Skip to main content

การเสียชีวิตของเด็กหญิงบนรถไฟทำให้สังคมไทยสะเทือนใจกันไปทั่ว แต่ที่น่าสะเทือนใจไม่น้อยไปกว่าความสูญเสียดังกล่าวคือ การแสดงออกของสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นสังคมอาชญากรรมในหลายๆ ประการ

ประการแรก สังคมนี้มีระบบศีลธรรมแบบเลือกปฏิบัติ การให้ความสนใจกว้างขวางต่อกรณีนี้แสดงความเป็นศีลธรรมสองมาตรฐาน หรือที่จริงคือเป็นศีลธรรมไร้มาตรฐานของคนไทยจำนวนมาก เพราะคนไทยส่วนมากไม่ได้ฟูมฟายกับการข่มขืนไปทุกกรณี อย่างการรุมข่มขืนผู้หญิงที่เกิดขึ้นในอินเดียเมื่อหลายเดือนก่อนแล้วเป็นข่าวไปทั่วโลก ก็ไม่เห็นเป็นกระแสสังคมมากเท่ากรณีนี้ที่เกิดขึ้นในไทยเอง นี่ไม่ใช่เพราะเป็นเรื่องไกลตัว แต่เพราะสังคมไทยเปราะบางกับอาชญากรรมบางลักษณะ แต่กลับเฉยชากับอาชญากรรมหลายๆ ลักษณะ 

อาการศีลธรรมเลือกปฏิบัติไม่ได้เกิดกับเรื่องนี้เรื่องเดียวเท่านั้น แต่ยังเกิดกับเรื่องอื่นๆ ด้วย เช่น ผู้บริหารประเทศบางคนจะถูกตรวจสอบเข้มงวดมากกว่าผู้บริหารประเทศอีกบางคน การคอร์รัปชั่นโดยคนบางกลุ่มจะกลายเป็น "ทำผิดโดยบริสุทธิ์ใจ" ได้ เพราะความดีงามของสังคมนี้ไม่ได้วางอยู่บนมาตรฐานสากลเดียวกัน 

ประการที่สอง สังคมนี้เหยียดเพศหญิง ที่อันตรายไม่น้อยไปกว่ากันคือ พร้อมๆ กับการรุมโทรมฆาตกร หลายคนยังหันลับมารุมโทรมผู้เคราะห์ร้ายเข้าไปอีก บางคนว่าทำไมเด็กหญิงไม่ร้อง บางคนว่าเด็กหญิงแต่งตัวล่อแหลมไปหรือเปล่า บางคนว่าทำไมพ่อแม่ไม่ดูแล แทนที่จะหาสาเหตุของการทำร้ายหรือว่ากล่าวประณามคนร้าย คนเหล่านี้กลับค่อนขอดผู้ถูกทำร้าย กลายเป็นว่า ผู้หญิงที่ไม่ระวังตัวคือตัวปัญหาของสังคม  

ไม่ว่าใครจะแต่งตัวอย่างไร คนอื่นก็ไม่มีสิทธิที่จะไปละเมิดร่างกายเขา ถ้าใครเดินมาชกหน้าคุณแล้วบอกว่า เพราะหน้าคุณยั่วโมโหเขา คุณจะยอมรับแล้วไปศัลยกรรมหน้าตาใหม่ เพื่อไม่ให้หน้าตาคุณตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงอย่างนั้นหรือ 

ประการที่สาม สังคมไทยนิยมความรุนแรง การก่ออาชญากรรมรุนแรงจึงเป็นความผิดขั้นเลวร้ายเฉพาะของคนบางกลุ่มเท่านั้น การกระทำแบบเดียวกันอาจได้รับการยอมรับส่งเสริมได้หากกระทำต่อเหยื่อที่สังคมตัดสินเอาเองแล้วว่าสมควรแก่การรับเคราะห์กรรม เช่น บางคนที่ประณามการข่มขืนครั้งนี้ ก็ยังกลับทำภาพล้อเลียนอดีตนายกฯ พร้อมคำบรรยายว่า อดีตนายยกฯ สมควรถูกข่มขืนมากกว่าเด็กหญิงคนนี้ หรือกรณีข่าวล้อเลียนเหยียดเพศและให้จับผู้มีทัศนะทางการเมืองต่างขั้วกับตนบางคนไปให้นักโทษข่มขืน  

สังคมนี้ข่มขืนกระทำชำเรากันทั้งทางกาย วาจา และใจมาตลอด สังคมนี้ก่ออาชญากรรมต่อกันมาตลอด แต่สังคมนี้เลือกที่จะลงโทษการข่มขืนกระทำชำเราใครบางคนเท่านั้น 

ประการที่สี่ สังคมนี้แก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรง ที่คิดกันว่าการเพิ่มโทษจะทำให้ผู้ที่จะกระทำผิดยับยั้งชั่งใจมากขึ้น ก็เพราะสังคมนี้เป็นสังคมที่ยกย่องการใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา จึงเป็นสังคมมือถือสากปากถือสันติวิธี และดังนั้น สังคมนี้จึงยินดีกับการที่เจ้าหน้าที่รัฐสังหารคนกลางถนนด้วยเพราะตัดสินไปแล้วว่าเขาคือคนเลว เป็นพวกคนเลว 

สังคมที่นิยมความรุนแรงจึงยอมรับพร้อมส่งเสริมให้ใช้ความรุนแรงแบบเดียวกับที่ตนเลือกประณาม กับคนที่ตนรังเกียจ กับคนที่อยู่คนละข้างกับตน กับคนที่ต่ำต้อยกว่าตน ไม่ใช่เพื่อลดความรุนแรง แต่เพื่อยกตนเองและเพื่อกำจัดฝ่ายตรงข้ามตนเองเท่านั้น 

ประการสุดท้าย สังคมนี้ไม่ค่อยเห็นเหตุเชิงโครงสร้าง คนในสังคมนี้จำนวนมากเห็นปัญหาเฉพาะระดับบุคคล อาชญากรรมเกิดจากบุคคลกระทำก็จริง แต่เงื่อนไขเชิงระบบ เงื่อนไขโครงสร้างต่างๆ ก็มีส่วนให้เกิดอาชญากรรมได้ คนจำนวนมากรวมทั้งผู้รับผิดชอบโดยตรงจึงกลับปัดความผิด มุ่งประณาม ให้ร้ายกับปัจเจกคนร้ายเพียงด้านเดียว ไม่มองว่าการกระทำวิปริตใด ๆ นั้นเกิดขึ้นได้ก็เพราะอยู่ในเงื่อนไขของความวิปริตของสังคมและระบบที่บกพร่อง 

ระบบความปลอดภัยของการเดินทางสาธารณะ ระบบการควบคุมพนักงาน ระบบการออกแบบห้องโดยสาร ตลอดจนระบบการใช้ความเร็ว ความล้าหลังของการรถไฟ และการบริหารงานของหย่วยงาน เหล่านี้มีส่วนรับผิดชอบต่ออาชญากรรมครั้งนี้ด้วย 

เมื่อมองปัญหาเฉพาะในระดับบุคคล ก็จึงคิดว่าจะต้องจัดการควบคุมบุคคลที่ชั่วร้าย ต้องกำจัดบุคคลที่ชั่วร้าย แต่ไม่คิดรื้อระบบเพื่อสร้างโครงสร้างใหม่ที่ดีกว่าสำหรับทุกคนขึ้นมา 

สังคมไทยไม่ได้ดีขึ้นมาได้ด้วยการเพิ่มโทษประหารชีวิตหรอก การร่วมกันวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องหากันถ้วนหน้าอย่างทุกวันนี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไรขึ้นมา หากจะแก้ปัญหาจริงก็ต้องสร้างระบบการเดินทางที่ดีและปลอดภัย พร้อมทั้งสร้างมาตรฐานศีลธรรมสากล เลิกคิดเหยียดผู้หญิง และเลิกนิยมความรุนแรง แต่สังคมไทยแบบนั้นน่ะ แม้ในนิยายยังไม่มีเลย

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์