Skip to main content

TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 

ต้องเท้าความกลับไปนิดหนึ่งว่า บทเรียนหนึ่งที่เป็นประเด็นสำคัญของมานุษยวิทยาภาษาคือ การศึกษาว่าภาษามีส่วนกำหนดความคิด การกระทำ และวัฒนธรรมได้หรือไม่ ข้อเสนอนี้ย้อนกลับไปได้ไกลมาก ไกลถึงนักภาษาศาสตร์รุ่นคลาสสิคอย่างฮุมโบล์ดต์ (F. W. H. Alexander von Humboldt,1769-1859)  

ความคิดนี้มาโด่งดังด้วยลูกศิษย์ของฟรานซ์ โบแอส คือเอ็ดเวิร์ด ซาเปียร์ ที่ส่งอิทธิพลให้เบนจามิน ลี วอร์ฟคิดเรื่องนี้ต่อ กลายมาเป็นแนวคิด "สัมพัทธ์นิยมทางภาษา" (linguistic relativism) ในปัจจุบัน ความคิดนี้แพร่หลายมาก มีการศึกษากระจายออกไปมากมาย เชื่อมโยงกับเรื่อง cognitive science คำศัพท์เรียกสี ethnoscience พร้อมๆ กับมีข้อถกเถียงที่ตอบโต้กับแนวคิดนี้มากมายว่าภาษากับความคิดและการกระทำสัมพันธ์กันแค่ไหน อย่างไร เฉพาะแค่จะอ่านเรื่องนี้กันให้แตกฉาน ก็ต้องใช้เวลาทั้งภาคการศึกษาทีเดียว 

กลับมาที่คีท เชน เขาเสนอว่า ภาษากับการออมน่าจะสัมพันธ์กัน เขาสังเกตเห็นว่า ประเทศที่มีการออมสูงๆ นั้น มักเ็นประเทศที่ใช้ภาษาที่ไม่มีการระบุเวลาในอนาคตชัดเจน (เชนเรียกว่า futureless language)เช่น ภาษาเอเชียส่วนใหญ่ ภาษาเยอรมัน ฯลฯ ส่วนภาษาอย่างภาษาอังกฤษ การจะพูดถึงอดีต ปัจจุบัน อนาคตจะต้องมีการระบุอย่างชัดเจน แล้วเขาก็เชื่อมโยงเข้าสู่พฤติกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการคิดถึงอนาคตด้วย และก็พบแบบแผนที่เขาเชื่อว่า คนพูดภาษาที่ไม่ต้องระบุอนาคตจะคำนึงถึงพฤติกรรมที่ส่งผลต่ออนาคตมากกว่าคนพูดภาษาที่ระบุอนาคตชัดเจน 

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ผมก็เลยเอาคลิปเรื่องภาษากับการออมนี้ไปเปิดให้นักศึกษาถกกันในชั้น นักศึกษาวิจารณ์คลิปนี้กันยับเยิน แถมยังช่วยอธิบายสิ่งที่เชนไม่ได้อธิบายในคลิปนี้ด้วย 

นักเรียนภาษาและวรรณคดีเอเชียที่ก็เป็นชาวจีน (เหมือนคีท เชน) อธิบายคำถามที่ผมสารภาพกับนักเรียนในชั้นว่า ผมไม่เข้าใจทำไมคนภาษาที่ไม่ระบุอนาคตจึงคิดถึงอนาคตมากกว่าคนพูดภาษาที่ระบุอนาคต นักเรียนคนนี้ตอบว่า น่าจะเพราะเมื่อคิดถึงอนาคต ก็คิดว่ามันเป็นเรื่องที่จำเกิดในอนาคต ก็เลยยังไม่กังวลว่ามันจะมาถึงอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าไม่ระบุอนาคต ก็จะไม่คิดว่าอนาคตเป็นเรื่องไกลตัว 

