (workshop ก็คือ ไปอบรม เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างเข้มข้นนั่นแหละ) เป็นเวลา 5 วัน ตลอด 5 วันนั้นได้ความรู้และได้ใช้สมองมากมาย

ไปครั้งนั้น ผมได้ความรู้มากมาย ได้พบและแลกเปลี่ยนความคิดกับนักวิชาการใหญ่ๆ ของโลกอย่าง Anthony Reid ที่ใครก็ตามที่ศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สักเพียงเล็กน้อยก็ควรหางานเขามาอ่าน (มีแปลเป็นไทย) แต่ที่เหลือ ล้วนเป็นนักวิชาการจาก "ซีกโลกใต้" คือชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และชาวเอเชียตะวันออก รวมทั้งชาวญี่ปุ่นด้วย เพราะแม้ญี่ปุ่นผลิตความรู้มากมาย แต่ไม่ได้เป็นเจ้าโลกด้านสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ นั่นเป็นครั้งแรกที่ทำให้ผมอยากรู้เรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น

หลังจากนั้น เกียวโตเชิญร่วมกิจกรรมอีก 2 โครงการ โครงการหนึ่งเป็นผลจากการแลกเปลี่ยนความคิดกับหนังสือของ James Scott ชื่อ The Art of Not Being Governed: An Anarchist History of Upland Southeast Asia ("ศิลปะของการไม่ถูกปกครอง : ประวัติศาสตร์ชาวอนาธิปัตย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" พิมพ์ปี 2009) หนังสือเล่มนี้ถูกวิจารณ์ในแวดวงของผู้ที่ศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปทั่วโลก 

แต่กิจกรรมที่ CSEAS แห่งเกียวโตจัดคือ ไม่วิจารณ์แบบเสียๆ หายๆ แต่สร้างความรู้ขึ้นมาขยายความเข้าใจจาก Scott พร้อมกันนั้น ให้นักวิชาการจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผู้วิจารณ์ ในส่วนของผมเอง ผมอาศัยข้อมูลจากการศึกษาชาวไทในเวียดนาม มาใช้อ่านงาน Scott เล่มนี้ ซึ่งก็ทั้งได้ประเด็นจาก Scott และได้มีมุมแลกเปลี่ยนกับ Scott มากมาย สุดท้ายได้งานเขียนใหม่มาอีกชิ้นหนึ่ง ได้คิดเกี่ยวกับพื้นที่ศึกษาของตนเอง อย่างเชื่อมโยงกับประเด็นทางทฤษฎีเกี่ยวกับการก่อเกิดรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น

อีกโครงการหนึ่งเป็นการริเริ่มของนักประวัติศาสตร์ นักมานุษยวิทยา และนักวิทยาศาสตร์สิ้งแวดล้อมจากเกียวโต ไต้หวัน และหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (โดย Academia Sinica) ว่าด้วย "connectivity" หรือการเชื่อมต่อกันในหลายๆ ลักษณะของธรรมชาติ ผู้คน สังคม ซึ่งมีทั้งการแลกเปลี่ยนและต่อรองกับอำนาจในลักษณะต่างๆ 

โครงการนี้เป็นการทำงานข้ามสาขาวิชาและข้ามประเทศในซีกโลกใต้ โครงการนี้ไม่มีนักวิชาการจากซีกโลกเหนือร่วมเลยด้วยซ้ำ มีอยู่ 2 ครั้งที่โครงการนี้ไปสัมมนากันที่ Academia Sinica ในไทเป ทำให้ได้เห็นโลกทางวิชาการของไต้หวันพอสมควร โครงการนี้ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2012-2014 เพิ่งสิ้นสุดลงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้เอง

จากการร่วมงานกับ CSEAS แห่งม.เกียวโตมา 6 ปี ผมเขียนบทความใหม่ๆ เกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเวียดนามได้ 6 ชิ้น 

2 ชิ้นครึ่ง เป็นงานว่าด้วยวิธีวิทยาหรือแนวทางและท่าทีทางวิชาการของการศึกษาภูมิภาคนี้โดยชาวภูมิภาคเอง เขียนเป็นไทย 2 (หรือนับว่าชิ้นครึ่ง) และอังกฤษ 1 ผมเรียกมันว่า "เพื่อนบ้านศึกษา" (neighbor studies) ฉบับภาษาพิมพ์ไปชิ้นหนึ่งแล้วและกำลังจะพิมพ์อีก ส่วนฉบับภาษาอังกฤษ ยังไม่ได้พิมพ์

อีก 2 ชิ้นครึ่ง เป็นบทความภาษาอังกฤษชิ้นหนึ่ง กำลังเข้าสู่กระบวนการจัดพิมพ์แล้ว เป็นบทความจากโครงการที่แลกเปลี่ยนความคิดกับ James Scott ส่วนอีกชิ้นมาจากโครงการ connectivity ผมเขียนถึงนักวิชาการในเวียดนาม ในฐานะที่เป็นผู้ต่อรองอัตลักษณ์ระหว่างการเป็นชนกลุ่มน้อยกับการเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเวียดนาม ภาษาอังกฤษกำลังพัฒนาเพื่อตีพิมพ์ ภาษาไทยเผยแพร่แล้ว

อีกชิ้นหนึ่ง เป็นผลมาจากการอ่านงานเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แล้วหันมาทำความเข้าใจพัฒนาการใหม่ในภูมิภาคนี้ คือการพัฒนา ASEAN ข้นมาเป็น "ประชาคมเศรษฐกิจ" ที่ในอนาคตจะพัฒนาต่อไปเป็นประชาคมอาเซียน ผมเขียนบทความตั้งคำถามกับประเด็นต่างๆ ที่อาเซียนให้ความสำคัญและไม่ให้ความสำคัญ งานชิ้นนี้เผยแพร่แล้ว หาได้ทางอินเตอร์เน็ต

ขณะนี้กำลังจะเขียนเพิ่มอีกหนึ่งชิ้น เป็นบททบทวนแนวทฤษฎีสำหรับศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผลมาจากการบรรยายที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เมื่อปลายปีที่ผ่านมา (เมื่อไหร่แน่ ชักจำไม่ได้แล้ว) 

ขอจบรายงานการทำงานกับ CSEAS แห่งมหาวิทยาลัยเกียวโต หากมีโอกาสได้ทำงานกับมหาวิทยาลัยเกียวโตอีก ก็คงได้เล่าเรื่องราวการเดินทาง พร้อมกับกับการแสวงหาทางปัญญาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันอีก

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเลี่ยงที่จะอ่านข่าวเกี่ยวกับมติครม.งดเหล้าเข้าพรรษาเพราะไม่อยากหงุดหงิดเสียอารมณ์ ไม่อยากมีความเห็น และไม่อยากต้องโดนด่าหลังแสดงความเห็น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปแม่ฮ่องสอนสามวัน ค้างสองคืน เพื่อร่วมงาน "ไทใหญ่ศึกษา" ทั้งๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน ไม่รู้จักวัฒนธรรมไทใหญ่มาก่อน พอจะรู้จากการอ่านงานเรื่อง "ฉาน" เรื่องรัฐไทใหญ่ เรื่องประวัติศาสตร์บ้างนิดหน่อย จึงมิอาจให้ความเห็นใดๆ กับอาหารไทใหญ่ได้ ทำได้แค่เพียงบอกเล่า "ความประทับใจแรกเริ่ม" ในแบบที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ทั่วไปมักทำกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่รู้เป็นอะไรกันนักหนากับเครื่องแต่งกายนักศึกษา จะต้องมีการประจาน จะต้องมีการให้คุณค่าบวก-ลบ จะต้องถือเป็นเรื่องจริงจังกันจนบางคณะถึงกับต้องนำเรื่องนี้เข้ามาเป็นวาระ "เพื่อพิจารณา" ในที่ประชุมคณาจารย์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานนี้ (12 มิถุนายน 2556) อาจารย์ที่คณะท่านหนึ่งเชิญไปบรรยายในวิชา "มนุษย์กับสังคม" หัวข้อ "สังคมศาสตร์กับความเข้าใจผู้คนและสังคม" ให้นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปี 1 ในห้องเรียนมีนักศึกษาราว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้ถูกเผยแพร่ในอีกพื้นที่หนึ่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเห็นว่าเข้ากับโอกาสของการเปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงขอนำมาเสนออีกครั้งในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธ์ุอยู่หลากหลายกลุ่ม พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และร่วมสร้างสังคม สร้างประวัติศาสตร์โบราณและสมัยใหม่อย่างขาดไม่ได้ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยมีนโยบายกลุ่มชาติพันธ์ุมาก่อน (ยาวนะครับ ถ้ายังอยู่ในโลก 8 บรรทัดโปรดอย่าอ่าน)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 มีคนบ่นว่า "ผ่านมาสามปีแล้ว ทำไมคนเสื้อแดงยังไปรวมตัวกันที่ราชประสงค์กันอีก นี่พวกเขาจะต้องระลึกถึงเหตุการณ์นี้กันไปจนถึงเมื่อไหร่" แล้วลงท้ายว่า "รถติดจะตายอยู่แล้ว ห้างต้องปิดกันหมด ขาดรายได้ นักท่องเที่ยวเดือดร้อน" นั่นสิ น่าคิดว่าทำไมการบาดเจ็บและความตายที่ราชประสงค์เมื่อพฤษภาคม 2553 มีความหมายมากกว่าโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรียน ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ"