Skip to main content
 
นึกถึงชิคาโก ผู้คนคงนึกถึงตึกระฟ้าที่เคยประชันกันกับนิวยอร์ค นึกถึงธุรกิจที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาอาศัยที่นี่จนเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา นึกถึงสถาปัตยกรรมอันหลากหลายและฟังเมืองใหม่หลังไฟไฟม้ใหญ่จนราบไปทั้งเมือง นึกถึงอัลคาโปนเจ้าพ่อชื่อดัง นึกถึงพิพิธภัณฑ์ที่เดินดูกันทั้งเดือนก็คงไม่หมด นึกถึงมหาวิทยาลัยอันโด่งดังอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชิคาโก แต่ใครบ้างจะนึกถึงแมกไม้และสายน้ำของชิคาโก

 
กลางเมืองชิคาโก ในสวนสหัสวรรษ (Millennium Park) ผมชื่นชมกับการที่เขาดัดแปลงพื้นที่ให้เป็นสวนสาธารณะขนาดมหึมา ที่รวมพื้นที่สารพัด ไม่ว่าจะเป็นลานโล่งที่มีเวทีรองรับการจัดงานแสดงหรือผู้คนอาจมานั่งเล่นนอนเล่นวิ่งเล่นหรือกระทั่งจิบเบียร์เย็นๆ ได้ มีสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่และกลมกลืนกับมวลชนหลายชิ้น ที่คนชื่นชอบมากเห็นจะไม่เกินถั่วขนาดยักษ์และน้ำตกหน้าคน มีลำธารให้เด็กวิ่งเล่นน้ำกระจาย ให้คนนั่งหย่อนเอาเท้าแช่น้ำ มีลานแสดงดนตรีวงเล็กๆ แต่ที่ไม่ควรพลาดคือ สวนขนาดใหญ่ที่ให้ภาพดอกหญ้าตัดกับตึกระฟ้าอย่างน่าประทับใจ
 
แต่เหนือจากนั้น ผมโชคดีอย่างยิ่งที่ชาวชิคาโกแนะนำให้รู้จัก Chicago Botanic Garden หรือสวนพฤกษศาสตร์ชิคาโก แม้จะอยู่ห่างออกไปจากตัวเมืองสัก 20 นาทีได้ แต่สวนแห่งนี้ก็ตั้งชื่อตามชื่อเมือง คงเนื่องจากทุนสนับสนุนมหาศาลที่น่าจะมาจากชิคาโก
 
สวนแห่งนี้มีพื้นที่ใหญ่โตมหึมา เกือบ 1,000 ไร่ มีพืชพันธ์ุต่างๆ มากมายขนาดไหนคงไม่ต้องพูดถึง แต่ที่น่าประทับใจคือ ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ไม่ว่าจะมองมุมไหน ก็ล้วนงดงาม ลงตัว เพียบพร้อมไปด้วยการจัดแต่งจัดวางองค์ประกอบอย่างดีเยี่ยมไปเสียทั้งหมด หากคิดแค่ว่า ลำพังสวนหลังบ้านของใครต่อใครที่ไม่ว่าจะมีพื้นที่เล็กใหญ่ขนาดไหน ที่จะจัดให้ได้งดงามน่าชมไปเสียทุกมุมมองนั่นก็ยากแล้ว สวนที่ใหญ่ขนาดร่วมพันไร่จะจัดการกันอย่างไรก็ยิ่งน่าทึ่งมากเข้าไปอีก
 
แน่นอนว่าความอุตสาหะของการทำสวนแห่งนี้ไม่ได้อยู่เพียงการจัดวาง หากแต่สวนแห่งนี้ยังคัดเลือกพันธ์ุไม้มาแสดงเพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนด้วย สวนย่อยสวนหนึ่งในบรรดาเกินสิบสวนที่น่าสนใจคือสวนพันธ์ุไม้พื้นเมือง ทางสวนเลือกไม้ของทวีปอเมริกามาเป็นหลัก ปลูกอัดกันแน่นแต่คละสีสันและรูปทรงของลำต้น ใบไม้ จนทำให้หากจะดูเพื่อความงามก็ได้ หรือจะควานหาความรู้จากป้ายอธิบายพันธ์ุไม้อย่างพินิจพิจารณาก็ได้
 
นอกจากจะจัดระบบตามพันธ์ุพืชเช่นสวนไม้พื้นเมืองที่ว่า และยังมีสวนกุหลาบแล้ว สวนแห่งนี้ยังจัดแบ่งหย่อมๆ ออกตามระบบนิเวศน์ ดังเช่นอีกสวนหนึ่งนี่ผมชอบคือสวนสน ที่เขารวบรวมพันธ์ุสนมากมาย มีกระทั่งสนที่โตเรี่ยดิน กระทั่งสนต้นสูงใหญ่ สนใบสีเหลือง สนใบเขียวอ่อน สนสามใบ ฯลฯ ลำพังต้นสนก็มีมากมายนับไม่ถ้วนแล้ว 
 
สวนที่แสดงความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นอันสะท้อนออกมาจากระบบนิเวศน์เฉพาะของตนของกลางทวีปอเมริกาคือทุ่งแพรรี่ (prarie) เดิมทุ่งแพรรี่เป็นแหล่งอาหารสำคัญของควายไบสันตัวใหญ่มหีมาแต่ถูกล่าตายด้วยอาวุธปืนไปจำนวนมากในช่วงบุกเบิกตะวันตกของคนขาว ทุ่งแพรรี่มีหญ้าและดอกทานตะวันพื้นเมืองขนาดเล็กๆ ขึ้นอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารสำคัญของชนพื้นเมืองอเมริกันเช่นกัน สิ่งเหล่านี้สูญหายไปเมื่อที่ดินถูกแปลงเป็นที่เพาะปลูกมากขึ้นเรื่อยๆ
 
 
อีกสวนหนึ่งที่โดดเด่นคือสวนญี่ปุ่น ที่เริ่มปรับความรู้สึกให้ได้เหมือนกับไปญี่ปุ่นตั้งแต่สะพานข้ามน้ำที่เป็นสะพานไม้ดิบๆ แต่นุ่มนวลด้วยรูปทรงและการตกแต่งเรียบง่าย เมื่อข้ามไปจะพบกับต้นสนที่ตัดแต่งแบบญี่ปุ่น แต่ละต้นมีกิ่งไม่มาก เว้นช่วงกิ่งเป็นระยะ ตัดแต่งกิ่งให้มีใบเป็นหย่อมๆ บางต้นมีการดัดลำต้นให้คดงอและเตี้ยม่อต้อ นับเป็นการถ่ายทอดสุนทรีย์ศาสตร์การดัดแปลงธรรมชาติเพื่อชื่นชมธรรมชาติได้อย่างดี นอกจากนั้นยังมีเรือนญี่ปุ่นผนังดินปนไม้ที่มักเห็นตามชนบทในญี่ปุ่น บริเวณบ้านยังจัดสวนญี่ปุ่นขนาดเล็ก ได้บรรยากาศที่จำลองมาจากญี่ปุ่นอย่างประณีต มีแม้แต่มอสที่มักขึ้นในวัง วัด ศาลเจ้า และบ้านเก่าๆ ในชนบทญี่ปุ่น
 
ที่ต้องชื่นชมอีกอย่างคือ สวนแห่งนี้ไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อให้ชื่นชมด้วยตาหรือจมูก แต่ยังให้การศึกษาอย่างเข้มข้น ต้นไม้หลากพันธ์ุได้รับการอธิบายด้วยชื่อสารพัดชื่อ และเพราะความซับซ้อนของชื่อต่างๆ เขาจึงทำป้ายอธิบายป้ายอีกว่าแต่ละป้ายนั้นบอกอะไรบ้าง นอกจากนันยังมีป้ายบอกเป็นระยะๆ ว่า พื้นที่บางพื้นที่ หรือต้นไม่บางต้น ได้รับการดูแลเป็นพิเศษเนื่องจากปัญหาอะไร เนื่องจากเขาได้เรียนรู้อะไรและต้องปรับปรุงอะไร ในสวนญี่ปุ่น มีคำอธิบายหลักปรัชญาเบื้องหลังการจัดหิน การดัดต้นสน และการจัดวางสิ่งสิ่งของ เช่น ความหมายของสะพาน ทำให้ทั้งเพลิดเพลินและได้ความรู้ไปพร้อมๆ กัน
 
ที่น่าผิดหวังอยู่หน่อยตรงที่ไม่ได้เห็นข้าวป่าเมล็ดยาว ไม่ได้เห็นระบบนิเวศน์แบบชื้อแฉะ (wet land) ที่ดูรกร้าง แต่เท่าที่มีนั่นก็มากเกินพอกว่าจะไปเรียกร้องเอาจากสวนแห่งนี้แล้ว ยิ่งเขาไม่เก็บค่าเข้าชม (เก็บแต่ค่ารถ) ด้วยแล้ว ก็ยิ่งต้องขอบคุณเขามากกว่าที่จะไปเรียกร้องอะไรเพิ่มเติมจากเขาอีก
 
หากใครจะไปสวนพฤกษศาสตร์แห่งชิคาโกในฤดูร้อน คนชิคาโกแนะนำว่าให้ไปก่อน 10 โมง จะได้ไม่ลำบากหาที่จอดรถ และจะได้มีมุมถ่ายรูปที่ไม่ติดคนมากนัก ซึ่งก็จริง เพราะดูเหมือนคนชิคาโกจะนิยมไปชมสวนมากกว่าไปเดินห้าง  
 
อันที่จริงกรุงเทพฯไม่ได้ด้อยไปกว่าชิคาโกในแง่ของเศรษฐกิจ แต่คนกรุงเทพฯ น่าสงสารที่ไม่มีสวนสาธารณะขนาดใหญ่ให้ผู้คนได้ชื่นชมและหาความรู้ โชคร้ายที่ผู้บริหารเมืองไม่เคยสามารถจัดการอะไรได้ ไร้วาสนาที่มหาเศรษฐีผู้มั่งคั่งจากการให้เช่าที่ดินในกรุงเทพฯกลับไม่ค่อยบริจาคเงินให้สาธารณชน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก