Skip to main content

หากอำมาตย์ชนะ...โลกวิชาการไทยจะเป็นอย่างไร 

ผมไม่ค่อยชอบการอธิบายความขัดแย้งในประเทศไทยขณะนี้ด้วยคำอธิบายแบบ "อำมาตย์-ไพร่" เท่าไรนัก เพราะมันห้วนและสรุปในเชิงชนชั้นสูง-ชนชั้นต่ำมากเกินไป แต่ก็เอาล่ะ หลายคนคงทราบว่าอุปลักษณ์นี้มันถูกอุปโลกน์กันขึ้นมาเพื่อให้เห็นความเหลื่อมล้ำทางอำนาจมากกว่าความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และถูกใช้อธิบายความเชื่อมโยงกันของเครือข่ายทางการเมืองมากกว่าจะอธิบายเชิงชนชั้น ส่วนหนึ่งมันก็จึงใช้ได้เข้าใจอะไร ใช้บอกเล่าอะไรเร็วๆ ได้อยู่ ก็จึงจะลองใช้คำว่า "เครือข่ายอำมาตย์" มาอธิบายอะไรในแวดวงวิชาการบ้าง

ผมอยากให้ลองนึกดูบนฐานของความเคลื่อนไหวในแวดวงวิชาการขณะนี้ว่า หาก "เครือข่ายอำมาตย์" ชนะในเวทีการเมือง แวดวงวิชาการจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

ผลกระทบสำคัญประการแรกคือ การเข้ามายึดกุมอำนาจในการบริหารงานวิชาการ คณะผู้บริหารจะอยู่ในมือของกลุ่มบุคคลที่อยู่ในเครือข่ายอำมาตย์แทบทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารในตำแหน่งสำคัญๆ เช่น คณบดี อธิการบดี คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยต่างๆ ตลอดจนคณะกรรมการบริหารสถาบันเหล่านี้ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในมหาวิทยาลัย แต่ยังมีในกระทรวง ในสำนักงานที่ตั้งขึ้นมาพิเศษเพื่อดำเนินการวิจัย และในองค์การมหาชนต่างๆ ที่มีงบประมาณและอำนาจการบริหารงานมากมายและเป็นอิสระกว่ามหาวิทยาลัย

คนเหล่านี้ควบคุมตั้งแต่หลักสูตรการศึกษา เนื้อหาของรายวิชาการที่จัดการเรียนการสอน การรับบุคคลากร ไปจนกระทั่งการไหลเวียนของเงินทุนวิจัย ประเด็นของการศึกษาวิจัย หรือแม้กระทั่งหัวข้อวิทยานิพนธ์ บางคนอาจไม่เข้าใจว่า ทำไมใครจะมาควบคุมหัวข้อวิทยานิพนธ์เราได้ ก็แน่ล่ะหากคุณไม่ต้องการเงินทุนของพวกเขา คุณก็ไม่ต้องพึ่งอำนาจเขา ไม่ต้องอยู่ใต้การกำกับของเขา แต่ชีวิตคุณก็จะต้องลำบากมากกว่าคนที่ทำยอมทำตามหัวข้อครึๆ แต่ตอบโจทย์ชาวอำมาตย์ได้ดี

อันที่จริงความเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นแล้วในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยต่างๆ หากแต่เชื่อได้ว่า สถาณการณ์จะยิ่งเลวร้ายลงเมื่อฝ่ายอำมาตย์ประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจครั้งนี้

ยกตัวอย่างเช่น ขณะนี้เป็นที่ทราบกันดีว่ามหาวิทยาลัยบางแห่งนั้น คณะผู้บริหารได้สร้างเครือข่ายให้คณบดีและผู้อำนวยการสถาบันจำนวนหนึ่ง เป็นคนในเครือข่ายเดียวกับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย พวกเขาย่อมสนองตอบหรือดำเนินนโยบายไปในทำนองเดียวกันกับคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ดี ในมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทย ผมยังไม่ได้ยินว่ามีใครสามารถสั่งให้อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงทำตามโดยไม่มีการโต้แย้งได้ง่ายๆ แต่ในอนาคตก็ไม่แน่นัก

ข้อนี้ต่างกับในสถาบันทางวิชาการอีกแห่งหนึ่ง ที่ผมทราบมาว่ามีการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ เพื่อจะให้องค์กรเดินไปในทางที่ "อนุรักษ์นิยม" ปรับตัวให้รับใช้เครือข่ายอำมาตย์มากยิ่งขึ้น ความจริงหากใครติดตามการดำเนินงานของสถาบันวิชาการบางแห่งก็คงจะพอเดาได้ว่า กำลังเกิดอะไรขึ้นที่นั่น

อันที่จริงมีความพยายามจากรัฐบาลไทยสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการผลักดันให้วงการ "ไทยศึกษา" ที่เรียกได้ว่าก้าวหน้าที่สุดในแวดวงสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ข้อนี้เกิดขึ้นด้วยเหตุหลายประการ เอาไว้มีเวลาจะมาเขียนเรื่องนี้ใหม่ว่าทำไมแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ไทยจึงต่างกับที่อื่นในภูมิภาคทางก้าวหน้ากว่า แต่เชื่อว่าหลายคนก็คงทราบดีกันอยู่แล้ว) ให้กลายเป็นสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์เพื่อการประชาสัมพันธ์สิ่งดีๆ ในประเทศไทย

ความพยายามที่ว่านี้นำมาซึ่งการเดินทางของคณะบุคคลกลุ่มหนึ่งใน "เครือข่ายอำมาตย์" เพื่อออกไปหว่านล้อมให้มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับ Ivy League ในสหรัฐอเมริกา (ที่จริงรวมทั้งในออสเตรเลียด้วย) ทำโครงการไทยศึกษาที่ลดการวิจารณ์สถาบันประเพณีของไทย รวมทั้งตัดทุนสนุบสนุนมหาวิทยาลัยที่มีบุคคลากรที่ช่างวิพากษ์สังคมไทย แล้วผันเงินนั้นไปให้สถาบันที่โด่งดังมีชื่อเสียงแต่อนุรักษ์นิยม ในการเดินทางครั้งนั้น น่าสมเพชที่บางมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาไม่เล่นด้วย ก็เลียเสียหน้ากลับกันมาเล็กน้อย แต่ก็ไม่น่าประหลาดใจนักที่บางมหาวิทยาลัยงับเงินอันน้อยนิดแต่มีเส้นสายแน่นหนานั้นไป

สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในสถาบันที่ให้ทุนการวิจัยและทุนในการจัดสัมมนาทางวิชาการก็คือการจัดให้ "บรรดาผู้ชรา" กลับเข้าไปเป็นคณะกรรมการบริหารสถาบันวิชาการสำคัญๆ ในประเทศไทย การนี้ทำให้บรรดาศาสตราจารย์ที่เขียนหนังสือปีละไม่ต่ำกว่าหนึ่งเล่ม ต้องกระเด็นออกจากตำแหน่งในคณะกรรมการบริหาร แล้วรับเอากลุ่มคนที่ แม้แต่นักวิชาอาวุโสในปัจจุบันยังเรียกคนเหล่านั้นว่า "คนแก่ๆ" กลับเข้ามาบริหาร ผลที่เกิดขึ้นแล้วคือประเด็นวิจัย เงินทุนวิจัย รวมทั้งเงินสนับสนุนการจัดงานประชุมทางวิชาการ ถูกใช้ไปในทิศทางที่ประเทศไทยไม่ได้เป็นแบบนี้มาร่วม 20 ปีแล้ว ลองคิดดูเอาแล้วกันว่ามันจะถดถอยกันไปได้อีกถึงเพียงไหน

เขียนไปเขียนมาชักจะเป็น Hi S หรือ "ซ้อเจ็ด" ในวงวิชาการเข้าไปทุกที เอาเป็นว่า ดูๆ กันไปแล้วกันว่า แวดวงวิชาการในประเทศนี้จะเป็นอย่างไรหากฝ่ายอำมาตย์กลับมาครองอำนาจอีกครั้ง แต่เชื่อแน่ว่า หากเครือข่ายอำมาตย์ชนะ เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในแวดวงสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์ไทย ไปในทิศทางที่สวนกับพัฒนาการของโลกวิชาการสากลอย่างแน่นอน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์