Skip to main content
ในแต่ละปี ผมมักไปร่วมสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในคณะในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนประจำอยู่โดยไม่ได้ขาด เสียดายที่ปีนี้มีโอกาสสัมภาษณ์นักเรียนเพียงไม่กี่คน เพราะติดภาระกิจมากมาย แต่ก็ยังดีที่ได้สัมภาษณ์อย่างจริงจังถึง 10 คนด้วยกัน

 
การได้พูดคุยกับนักเรียนที่เพิ่งจบชั้นมัธยมทำให้ได้รู้จักโลกของคนอีกยุคหนึ่ง  และทำให้เห็นข้อจำกัดของการศึกษาในทัศนะของพวกเขาเอง นอกจากนั้น เวลาเพียง 15 นาทีก็สามารถช่วยให้เห็นศักยภาพพิเศษของแต่ละคนได้ หากเอาใจใส่กับคำตอบของพวกเขาให้ดี
 
ผมมักไม่ถามนักเรียนทุกคนด้วยคำถามเดียวกัน เพราะแต่ละคนมีความสนใจแตกต่างกัน บางคนอาจถนัดที่จะตอบเรื่องบางเรื่องได้ดีกว่าบางเรื่อง บางคนอาจไม่เคยคิดไม่เคยสนใจบางเรื่องมาก่อน ก็จึงไม่สามารถแสดงตัวตน แสดงความคิดเห็นออกมาได้อย่างเต็มที่
 
ใน 10 คนที่ผมสัมภาษณ์ มีที่น่าสนใจอยากเล่าบางคน เช่นว่า มีคนหนึ่งผมถามว่า นอกจากหนังสือเรียนแล้วคุณอ่านหนังสืออะไรบ้าง นักเรียนตอบว่า อ่านนิยายแฟนตาซีและหนังสือประวัติศาสตร์ ผมถามว่าชอบประวัติศาสตร์อะไร ยุคไหน นักเรียนคนนี้ตอบว่า ชอบประวัติศาสตร์พระมหากษัตริย์ไทย ผมถามต่อว่าชอบประวัติของพระองค์ไหน นักเรียนคนนี้ตอบว่า ชอบประวัติพระนเรศวร 
 
เมื่อถามต่อว่าในประวัติพระนเรศวรที่อ่าน มีเรื่องจริงกี่% มีแฟนตาซีกี่% นักเรียนตอบว่า มีเรื่องจริง 50% แต่เมื่อถามต่อว่า ใน 50% ที่คุณคิดว่าเป็นเรื่องจริง แน่ใจได้อย่างไรว่าเป็นเรื่องจริงจริงๆ นักเรียนเริ่มงง ตอบไม่ได้ว่าแน่ใจได้อย่างไร นี่แสดงว่า หากนักเรียนคนนี้ไม่ใช่คนที่ไม่ตั้งใจเรียน ก็เพราะโรงเรียนไม่ได้สอน “ประวัติศาสตร์” แต่สอน “นิยายอิงประวัติศาสตร์” มากกว่า
 
นักเรียนหลายคนประสบปัญหาไม่สามารถแยกแยะความจริงออกจากนิทานได้ นักเรียนหลายๆ รุ่นที่ผมสัมภาษณ์รวมแล้วนับร้อยคน มักแสดงความรักต่อพระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยาในฐานะเป็นบรรพบุรุษของพวกเขา แต่เมื่อถามว่า เทือกเถาเหล่ากอพวกเขาเป็นคนที่ไหน ร้อยทั้งร้อยก็ไม่มีเกี่ยวข้องอะไรกับแผ่นดินสยามในสมัยอยุธยา หรือเชื่อมโยงอะไรไม่ได้กับแผ่นดินสมัยอยุธยา ไม่ได้มีบรรพบุรุษเป็นชาวอยุธยา
 
น่าสนใจว่านักเรียนจำนวนหนึ่งไม่ได้ศึกษาร่ำเรียนจากตำราเรียนเท่านั้น เมื่อถามว่าอ่านหนังสืออะไรบ้าง นักเรียนคนหนึ่งตอบว่าชอบอ่านนิยายและประวัติชีวิตคน เมื่อถามว่าเรื่องราวนอกตำราเรียนช่วยอะไรกับการเรียนไหม นักเรียนคนนี้ตอบว่า ช่วยให้ได้เรียนรู้อะไรนอกเหนือจากหน้ากระดาษของหนังสือได้ 
 
ผมจึงลองถามนักเรียนคนนี้ยากขึ้นอีกนิดว่า ที่ว่านอกหน้ากระดาษหนังสือนั้น คุณหมายถึงอะไร ระหว่างการอ่านนิยายแล้วได้อะไรมากกว่าหน้ากระดาษในตำราเรียน กับการอ่านนิยายแล้วได้อะไรมากกว่าหน้ากระดาษหนังสือนิยาย นักเรียนตอบอย่างแรก ว่าอ่านนิยายแล้วได้เห็นโลกนอกตำราเรียน
 
ปีนี้ก็เหมือนหลายๆ ปีที่ผมจะได้สัมภาษณ์นักเรียนที่มีพื้นฐานภาษาต่างประเทศดี จึงได้รู้ว่านักเรียนไทยเดี๋ยวนี้ไปอาศัยในต่างประเทศกันมาบ้างเหมือนกัน ปีนี้มีคนหนึ่งบอกว่าชอบภาษาอังกฤษ คะแนนภาษาอังกฤษเขาก็ดีจริงๆ ผมจึงลองสัมภาษณ์ด้วยภาษาอังกฤษดู ภาษาอังกฤษเขาดีกว่าผมในวัยเดียวกับเขามากนัก เขาบอกว่าส่วนหนึ่งก็เพราะเคยไปเรียนในโรงเรียนมัธยมต้นที่แคนาดา 
 
ผมถามนักเรียนคนนี้ว่า ให้บอกมา 3 อย่างว่าการศึกษาที่นั่นมีอะไรดีๆ ที่แตกต่างจากเมืองไทย เขาตอบทันทีว่า 1. เวลาเรียนน้อยกว่าไทย 2. ไม่ต้องสวมชุดนักเรียน 3. นักเรียนได้แสดงออกมากกว่าในโรงเรียนไทย ผมถามว่า เป็นเพราะอะไรโรงเรียนเขาถึงเป็นอย่างนั้น เขาบอกว่า เพราะสังคมแคนาดาให้เสรีภาพมากกว่าสังคมไทย
 
พูดเรื่องสิทธิ เสรีภาพ นักเรียนที่ผมสัมภาษณ์จำนวนหนึ่งสนใจเรื่องการเมืองอย่างจริงจัง มีคนหนึ่งวิจารณ์การรัฐประหาร ผมจึงถามว่า ที่คนกรุงเทพฯ ว่าชาวบ้านถูกนักการเมืองหลอก คุณคิดว่าอย่างไร เขาตอบว่า ชาวบ้านเขาได้รับข่าวสารจากหลายๆ แหล่ง แล้วเขาตรวจสอบ เขาคิดเองได้ ผมถามต่อว่า ทหารเขาบอกจะเข้ามารักษาความสงบไม่ดีหรือ นักเรียนคนนี้ตอบว่า ก็ดี แต่จะใช้เวลานานเท่าไหร่ล่ะ แล้วประชาชนจะตรวจสอบได้ไหม 
 
ส่วนนักเรียนอีกคนหนึ่ง ผมถามว่าทำไมเราจะต้องเลือกตั้ง เขาตอบว่า เพราะการเลือกตั้งแสดงว่าหนึ่งคนมีสิทธิเท่ากัน ผมถามต่อว่าทำไมสิทธิจึงสำคัญ เขาตอบว่า ก็เพราะเราบอกว่าเราปกครองในระบอบประชาธิปไตย ก็ต้องเชื่อในสิทธิเท่าเทียมกันสิ ถ้าไม่บอกว่าปกครองในระบอบนี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง
 
ถึงผมจะไม่เชื่อมั่นในการศึกษาในระบบมากนัก เพราะอย่างที่เราเห็นๆ กันอยู่ว่าการจัดระบบการศึกษาในบ้านเราบิดเบี้ยวขนาดไหน และเนื้อหาในตำราเรียนมีความจริงอยู่แค่ไหน แต่ผมก็ยังมีความหวังกับคนรุ่นใหม่ ด้วยเพราะเห็นว่าการเรียนรู้นอกระบบการศึกษา นอกชั้นเรียน กำลังแข่งขันกันให้ความรู้และความคิดที่แตกต่างออกไปจากการควบคุมของรัฐอย่างทรงพลัง 
 
การศึกษาในระบบในปัจจุบันจึงทำได้แค่เพียงให้พื้นฐานการเรียนรู้บางอย่าง แต่ส่วนของเนื้อหาและแนวทางการค้นหาความรู้ที่สำคัญต่อชีวิตนั้น การศึกษาขั้นพื้นฐานคงไม่ได้มีอิทธิพลมากนักอีกต่อไป

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้