Skip to main content
 
 
เมื่อวันจันทร์ (11 สค.) หลังจากใช้เวลาอยู่ใน Field Museum (ซึ่งพอดีมีนิทรรศการว่าด้วยกำเนิดของ Field Museum ที่เกี่ยวข้องกับกำเนิดของมานุษยวิทยาอเมริกันอย่างยิ่ง) ไปกว่า 4 ชั่วโมงแล้ว ผมลังเลอย่างยิ่งที่จะเข้าชม The Art Institute of Chicago ต่อ เพราะเกรงว่าจะไม่ทันได้ครุ่นคิดอะไรกับความรู้และความรู้สึกแบบอัดแน่นจากเมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา 

 
แต่แล้วผมก็ตัดสินใจเข้าสถาบันศิลปะทั้งๆ ที่มีเวลาเพียงอีกหนึ่งชั่วโมงครึ่งก็จะถึงเวลาปิดแล้ว มีสิ่งเดียวที่ดึงผมเข้าไปได้ในเวลาที่เหลือน้อยนิด นั่นก็คือภาพเรอเน มากริตต์ขนาดมหึมาหน้าสถาบันศิลปะแห่งนี้ 
 
อย่างที่หลายๆ คนทราบดีอยู่แล้วว่า สถาบันศิลปะแห่งนี้มีคอลเล็คชั่นงานศิลปะจำนวนและชิ้นงานสำคัญๆ เทียบกันไม่ได้กับสถาบันศิลปะแห่งอื่นๆ เช่น หากจะเทียบงานศิลปะสมัยใหม่แล้ว ก็เทียบไม่ได้เลยกับ the MoMA ของนิวยอร์ค แต่จากการใช้เวลาโฉบๆ ชมและถ่ายรูปแบบไวๆ ก็พบว่าที่นี่ก็พอจะมีงานชิ้นดังๆ เท่าที่ความรู้ทางประวัติศาสตร์ศิลป์อันจำกัดของผมจะประเมินได้อยู่นับสิบชิ้น
 
แต่ที่เกินคาดและผมถือว่าคุ้มค่าเป็นส่วนตัวคือการแสดงนิทรรศการพิเศษที่รวมรวมผลงานของมากริตต์น่าจะนับ 100 ชิ้นมาแสดงในช่วงเวลาที่ผมไปเยี่ยมชมพอดี ภาพหลายภาพ ผลงานหลายชิ้น ล้วนผ่านหูผ่านตามาหลายต่อหลายครั้ง หลายคนก็คงเคยเห็นและติดตาติดใจ แต่โอกาสที่จะได้เห็นภาพต้นฉบับอย่างใกล้ชิดเช่นนี้ คงเป็นไปได้ยากมาก เสียดายที่เขาไม่ให้ถ่ายภาพ
 
ผลงานเท่าที่ผมจดมาตามความประทับใจที่มีอยู่เดิมต่อภาพเหล่านี้ก็ได้แก่ The Lovers ภาพคนคลุมผ้าจูบกัน, This is not a pipe อันโด่งดัง, Threatening Weather เมฆก่อรูปความฝัน, The False Mirror ดวงตาสะท้อนท้องฟ้า, The Human Condition ภาพทิวทัศน์ที่สนิทกับทิวทัศน์, The Rape ที่ผมบันทึกมา, Black Magic ภาพนู๊ดลวงตาที่ไม่ค่อยพูดถึงกันนัก
 
The Red Model ภาพรองเท้ารูปเท้า, The Healer คนใส่หมวกคลุมผ้าตัวเป็นกรงนก, Clairvoyance ศิลปินวาดรูปไข่แต่กลายเป็นนกในผ้าใบ, Time Transfixed รถไฟวิ่งออกมาจากเตาผิงข้างผนัง ที่จริงมีงานอื่นๆ อีกมากมาย แต่ผมเลือกงานเหล่าน้เพราะติดตาประทับใจเองมาเนิ่นนานแล้ว
 
 
เมื่อเทียบกับภาพเขียนพวกเซอร์เรียลคนอื่นๆ ผมชอบมากริตต์ตรงที่การใช้ภาพและสัญลักษณ์ที่ปกติสามัญทั่วไป แถมยังใช้สีเรียบง่าย สดใส และมักใช้เทคนิคการเขียนภาพแบบสมจริง แต่กลับสามารถตั้งคำถามและสร้างความรู้สึกแปลกใหม่ได้อย่างน่าประหลาด มากริตต์ไม่ค่อยเล่นกับเซ็กซ์และความรุนแรงอย่างตรงไปตรงมาหรือเกรี้ยวกราดมากนัก แต่เขาจะอาศัยรูปสัญลักษณ์ที่ต้องตีความ ที่จริงก็มีบ้างเหมือนกันที่เขาวาดรูปคนกินนกแบบสดๆ เลือดสาด แต่ก็ต้วยโทนสีที่เงียบสงบ ที่จะมียากบ้างก็บรรดาสัญลักษณ์เฉพาะตัวของเขาเองที่กลายเป็น motif เฉพาะตัวของเขา เช่นเมฆ หมวก กระดาษตัด เสาประดับโค้งๆ ดวงตา
 
ในแง่ความคิด ผมชอบงานมากริตต์ตรงที่งานเขาตั้งคำถามกับการถ่ายทอดความจริงทางศิลปะ เช่น การเล่นกับภาพแทนความจริงผ่านการล้อเลียนภาพสามมิติด้วยการทำให้มันสองมิติ การเล่นกับภาพลวงตาที่ประกอบจากมุมมองและการจัดวางภาพ การพิจารณาความซับซ้อนและทับซ้อนกันของอักษร ภาพ และความจริง เช่นภาพอันโด่งดังคือ This is not a pipe. และการท้าทายความเข้าใจแบบปกติสามัญด้วยการนำเอาสัญลักษณ์ที่ไม่เข้ากัน ไม่เป็นระบบต่อเนื่องกัน อยู่กันคนละที่ละทางมาวางไว้ด้วยกันจนเกิดความหมายแปลกใหม่ เกิดความรู้สึกประหลาด
 
ประเด็นเหล่านั้นบอกเล่าอยู่ในนิทรรศการพิเศษนี้อย่างครบครันด้วยคำบรรยายภาพมากมาย จนกระทั่งบางครั้งผมดูไปอ่านไปแล้วรู้สึกว่ามันมากเกินไปด้วยซ้ำ
 
อย่างไรก็ตาม เมื่อได้มาดูภาพด้วยตาตนเองอย่างใกล้ชิดแล้ว ก็เห็นความพิถีพิถันประณีตบรรจงในการทำงานศิลปะของมากริตต์ ผลงานของมากริตต์ส่วนใหญ่เป็นภาพสีน้ำมัน ขนาดไม่ใหญ่มาก แต่บางภาพก็ใหญ่มาก เมื่อได้ดูภาพใกล้ๆ จนได้เห็นฝีแปรงพู่กัน ได้เห็นการสอดสี ก็ทำให้เข้าใจวิธีการสร้างภาพของมากริตต์ ที่อาศัยเทคนิคแบบภาพสมจริงเป็นหลัก แต่สร้างความไม่สมจริงจากการประกอบภาพ อย่างไรก็ตาม มากริตต์ก็ทดลองสร้างภาพที่สื่อสารกันระหว่างภาพวาดหลายๆ ภาพ ข้ามกรอบรูปด้วยเช่นกัน ผลงานของเขาลางชิ้นจึงไม่ได้เป็นเพียงภาพๆ เดียวโดดๆ แต่ประกอบจากหลายๆ ภาพ
 
นอกจากนั้น การได้มาดูเองยังทำให้ได้เห็นขนาดของภาพ สี และแสง ที่แตกต่างจากที่เคยคิดเคยเห็นหรือไม่มีโอกาสจินตนาการได้ชัดเจนเท่ากับที่เมื่อได้เห็นภาพต้นฉบับ เช่น This is not a pipe. นั้น มีขนาดใหญ่กว่าที่ผมเคยจินตนาการไว้มากนัก นอกจากนั้นงานครั้งนี้ยังรวบรวมเอาภาพถ่ายและภาพพิมพ์จำนวนหนึ่งของมากริตต์มาแสดงด้วย ทำให้ได้เห็นผลงานที่มักไม่ค่อยเห็นกันนักมากขึ้น แต่ที่น่าผิดหวังหน่อยหนึ่งคือ เขาน่าจะนำภาพยนตร์ที่มากริตต์น่าจะมีส่วนร่วมสร้างกับศิลปินคนอื่นๆ มาแสดงบ้าง 
 
ณ ที่ซึ่งเคยเก็บทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์มาก่อนแห่งนี้ ยังมีผลงานศิลปะเอเชีย ศิลปะยุโรป และศิลปะอเมริกันพื้นเมืองอีกมากมายที่ผมยังไม่ได้ให้ความสำคัญมากพอในการศึกษา-ชื่นชม แม้จะถูกตราหน้าว่า "ซื้อของโจร" มาก่อนแล้วก็ตาม สถาบันแห่งนี้ก็ยังมีบทบาทสำคัญในการให้การศึกษาเทียบเคียงสุนทรีย์ศาสตร์ทั้งที่หลากหลายและที่เป็นสากลของมนุษยชาติผ่านวัตถุทางศิลปะ ทั้งแก่ชาวเมืองนี้เองและผู้เข้าเยี่ยมชมจากทั่วโลก

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์