Skip to main content

ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน

ที่น่าสนใจคือมีนักเรียนจากหลากหลายสาขามาร่วมเรียน ที่พิเศษที่สุดคือมีนักเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์คนหนึ่งมานั่งเรียน นอกนั้นก็จากภาควิชาต่างๆ เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ภาษาและวรรณคดีเอเชีย  ภาษาศาสตร์ และจากมานุษยวิทยา  

ประสบการณ์ทางภาษาและที่มาที่ไปทางชาติพันธ์ุก็ทำให้ชั้นเรียนยิ่งนี้น่าสนุกเข้าไปอีก มีคนอเมริกันฝรั่งเศส อเมริกันฟินนิช คนแรกพูดฝรั่งเศสและอีกคนพูดฟินนิชได้ มีอเมริกันที่ไม่แสดงชาติพันธ์ุอื่นอยู่สองคน คนหนึ่งรู้ภาษาสเปนอีกคนเรียนภาษาลาวและเคยเป็นครูภาษาอังกฤษ มีคนม้งอเมริกันที่พูดภาษาอังกฤษ ไทย ม้ง จีนกลาง แต้จิ๋ว และภาษาอื่นๆ ที่เขากำลังเรียนอยู่

อีกห้าคนมาจากเอเชีย มีคนจีนแผ่นดินใหญ่สองคนที่พูดภาษาจีนกลางและกวางตุ้ง คนหนึ่งเป็นชาวเกาหลีที่เคยไปอยู่อินโดนีเชีย อีกคนเป็นชาวซาอุดิอาระเบีย น่าจะพูดภาษาอาหรับได้ อีกคนเป็นคนไทยที่กำลังเรียนภาษาพม่า สรุปแล้ววิชานี้ทุกคนเป็น bilingual, trilingual, multilingual กันทั้งสิ้น

วันแรกผมฉายหนังเรื่อง "The Class" (Entre les murs) แล้วสัปดาห์ต่อมามาถกเถียงกัน หนังพูดเรื่องครูสอนภาษาฝรั่งเศสคนหนึ่ง ในโรงเรียนมัธยมปลายที่นักเรียนเป็นคนจากชาติพันธ์ุต่างๆ ที่อพยพมาอยู่ฝรั่งเศส ห้องเรียนนี้จึงเต็มไปด้วยประเด็นทางภาษาทั้งในระดับที่ชัดเจนคือการเรียนภาษาฝรั่งเศส กับในระดับที่ซับซ้อนคือในประสบการณ์และวิธีคิดทางภาษาของนักเรียนกันเองและของนักเรียนกับครูที่แตกต่างกัน

ในห้องเรียนที่ผมสอน ได้ข้อถกเถียงจากหนังเรื่องนี้มากมาย โดยเฉพาะที่มาจากมุมมองของแต่ละคนที่มีประสบการณ์แตกต่างกัน ประเด็นหนึ่งที่หลายคนในห้องรู้สึกร่วมกันคือการมีประสบการณ์เป็นคนต่างถิ่น เป็นชนกลุ่มน้อย ที่ต้องเรียนภาษาของประเทศที่ใช้ภาษาอื่น นักเรียนเกินครึ่งหนึ่งของห้องนี้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง แม้แต่คนอเมริกันเอง สองคนก็เล่าประสบการณ์ในครอบครัว ที่พยายามไม่สอนลูกหลานให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสและฟินนิช เนื่องจากไม่อยากให้เด็กๆ ติดสำเนียง พูดอังกฤษแบบอเมริกันไม่ชัด ซึ่งจะทำให้มีปัญหาการใช้ชีวิตภายหลังได้

มีนักเรียนคนหนึ่งเป็นชาวอเมริกัน เคยเป็นครูสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนในรัฐมิสซูรี สะท้อนให้ฟังนอกห้องเรียนว่าเขามีประสบการณ์ทำนองเดียวกับครูสอนฝรั่งเศสในหนังที่ดู นักเรียนคนอเมริกันภาคใต้ที่ส่วนใหญ่เป็นคนดำ รับไม่ได้กับภาษาอังกฤษที่เขาสอนให้ มีทั้งวิธีการใช้ภาษา ไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่เข้ากันไม่ได้กับชีวิตพวกเขา

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเป็นการเรียนสัปดาห์ที่สาม ผมให้นักเรียนอ่านเกี่ยวกับวิธีการศึกษาภาษาแบบนักภาษาศาสตร์ นักเรียนภาษาศาสตร์สองคนในห้องบอกว่านี่มันง่ายมากสำหรับพวกเขา แต่สำหรับนักเรียนที่ยังไม่ได้เรียนภาษาศาสตร์ บ่นกันอุบว่ายากมาก แต่ในที่สุดห้องเรียนก็กลายเป็นห้องถกเถียงแลกเปลี่ยนกันเรื่องภาษาอย่างสนุกสนาน แต่ละคนนำเอาประสบการณ์การใช้ภาษาของตนมาแลกเปลี่ยนกัน เป็นการเรียนจากประสบการณ์ส่วนตนของแต่ละคนจริงๆ

ผมเปิดคลิปจากยูทูปชื่อ "Chewbacca Sound Tutorial" เพื่ออธิบายความแตกต่างระหว่าง phonetics กับ phonemics คลิปนี้เป็นตัวอย่างของ phonetics คือการศึกษาการออกเสียงของชิวเบกกา ตัวละครหน้าขนในสตาร์วอร์ (ยังดีที่คนรุ่นหลานในห้องดูสตาร์วอร์กันบ้าง) ส่วน phonemics เปิดประสบการณ์การคิดเกี่ยวกับภาษาของพวกเขาหลายคนมาก  

เช่นการที่เสียงสูงต่ำไม่มีความหมายในภาษาทางยุโรปแต่มันมีความหมายมากในภาษาจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักเรียนอเมริกันคนหนึ่งงงมากที่ทำไมเสียงที่แตกต่างกันในภาษาอังกฤษของเขา มันกลับไม่ได้หมายถึงเสียงที่แตกต่างกันในสำนึกของคนอเมริกัน แต่เธอก็เล่าว่า เธอต้องเคยเข้าคอร์สฝึกออกเสียงอักษร "r" ตามแบบอเมริกัน เพราะตอนเด็กๆ เธอออกเสียงเป็น "w" นักเรียนอเมริกันคนหนึ่งตั้งคำถามน่าสนใจว่า เสียงสูง-ต่ำในภาษาอังกฤษก็มีความหมายไม่ใช่หรือ นักเรียนภาษาศาสตร์อเมริกันตอบว่า เขาเรียกว่าเป็นความหมายทาง semantics อยู่ในกระบวนการการใช้ภาษา ไม่ใช่ความหมายที่ฝังอยู่ในตัวคำศัพท์เองเลยแบบภาษาในเอเชีย

อีกคลิปที่เปิดแล้วนักเรียนชอบมากคือ "History of English in Ten Munites" ที่เล่าพัฒนาการของภาษาอังกฤษ เมื่อเปิดคลิปนี้ดูแล้วถกเถียงเรื่องการแบ่งแยกว่าภาษาอะไรเป็นภาษาอะไร หรือความเป็น "ตัวตน" ที่ตายตัวของภาษา การระบุขอบเขตที่ชัดเจนของภาษาราวกับว่าภาษาจะไม่เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกต่างๆ โดยเชื่อมโยงกับบทความเรื่อง "Areal Linguistics and Maninland Southeast Asia" ที่เสนอให้ศึกษาความเชื่อมโยงและการหยิบยืมติดต่อกันระหว่างภาษาต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ทำให้เราไม่สามารถจะแยกภาษาต่างๆ ในภูมิภาคนี้ออกจากกันได้ง่ายๆ  

การแลกเปลี่ยนประเด็นนี้ในห้องเชื่อมโยงกับที่นักเรียนคนหนึ่งถามว่า ในซีกโลกอื่นมีการสอนภาษาศาสตร์ที่แตกต่างกันไปจากแบบตะวันตกไหม ตัวอย่างเรื่อง "ภาษาจีน" เป็นตัวอย่างที่ดีข้อหนึ่งที่รัฐพยายามกลืนกลายอัตลักษณ์ของภาษาให้ภาษาที่แตกต่างกันจำนวนมาก กลายเป็น "ภาษาจีน" ไปหมด ประเด็นนี้ทำให้นักศึกษาจีนที่เติบโตในปักกิ่งออกมาบอกหลังห้องเรียนเลิกว่า เธอเพิ่งรู้ว่าภาษาจีนอื่นๆ นั้นไม่ใช่แค่ "สำเนียง" แต่มันเป็นคนละภาษาเลยทีเดียว  

ข้อสรุปที่สำคัญข้อหนึ่งที่ได้คือ ตกลงเราจะสามารถใช้อะไรเป็นเกณฑ์แบ่งว่าภาษาอะไรแตกต่างจากภาษาอะไร หรือที่สุดแล้วเราแยกภาษาที่อยู่ใกล้ๆ กันออกจากกันไม่ได้ แต่ก็ไม่ควรทึกทักรวมเอาภาษาต่างๆ เข้ามาไว้ด้วยกันแบบ "ภาษาจีน" ได้ง่ายๆ

ชั้นเรียนนี้น่าจะสนุกยิ่งขึ้นเรื่อยๆ หากมีอะไรน่าสนใจในสัปดาห์ต่อไปจะมาเล่าอีกครับ

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง