Skip to main content
 
นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก

 
กลางเมืองชิคาโก ในสวนสหัสวรรษ (Millennium Park) ผมชื่นชมกับการที่เขาดัดแปลงพื้นที่ให้เป็นสวนสาธารณะขนาดมหึมา ที่รวมพื้นที่สารพัด ไม่ว่าจะเป็นลานโล่งที่มีเวทีรองรับการจัดงานแสดงหรือผู้คนอาจมานั่งเล่นนอนเล่นวิ่งเล่นหรือกระทั่งจิบเบียร์เย็นๆ ได้ มีสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่และกลมกลืนกับมวลชนหลายชิ้น ที่คนชื่นชอบมากเห็นจะไม่เกินถั่วขนาดยักษ์และน้ำตกหน้าคน มีลำธารให้เด็กวิ่งเล่นน้ำกระจาย ให้คนนั่งหย่อนเอาเท้าแช่น้ำ มีลานแสดงดนตรีวงเล็กๆ แต่ที่ไม่ควรพลาดคือ สวนขนาดใหญ่ที่ให้ภาพดอกหญ้าตัดกับตึกระฟ้าอย่างน่าประทับใจ
 
แต่เหนือจากนั้น ผมโชคดีอย่างยิ่งที่ชาวชิคาโกแนะนำให้รู้จัก Chicago Botanic Garden หรือสวนพฤกษศาสตร์ชิคาโก แม้จะอยู่ห่างออกไปจากตัวเมืองสัก 20 นาทีได้ แต่สวนแห่งนี้ก็ตั้งชื่อตามชื่อเมือง คงเนื่องจากทุนสนับสนุนมหาศาลที่น่าจะมาจากชิคาโก
 
สวนแห่งนี้มีพื้นที่ใหญ่โตมหึมา เกือบ 1,000 ไร่ มีพืชพันธ์ุต่างๆ มากมายขนาดไหนคงไม่ต้องพูดถึง แต่ที่น่าประทับใจคือ ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ไม่ว่าจะมองมุมไหน ก็ล้วนงดงาม ลงตัว เพียบพร้อมไปด้วยการจัดแต่งจัดวางองค์ประกอบอย่างดีเยี่ยมไปเสียทั้งหมด หากคิดแค่ว่า ลำพังสวนหลังบ้านของใครต่อใครที่ไม่ว่าจะมีพื้นที่เล็กใหญ่ขนาดไหน ที่จะจัดให้ได้งดงามน่าชมไปเสียทุกมุมมองนั่นก็ยากแล้ว สวนที่ใหญ่ขนาดร่วมพันไร่จะจัดการกันอย่างไรก็ยิ่งน่าทึ่งมากเข้าไปอีก
 
แน่นอนว่าความอุตสาหะของการทำสวนแห่งนี้ไม่ได้อยู่เพียงการจัดวาง หากแต่สวนแห่งนี้ยังคัดเลือกพันธ์ุไม้มาแสดงเพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนด้วย สวนย่อยสวนหนึ่งในบรรดาเกินสิบสวนที่น่าสนใจคือสวนพันธ์ุไม้พื้นเมือง ทางสวนเลือกไม้ของทวีปอเมริกามาเป็นหลัก ปลูกอัดกันแน่นแต่คละสีสันและรูปทรงของลำต้น ใบไม้ จนทำให้หากจะดูเพื่อความงามก็ได้ หรือจะควานหาความรู้จากป้ายอธิบายพันธ์ุไม้อย่างพินิจพิจารณาก็ได้
 
นอกจากจะจัดระบบตามพันธ์ุพืชเช่นสวนไม้พื้นเมืองที่ว่า และยังมีสวนกุหลาบแล้ว สวนแห่งนี้ยังจัดแบ่งหย่อมๆ ออกตามระบบนิเวศน์ ดังเช่นอีกสวนหนึ่งนี่ผมชอบคือสวนสน ที่เขารวบรวมพันธ์ุสนมากมาย มีกระทั่งสนที่โตเรี่ยดิน กระทั่งสนต้นสูงใหญ่ สนใบสีเหลือง สนใบเขียวอ่อน สนสามใบ ฯลฯ ลำพังต้นสนก็มีมากมายนับไม่ถ้วนแล้ว 
 
สวนที่แสดงความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นอันสะท้อนออกมาจากระบบนิเวศน์เฉพาะของตนของกลางทวีปอเมริกาคือทุ่งแพรรี่ (prarie) เดิมทุ่งแพรรี่เป็นแหล่งอาหารสำคัญของควายไบสันตัวใหญ่มหีมาแต่ถูกล่าตายด้วยอาวุธปืนไปจำนวนมากในช่วงบุกเบิกตะวันตกของคนขาว ทุ่งแพรรี่มีหญ้าและดอกทานตะวันพื้นเมืองขนาดเล็กๆ ขึ้นอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารสำคัญของชนพื้นเมืองอเมริกันเช่นกัน สิ่งเหล่านี้สูญหายไปเมื่อที่ดินถูกแปลงเป็นที่เพาะปลูกมากขึ้นเรื่อยๆ
 
 
อีกสวนหนึ่งที่โดดเด่นคือสวนญี่ปุ่น ที่เริ่มปรับความรู้สึกให้ได้เหมือนกับไปญี่ปุ่นตั้งแต่สะพานข้ามน้ำที่เป็นสะพานไม้ดิบๆ แต่นุ่มนวลด้วยรูปทรงและการตกแต่งเรียบง่าย เมื่อข้ามไปจะพบกับต้นสนที่ตัดแต่งแบบญี่ปุ่น แต่ละต้นมีกิ่งไม่มาก เว้นช่วงกิ่งเป็นระยะ ตัดแต่งกิ่งให้มีใบเป็นหย่อมๆ บางต้นมีการดัดลำต้นให้คดงอและเตี้ยม่อต้อ นับเป็นการถ่ายทอดสุนทรีย์ศาสตร์การดัดแปลงธรรมชาติเพื่อชื่นชมธรรมชาติได้อย่างดี นอกจากนั้นยังมีเรือนญี่ปุ่นผนังดินปนไม้ที่มักเห็นตามชนบทในญี่ปุ่น บริเวณบ้านยังจัดสวนญี่ปุ่นขนาดเล็ก ได้บรรยากาศที่จำลองมาจากญี่ปุ่นอย่างประณีต มีแม้แต่มอสที่มักขึ้นในวัง วัด ศาลเจ้า และบ้านเก่าๆ ในชนบทญี่ปุ่น
 
ที่ต้องชื่นชมอีกอย่างคือ สวนแห่งนี้ไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อให้ชื่นชมด้วยตาหรือจมูก แต่ยังให้การศึกษาอย่างเข้มข้น ต้นไม้หลากพันธ์ุได้รับการอธิบายด้วยชื่อสารพัดชื่อ และเพราะความซับซ้อนของชื่อต่างๆ เขาจึงทำป้ายอธิบายป้ายอีกว่าแต่ละป้ายนั้นบอกอะไรบ้าง นอกจากนันยังมีป้ายบอกเป็นระยะๆ ว่า พื้นที่บางพื้นที่ หรือต้นไม่บางต้น ได้รับการดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากปัญหาอะไร เนื่องจากเขาได้เรียนรู้อะไรและต้องปรับปรุงอะไร ในสวนญี่ปุ่น มีคำอธิบายหลักปรัชญาเบื้องหลังการจัดหิน การดัดต้นสน และการจัดวางสิ่งสิ่งของ เช่น ความหมายของสะพาน ทำให้ทั้งเพลิดเพลินและได้ความรู้ไปพร้อมๆ กัน
 
ที่น่าผิดหวังอยู่หน่อยตรงที่ไม่ได้เห็นข้าวป่าเมล็ดยาว ไม่ได้เห็นระบบนิเวศน์แบบชื้อแฉะ (wet land) ที่ดูรกร้าง แต่เท่าที่มีนั่นก็มากเกินพอกว่าจะไปเรียกร้องเอาจากสวนแห่งนี้แล้ว ยิ่งเขาไม่เก็บค่าเข้าชม (เก็บแต่ค่ารถ) ด้วยแล้ว ก็ยิ่งต้องขอบคุณเขามากกว่าที่จะไปเรียกร้องอะไรเพิ่มเติมจากเขาอีก
 
หากใครจะไปสวนพฤกษศาสตร์แห่งชิคาโกในฤดูร้อน คนชิคาโกแนะนำว่าให้ไปก่อน 10 โมง จะได้ไม่ลำบากหาที่จอดรถ และจะได้มีมุมถ่ายรูปที่ไม่ติดคนมากนัก ซึ่งก็จริง เพราะดูเหมือนคนชิคาโกจะนิยมไปชมสวนมากกว่าไปเดินห้าง  
 
อันที่จริงกรุงเทพฯไม่ได้ด้อยไปกว่าชิคาโกในแง่ของเศรษฐกิจ แต่คนกรุงเทพฯ น่าสงสารที่ไม่มีสวนสาธารณะขนาดใหญ่ให้ผู้คนได้ชื่นชมและหาความรู้ โชคร้ายที่ผู้บริหารเมืองไม่เคยสามารถจัดการอะไรได้ ไร้วาสนาที่มหาเศรษฐีผู้มั่งคั่งจากการให้เช่าที่ดินในกรุงเทพฯกลับไม่ค่อยบริจาคเงินให้สาธารณชน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์