Skip to main content

ปิดท้ายชั้นเรียนวิชา "มานุษยวิทยาอาหาร" กับนักเรียนปริญญาโทและปริญญาเอกเมื่อสองวันก่อนด้วยมื้อการไปกินอาหารไทยพื้นๆ แสนอร่อยราคาประหยัดที่แพร่งภูธร พระนคร ตลอดภาคการศึกษา พวกเราพยายามเข้าใจอาหารผ่านหลายๆ คำถาม

เป็นต้นว่า อาหารมีความหมายอย่างไร (เราอ่านเรื่องสามเหลี่ยมอาหารของเลวี่-สโตรทส์ กับอาหารต้องห้ามของแมร ดักลาส) ความหมายของอาหารแต่ละยุคต่างกันอย่างไร (เราอ่านเรื่องข้าวญี่ปุ่นของโอนูกิ-เทียนี่ย์ความเป็นมาของอาหารสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงในสังคมวัฒนธรรมอย่างไร (เราอ่านเรื่องน้ำตาลของมินทซ์อาหารกับการแบ่งแยกชนชั้น (เราอ่านเรื่องอาหารการกินกับการแยกชนชั้นของบูร์ดิเออ) เรื่องผัสสะกับอาหารและสังคม (เราอ่านเรื่องผัสสะของชาวเกาะโทรเบียนโดยฮาวส์) 

 

สุดท้าย เราอ่านเรื่องเกี่ยวกับอาหารในประเทศไทยสองชิ้น หนึ่งคืองานศึกษาประวัติศาสตร์อาหารจีนในกรุงเทพฯ (ของธเนศ วงศ์ยานนาวา) และสองคือตำรับอาหารชาววังในกรุงเทพฯ (ของสุนทรี อาสะไวย์) น่าสนใจว่า อาหารชาววังเต็มไปด้วยอาหารที่ปัจจุบันนี้ต้องเรียกว่า "ฟิวชั่น" เพราะมีอาหารดัดแปลงมากมาย นัยว่าเป็นการแข่งกันระหว่างวังต่างๆ อีกชิ้นอ่านความเปลี่ยนแปลงของอาหารจีนในไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอร่อยที่เคลื่อนผ่านยุคต่างๆ ผ่านหลักคิดความอร่อยต่างยุค กระทั่งจะหา "อาหารจีนแท้" ที่ไหนในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ที่ไหนๆ ในโลกก็แทบไม่ได้ทั้งสิ้น 

 

คำถามคือ ความเข้าใจอาหารดังกล่าว จะทำให้คนเขียนและคนอ่านบทความประวัติศาสตร์อาหารจีน หรือคนเขียนบทความอาหารชาววัง ปลงต่ออาหารจีน อาหารไทย แล้วกินอะไรก็ได้ เพียงเพราะเขาเองได้ค้นพบว่า อาหารจีน อาหารไทย ที่ไหน เมื่อไหร่ ใครกิน มันก็อร่อยแบบของมันทั้งนั้นแหละ 

หรือเราจะเลือกกินอาหารเพียงเพราะมันเป็นรสนิยมส่วนตัวของเรา เพราะไม่ว่าจะกินหูฉลามร้านไหนในกรุงเทพฯ ก็ "ไม่แท้" จะกินผัดผักโสภนที่ไหน ก็ไม่จริงทั้งนั้น จะกินขนมไทย กินแกงไทยอะไร ก็ไม่แท้ เพราะล้วนถูกตัดแต่งดัดแปลงทั้งสิ้น อย่างนั้นหรือ

แล้วอย่างนี้เราจะเรียกว่าอะไรอร่อยกันได้อย่างไร จะให้ความอร่อยเป็นเรื่องของท้องถิ่น ช่วงเวลาขอประวัติศาสตร์ และความชอบส่วนตนของคนเฉพาะกลุ่ม เท่านั้นหรือ มีความเป็นสถาบันของความอร่อยอยู่หรือไม่ ความอร่อยเชิงสังคมถูกสถาปนาขึ้นมาได้อย่างไร  

ต่อคำถามเหล่านี้ ผมลองนึกย้อนกลับไปยังข้อเสนอ (ของปิแอร์ บูร์ดิเออ) ที่เสนอให้เห็นถึงพลังดึงดันกันระหว่าง autonomous principle หรือพลังที่ก่อให้เกิดการสร้างความเป็นเอกเทศของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม กับ heteronomous principle หรือพลังที่ผลักให้ผลิตภันฑ์ทางวัฒนธรรมหมดความเป็นเอกเทศ ทั้งสองพลังไม่ใช่ขั้วตรงข้ามกันอย่างที่ต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างเดียว ทั้งสองพลังเกี่ยวพันกับอำนาจทางการเมืองและชนชั้น 

คำถามต่อมาจากข้อเสนอนั้นคือ อาหารอร่อยคืออาหารที่มีค่าทางวัฒนธรรมค่อนไปทางความเป็นเอกเทศ หรือค่อนไปทางการทำลายความเป็นเอกเทศ อาหารอร่อย อร่อยสำหรับใครคนเดียว หรือสำหรับคนเฉพาะกลุ่ม กลุ่มน้อยหรือหรือหลายๆ คน อาหาร mass food อย่าง "ฟาสต์ฟู้ด" กับอาหารเฉพาะถิ่นอย่าง "ลูทะฟิช" อร่อยหรือไม่อร่อยอย่างไร เพราะอะไร

สำหรับมื้อเมื่อวันก่อน เสียดายอย่างเดียวที่อาหารจานเด็ดของร้านคือปลาตะเพียนทอดหมดเสียก่อน แต่ก็ยังดีที่เราไม่ได้คุยกันเรื่องอาหาร มีแต่กินอาหารแล้วคุยกันเรื่องอื่นๆ ไม่อย่างนั้นอาหารคงหมดอร่อยลงไปมากทีเดียว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลังจากพินิจพิเคราะห์แล้วว่า ท่านผู้นำกำลังจะหมดเรื่องพล่ามในไม่ช้า เพราะเริ่มวนเวียนและเล่าเรื่องตัวเองมากขึ้น ท่านจึงควรหาความรู้รอบตัวมากขึ้น ก็เลยขอตามกระแส แนะนำหนังสือให้ท่านอ่าน ก็ไม่รู้จะ tag ท่านยังไง แต่คิดว่า เขียนใส่ขวดลอยไปก็อาจจะลอยไปถึงตีนบันไดบ้านท่านบ้างสักวัน ก็ขออนุญาตแนะนำดังนี้ครับท่าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นท่านผู้นำไม่นิยมผู้หญิง เพราะในคณะรัฐบาลท่านมีผู้หญิงเพียง 2 คน ผมก็เลยขอแนะนำท่านว่า ผู้หญิงทำงานความคิดเก่งๆ มีมากมาย ไม่ใช่ให้ลูกน้องเอาผู้หญิงมาเต้นโป๊เปลือยดูกันในค่ายทหารเท่านั้น แต่ก็เอาล่ะ ขอแนะนำนักมานุษยวิทยาสตรีที่ผมชื่นชอบสัก 10 คนก็แล้วกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรามีปาก เขามีปืน เราขัดขืน เขาข่มเหงเรานักเขียน เขานักเลง เรายำเกรง เขาลำพอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ใครที่รู้จักอาคารดังๆ ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ (Frak Lloyd Wright) อย่าง Guggenhiem Museum ที่นิวยอร์ค บ้านน้ำตกที่เพลซิลวาเนีย Imperial Hotel ที่โตเกียว อาจจะนึกไม่ถึงว่า บ้านที่ไรท์เรียกว่าเป็นบ้านของเขานั้นอยู่ในชนบทที่ Spring Green มลรัฐวิสคอนซิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บทสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน กับนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2557 ที่โรงแรมมณเฑียร มีสาระที่น่าสนใจหลายประการต่อการเข้าใจการเมืองไทย 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
  เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนคนหนึ่งถามเรื่อง "การเขียน" และการวางแผน "อนาคต" ของเขา ผมเขียนตอบไปอย่างยาว เห็นว่าอาจเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ บ้าง ก็เลยขอนำมาเผยแพร่ที่นี่ครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมไม่อาจยินดีกับการที่ผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จาก คสช. 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำสวยหรูนี้ประดิษฐ์ขึ้นมาในภาษาไทยโดยใครนั้น ผู้ที่ติดตามแวดวงวิชาการในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาย่อมทราบดี ไม่ว่าจิตวิญญาณของผู้ที่กล่าวคำนี้จะยังอยู่กับแนวคิดนี้ที่เขาอาจพลั้งปากออกมาหรือไม่ คนที่สนิทชิดเชื้อกับผู้ประดิษฐ์คำท่านนี้ก็คงจะทราบดี