Skip to main content
เมื่อก่อนผมเถียงกับเพื่อนเสมอว่า อย่ามาถามว่าผมเป็นคนที่ไหน เพราะคนเราอาจมีหลายบ้าน มีใครในยุคนี้ที่ไม่ย้ายบ้านบ้าง

 
ตั้งแต่เด็ก ผมย้ายบ้านเป็นว่าเล่น เคยอยู่แถวสุทธิสาร ย้ายไปซอยอารี ย้ายไปสวนรื่น ไปเกียกกาย ไปเตาปูน ไปประชาชื่น แล้วไปๆ กลับๆ อยุธยา แล้วไปแมดิสัน แล้วไปเวียดนาม ฮานอย เซอนลา อยู่มหาชัย แล้วมาอยู่หนองแขม
 
แต่มีที่ไหนบ้างที่เราจะรู้สึกว่า "เป็นบ้าน" ได้ เมื่อถามตัวเองอย่างนั้น ผมรู้สึกว่า (เป็นความรู้สึกจริงๆ ไม่ใช่ความคิด) ความเป็นบ้านต้องให้ความมั่นใจ ให้ความอบอุ่น ให้ความสบายใจ ให้ความคุ้นเคย ให้ความไว้ใจ แล้วก็รู้สึกได้ว่า มีไม่กี่ที่ที่จะรู้สึกแบบนั้นได้
 
มีที่หนึ่งที่ผมรู้สึกเป็นบ้าน คือที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ตลกน่าดูที่ใครจะนับมหาวิทยาลัยว่าเป็นบ้าน เพราะนั่นคือสถานศึกษา จะเรียกว่าบ้านได้อย่างไร
 
แต่ถ้าใครได้เคยมีประสบการณ์การเรียนมหาวิทยาลัยที่ต้องใช้เวลาแทบทั้งวันหรือบางทีเกือบทั้งคืนอยู่ที่มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาอยู่นานเกือบ 10 ปี ได้รู้จักผู้คนมากมาย ได้สัมผัสรายละเอียดประจำวันทั้งซ้ำซากและแปลกใหม่ ได้เรียนรู้ทั้งชีวิตจำเจและความรู้ล้ำลึก เขาอาจรู้สึกถึงว่าสถานศึกษาเป็นบ้านได้
 
กลับมามหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันเที่ยวนี้ ผมรู้สึกเหมือนจากไปนาน ที่จริงก็นานนับ 7 ปีได้ แต่ก็กลับเหมือนทุกอย่างเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ เกือบครึ่งของคนที่สนิทสนมคุ้นเคยอยู่ที่นี่ ส่วนใหญ่ของสถานที่แทบไม่เปลี่ยน สิ่งที่เคยใหม่ที่เคยต้องลำบากเรียนรู้ค่อยๆ กลับมา
 
ที่ดีกว่าการมาคราวก่อนมากคือ การมาครั้งนี้เป็นการกลับมาสู่ความคุ้นเคย ต่างจากการมาต่อสู้ มาดั้นด้น มาฝ่าฟัน มาท้าทายแบบเมื่อมาเรียน มาคราวนี้มีที่ว่าง มีเวลาว่าง มึอุปสรรคน้อยลง แต่ก็แตกต่างอย่างมากที่มาคราวนี้มาฟื้นฟู มากอบกู้ มาคราวนี้ก็มาเพิ่มพูน มาพัฒนา มาขยับขยาย
 
ผมคงมีเรื่องราวเก็บเกี่ยวได้อีกมากมาย ทั้งจากการได้เข้าใจทบทวนความเป็นไปที่ชินชาในอดีตที่ถูกทับถมด้วยการเรียนจนเรียนรู้ได้เพียงปล่อยตัวใจให้ไหลเรื่อยตามจังหวะชีวิตไป และจากการค้นพบเรียนรู้และรู้สึกใหม่ๆ จากการค้นหาเพิ่มเติมจากช่องว่างและผู้คนแปลกหน้าอีกกว่าครึ่งของเมื่อก่อน
 
คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเข้าใจความเป็นบ้าน แต่เมื่อต้องอยู่ที่ไหนอย่างจริงจังเนิ่นนานในภาวะเปราะบางแล้ว ที่ไหนที่ช่วยให้สบายใจขึ้น ก็คงเป็นที่ที่เรียกว่าบ้านได้กระมัง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระดับภูมิภาคซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนภูมิภาค สภาองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในแต่ละปี ผมมักไปร่วมสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในคณะในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนประจำอยู่โดยไม่ได้ขาด เสียดายที่ปีนี้มีโอกาสสัมภาษณ์นักเรียนเพียงไม่กี่คน เพราะติดภาระกิจมากมาย แต่ก็ยังดีที่ได้สัมภาษณ์อย่างจริงจังถึง 10 คนด้วยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียชีวิตของเด็กหญิงบนรถไฟทำให้สังคมไทยสะเทือนใจกันไปทั่ว แต่ที่น่าสะเทือนใจไม่น้อยไปกว่าความสูญเสียดังกล่าวคือ การแสดงออกของสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นสังคมอาชญากรรมในหลายๆ ประการ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวัยเยาว์ ผมเริ่มสงสัยง่าย ๆ ว่า ในหัวของแต่ละคนคิดอะไรอยู่ จึงได้ทำให้คนแตกต่างกันหรือเหมือนกัน ผมพยายามค้นหาว่าความรู้ชนิดใดกันที่จะทำให้เข้าใจความคิดในหัวคนได้ แรก ๆ ก็เข้าใจว่าศาสนาจะช่วยให้เข้าใจได้ ต่อมาก็คือจิตวิทยา แต่ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ แล้วมาสนใจประวัติศาสตร์และปรัชญา ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ถูกใจ สุดท้ายผมได้เจอกับวิชาที่น่าสนใจว่าน่าจะช่วยให้เข้าใจทัศนคติได้ดี นั่นก็คือวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมสงสัยว่า บุคคลที่น่านับถือจำนวนมากที่ยินยอมตอบรับหรือเสนอตัวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ในคณะกรรมการต่างๆ มากมายนั้น ทั้งโดยออกนอกหน้าและเสนอตัวว่าขอทำงานอย่างลับๆ พวกเขาเข้าร่วมด้วยหลักการอะไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่า ทำไมคนไทยกลุ่มหนึ่งจึงโกรธนักโกรธหนาที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประณามและต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่พวกเขานั้นเป็นทาสฝรั่งเหล่านี้มากที่สุดในประเทศนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้*ท่านคงไม่ได้ติดตามข่าว ขณะนี้ไม่มีใครพูดถึงมาตรา 7 กันแล้ว ฝ่ายที่จะพยายามตั้งรัฐบาล ทั้ง กปปส. และพรรคพวก และการดำเนินงานของประธานวุฒิสภาเถื่อน (เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้า ทำเกินอำนาจหน้าที่) ในขณะนี้ ไม่ได้สนใจข้อกฎหมายมาตราใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาเพียงพยายามหาเสียงสนับสนุนจากสังคมโดยไม่ใยดีกับเสียงคัดค้าน ไม่ใยดีกับข้อกฎหมาย เพื่อที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของเขาเท่านั้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (8 พค. 57) ผมข้องเกี่ยวอยู่กับภาพยนตร์ในหลายๆ ลักษณะ ตอนเช้า สัมภาษณ์นักศึกษาสอบเข้าปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ น่าแปลกใจที่ผู้เข้าสอบหลายต่อหลายคนสนใจภาพยนตร์ ตกบ่าย ไปชมภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"ตามคำเชิญของ "คุณสืบ" และ "คุณเปีย" ผู้กำกับและตากล้องภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 12 เพิ่งจบสิ้นลงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (22-24 เมษายน ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย) ผมไปประชุมครั้งนี้อย่างเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องเตรียมตัวเสนอบทความตนเองหนึ่งชิ้น และร่วมในห้องเสวนาโต๊ะกลมอีกสองห้อง ทุกรายการอยู่คนละวัน ผมก็เลยต้องพูดทุกวันทั้งสามวัน