Skip to main content
ทัศนะแบบนี้ปรากฏตัวบ่อยครั้งในข้อถกเถียงทางการเมืองไทย ในระบบการศึกษาไทย ตำราเรียนไทย ประวัติศาสตรืไทยแบบทางการก็ยังสอนแบบนี้อยู่ คนไทยไม่ว่าจะใส่เสื้อสีใด ส่วนใหญ่ก็ยังเชื่อแบบนี้อยู่ ทัศนะแบบนี้คงกะลาความเป็นไทยเอาไว้อย่างหนาเตอะเกรอะกรัง

 
แต่แวดวงการศึกษาเรื่องไทยในโลกสากล เสนอทั้งข้อมูลและกรอบการวิเคราะห์โต้แย้งทัศนะแบบนี้ไว้อย่างพิศารมากมายเนิ่นนานมาหลายสิบปีแล้ว อย่าเพิ่งรังเกียจ "แวดวงวิชาการไทยศึกษาสากล" เพียงเพราะแวดวงนี้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เพราะแวดวงนี้ไม่ได้มีแต่ฝรั่ง มีคนเอเชียอื่นๆ รวมทั้งคนไทยอยู่ด้วยมากมาย ผลงานวิชาการก็มีทั้งภาษาไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ฯลฯ สมัยนี้ใครทำงานไทยศึกษานานาชาติแล้วไม่อ่านงานนักวิชาการไทย ยิ่งตกยุคไปกันใหญ่
 
ไม่ว่าจะมองผ่านเรื่องเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ ระบบศาลยุติธรรม หรือวัฒนธรรมด้านต่างๆ ทัศนะที่ว่า "ไทยไม่เคยตกเ็นเมืองขึ้นฝรั่ง" นั้น เป็นความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปหมด
 
นับตั้งแต่อำนาจฝรั่งตะวันตกเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลียนทิศทางไป จากการค้าขายแลกเปลี่ยน ไปเป็นการแข่งขันทางการค้าและการยึดพื้นที่การผลิตวัตถุดิบในศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา พื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคนี้ล้วนได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 
 
ในกรณีของสยาม ไหนจะทำให้ชนชั้นนำเสียอำนาจการผูกขาดการค้าขาย ไหนจะการเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทำให้คนในอานัติต่างชาติหากทำผิดก็ไม่ต้องขึ้นศาลสยาม ไหนจะการเปิดพื้นที่สาธารณะของการถกเถียงผ่านหนังสือพิมพ์และการพิมพ์ ที่ส่วนหนึ่งเฟื่องฟูเพราะสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ว่าทำให้คนนอกอานัติสยามกล้าแสดงความเห็นด้วยภาษาไทยด้วยซ้ำ 
 
ไหนจะการปฏรูปเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมต่างๆ ทางวัฒนธรรมที่กระทบตั้งแต่ในวังไปจนถึงชาวบ้านร้านตลาด เช่น การยกเลิกการหมอบกราบ ไหนจะการนำเข้าวรรณคดีและความคิดจากต่างประเทศของชนชั้นนำเอง และการบริโภคสินค้าจากต่างประเทศอย่างล้นเหลือของชนชั้นนำเอง เหล่านี้ทำให้ต้องประเมินกันให้ดีว่า ตกลง "ไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" จริงหรือ
 
เอาเข้าจริงๆ แทนที่จะเป็นบุญคุณความสามารถพิเศษของใครที่ไหน ที่จริงคนไทยควรขอบคุณฝรั่งเศสกับอังกฤษที่ตกลงกันได้ว่าจะเก็บสยามไว้เป็นรัฐกันชนระหว่างอินโดจีนกับบริติชอินเดีย หลักฐานข้อนี้นักวิชาการสำนัก "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" ไม่เคยเห็นกันหรือไง หรือไม่อยากเห็นก็เลยไม่ค้นคว้า
 
ลึกลงไปกว่านั้น การเลิกทาส การเลิกระบบไพร่ และการสร้างระบบการปกครองส่วนภูมิภาค การสร้างเอกภาพของรัฐสมัยใหม่ผ่านจินตนาการตัวตนบนแผนที่ การสร้างสำนึกความเป็นคนไทยร่วมกัน การลดทอนทำลายความเป็นท้องถิ่น การศึกษาสมัยใหม่ ฯลฯ เหล่านี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำให้ท้องถิ่นและคนกลุ่มต่างๆ กลายเป็นอาณานิคมของกรุงเทพฯ ไม่ต่างจากที่ฝรั่งทำกับประเทศใต้อาณานิคม
 
ล่าสุด ทัศนะแบบ "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" ปรากฏตัวอีกครั้งผ่านข้อเขียนสั้นๆ ของนักหนังสือพิมพ์อาวุโส ที่หลายคนเคยยกย่องว่าเป็นครู แต่ตอนนี้แม้จะเอ่ยชื่อยังไม่อยากเอ่ยถึงให้แปดเปื้อนหน้ากระดาษ (http://www.ryt9.com/s/tpd/1969581)
 
แถมบทความนี้ยังอ้างงานนักมานุษยวิทยาชื่อดังที่เคยเขียนรายงานซึ่งไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ให้สหรัฐอเมริกามาสนับสนุน (ค.ศ. 1943 เผยแพร่โดยคอร์แนลปี 1952 และ 1963) ตลกไหมล่ะ วันนี้สหรัฐฯ (ค.ศ. 2014) ต่อต้านรัฐประหารในไทย แต่สมัยสงครามเย็น สหรัฐฯ สนับสนุนร่วมมือกระทั่งสร้างและอุ้มชูรัฐบาลเผด็จการในไทย เอกสารสมัยที่สหรัฐฯ สนับสนุนประชาธิปไตยกลับไม่อ้าง แต่นักหนังสือพิมพ์สำนัก "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" กลับไปอ้างเอกสารสหรัฐฯ สมัยที่สหรัฐฯ สนับสนุนเผด็จการเมื่อ 71 ปีที่แล้วเพื่อเข้าใจสังคมไทยปัจจุบัน (http://www.nla.gov.au/apps/doview/nla.gen-vn5040081-p.pdf)
 
ผมไม่อยากเสียเวลามากนัก แต่ขอกล่าวถึงงานเขียนของรูธ เบเนดิกต์ชิ้นนี้สั้นๆ ว่า ปัจจุบันที่ใครจะอ่านบทความนี้เพื่อเข้าใจสังคมไทยจริงๆ นั้น น้อยมากแล้ว นักเรียนมานุษยวิทยาเขาอ่านเพื่อเข้าใจวิธีคิดของนักทฤษฎีสมัยนั้นเท่านั้น ทำไมล่ะ ก็เพราะว่า ที่จะบอกว่าคนไทยเป็นแบบใดแบบหนึ่งเหมือนๆ กันไปหมดน่ะ ความคิดแบบนั้นมันล้าหลังงตกขอบไปตั้งแต่ทศวรรษ 1970 แล้ว ถ้าความคิดนี้ยังใช้ได้ ก็จะไม่มีทางเข้าใจนักศึกษาไทยที่ลุกขึ้นมาต่อต้านเผด็จการทหารในทศวรรษ 1970 ได้หรอก ไม่เข้าใจคนเสื้อแดงที่ต่อสู้กับความไม่ยุติธรรมได้หรอก ไม่เข้าใจการต่อต้านการรัฐประหารครั้งล่าสุดได้หรอก
 
นี่ยังไม่นับว่า คนเขียนเอกสารยาวแค่ 50 กว่าหน้านี้แม้จะโด่งดัง แต่ก็ไม่เคยมาทำวิจัยในประเทศไทย แถมเบเนดิกต์ยังหูหนวกส่วนหนึ่ง ข้อนี้รู้กันทั่วว่าเธอทำวิจัยเอกสารเป็นหลัก จึงไม่ได้จะแม้แต่สัมภาษณ์คนไทย นักการทูตไทย ข้อมูลที่ได้จึงเป็นเอกสารที่ผ่านการตีความมาแล้วอีกทีทั้งสิ้น แถมเธอยังเลือกเฉพาะเอกสารที่ช่วยให้สรุปไปได้ทางเดียวทั้งสิ้น ภาพสังคมไทยจึงเป็นก้อนเดียวเหมือนกันไปหมด สมัยนี้การวิจัยแบบนี้ไม่ได้รับการยอมรับกันในแวดวงมานุษยวิทยาแล้ว (นี่ไม่ได้หมายความว่างานของรูธ เบเนดิกต์ชิ้นอื่นๆ อีกมากมายจะไม่ควรศึกษาอีกต่อไป ได้โปรดอย่าสรุปง่ายๆ อย่างนั้น)
 
แนวคิด "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" เป็นคำพูดหลอกตัวเองจริงๆ คำพูดนี้ลดทอนความสลับซับซ้อนของความสัมพันธ์ระหว่างสยาม/ไทยกับโลกสากล ยิ่งกว่านั้น คำพูดนี้ยังเป็นการหลอกประชาชนว่า ที่สยาม/ไทยคงความเป็นเอกราชอยู่ได้นี่ก็เพราะบุญคุณของชนชั้นนำที่สามารถปกป้องประเทศและประชาชนจากฝรั่งได้ ทั้งที่ความจริงมีเงื่อนไขการเมืองระหว่างประเทศมากมายที่รองรับสถานะเฉพาะข้อนี้ของสยาม/ไทย
 
เหนืออื่นใด การผลิตซ้ำคำพูด "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่ง" ยังเป็นการหลอกประชาชนมาทุกยุคทุกสมัย เพื่อให้ชนชั้นนำสามารถคงอำนาจเหลื่อมล้ำที่ทำให้ตัวเองเหนือกว่าประชาชนเอาไว้

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระดับภูมิภาคซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนภูมิภาค สภาองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในแต่ละปี ผมมักไปร่วมสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในคณะในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนประจำอยู่โดยไม่ได้ขาด เสียดายที่ปีนี้มีโอกาสสัมภาษณ์นักเรียนเพียงไม่กี่คน เพราะติดภาระกิจมากมาย แต่ก็ยังดีที่ได้สัมภาษณ์อย่างจริงจังถึง 10 คนด้วยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียชีวิตของเด็กหญิงบนรถไฟทำให้สังคมไทยสะเทือนใจกันไปทั่ว แต่ที่น่าสะเทือนใจไม่น้อยไปกว่าความสูญเสียดังกล่าวคือ การแสดงออกของสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นสังคมอาชญากรรมในหลายๆ ประการ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวัยเยาว์ ผมเริ่มสงสัยง่าย ๆ ว่า ในหัวของแต่ละคนคิดอะไรอยู่ จึงได้ทำให้คนแตกต่างกันหรือเหมือนกัน ผมพยายามค้นหาว่าความรู้ชนิดใดกันที่จะทำให้เข้าใจความคิดในหัวคนได้ แรก ๆ ก็เข้าใจว่าศาสนาจะช่วยให้เข้าใจได้ ต่อมาก็คือจิตวิทยา แต่ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ แล้วมาสนใจประวัติศาสตร์และปรัชญา ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ถูกใจ สุดท้ายผมได้เจอกับวิชาที่น่าสนใจว่าน่าจะช่วยให้เข้าใจทัศนคติได้ดี นั่นก็คือวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมสงสัยว่า บุคคลที่น่านับถือจำนวนมากที่ยินยอมตอบรับหรือเสนอตัวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ในคณะกรรมการต่างๆ มากมายนั้น ทั้งโดยออกนอกหน้าและเสนอตัวว่าขอทำงานอย่างลับๆ พวกเขาเข้าร่วมด้วยหลักการอะไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่า ทำไมคนไทยกลุ่มหนึ่งจึงโกรธนักโกรธหนาที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประณามและต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่พวกเขานั้นเป็นทาสฝรั่งเหล่านี้มากที่สุดในประเทศนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้*ท่านคงไม่ได้ติดตามข่าว ขณะนี้ไม่มีใครพูดถึงมาตรา 7 กันแล้ว ฝ่ายที่จะพยายามตั้งรัฐบาล ทั้ง กปปส. และพรรคพวก และการดำเนินงานของประธานวุฒิสภาเถื่อน (เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้า ทำเกินอำนาจหน้าที่) ในขณะนี้ ไม่ได้สนใจข้อกฎหมายมาตราใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาเพียงพยายามหาเสียงสนับสนุนจากสังคมโดยไม่ใยดีกับเสียงคัดค้าน ไม่ใยดีกับข้อกฎหมาย เพื่อที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของเขาเท่านั้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (8 พค. 57) ผมข้องเกี่ยวอยู่กับภาพยนตร์ในหลายๆ ลักษณะ ตอนเช้า สัมภาษณ์นักศึกษาสอบเข้าปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ น่าแปลกใจที่ผู้เข้าสอบหลายต่อหลายคนสนใจภาพยนตร์ ตกบ่าย ไปชมภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"ตามคำเชิญของ "คุณสืบ" และ "คุณเปีย" ผู้กำกับและตากล้องภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 12 เพิ่งจบสิ้นลงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (22-24 เมษายน ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย) ผมไปประชุมครั้งนี้อย่างเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องเตรียมตัวเสนอบทความตนเองหนึ่งชิ้น และร่วมในห้องเสวนาโต๊ะกลมอีกสองห้อง ทุกรายการอยู่คนละวัน ผมก็เลยต้องพูดทุกวันทั้งสามวัน