นักเรียนเอกภาษาศาสตร์ที่พูดภาษาฟินนิชที่บ้านบอกว่า แค่บอกว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่เป็น future language ก็ผิดแล้ว เพราะการพูดถึงอนาคตในภาษาอังกฤษ ไม่ได้ต่างจากภาษาที่ไม่มี future tense แท้ๆ อื่นๆ คือต้องเพิ่มคำเข้าไปในประโยคจึงจะทำให้เป็น future tense ไม่ใช่ว่าจะสามารถเปลี่ยน tense ได้จากในตัวคำกิริยาเองเลยเมื่อไหร่ 

นักเรียนจีนสองคนและนักเรียนเกาหลีที่เรียนเศรษฐศาสตร์ตั้งคำถามว่า เกาหลีเป็นตัวอย่างหนึ่งของคีท เชน ที่อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการออมสูง แต่ถ้าจะจัดภาษาเกาหลีแบบที่คีท เชนจัดประเภท ก็จะต้องเป็นภาษา futureless แล้วทำไมจึงมีการออมสูงมาก 

นักเรียนหลายคนจึงเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับการออมเป็น coincidence คือแค่พ้องต้องกัน หรือมี correlation กันจริง กันแน่ คือแค่ข้อมูลตรงกัน แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันหรือเปล่า 

นักเรียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาที่เป็นลูกครึ่งฝรั่งเศสเห็นว่า ในแต่ละประเทศที่คีท เชนยกมาในแท่งกราฟว่าเป็นประเทศที่มีการออมสูงหรือต่ำนั้น ก็มีความหลากหลายของชนชั้นทางเศรษฐกิจอยู่ คนมีรายได้มากย่อมออมได้มาก ประเทศกรีซนั้นเห็นได้ชัดว่ายากจนในยุโรป ก็ย่อมมีการออมต่ำ ถ้าในประเทศเดียวกันพูดภาษาเดียวกันยังออมไม่เท่ากัน แล้วภาษาจะเกี่ยวกับการออมได้อย่างไร 

นักเรียนหลายคนยังเห็นว่า มันเป็นเรื่องของวัฒนธรรมการออมด้วย แม้แต่ภาษาต่างกัน ก็อาจออมสูงหรือต่ำต่างกันได้ หรือถ้าภาษาเดียวกัน แต่คนมีวัฒนธรรมการบริโภคต่างกัน ก็มีการออมต่างกัน 

น่าจะส่งข้อวิจารณ์เหล่านี้กลับไปให้คีท เชนกับทีมวิจัยนะครับ จะได้ไม่เปลืองเงินทำวิจัยยืนยันความเชื่อตัวเองต่อไป 

แต่ที่สำคัญคือ การเรียนที่ดีก็ต้องเป็นแบบนี้ครับ คือหาเหตุผลและข้อมูลมาโต้เถียงกัน ไม่ใช่ท่องจำและเชื่อฟังอย่างงมงาย คงอีกนานที่การศึกษาไทยจะเจริญ เพราะเรายังท่องจำและเชื่อฟังผู้ใหญ่ ผู้นำ คนมีอำนาจ และคนที่เชื่อว่าดี กันอย่างงมงายอยู่เลย

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันสุดท้ายของการเดินทางในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม คณะเราเดินทางกลับฮานอย แต่เส้นทางที่กลับผ่านดินแดนในตำนานสำคัญที่ผมไม่เคยแวะมาก่อน คือศาลเจ้าหุ่งม์เวือง (Đền Hùng Vương) ที่เชื่อมโยงกับตำนานไข่ร้อยฟองและกำเนิดของกลุ่มชาติพันธ์ุไต
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเมืองไลและเมืองซอมา ผมกับเพื่อนร่วมทางมุ่งหน้าไปจุดหมายต่อไปคือไปพักที่เมืองถาน (Than Uyên) เมืองสำคัญของชาวไตดำอีกเมืองหนึ่ง เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้เดินทางต่อไปยังเมืองลอ (Nghĩa Lộ) โดยผ่านนาขั้นบันไดในถิ่นของชาวม้งที่อำเภอ หมู่ กัง จ่าย (Mù Căng Chải) และถิ่นฐานชาวเย้าที่ทำนา ณ เมืองลุง (Tú Lệ) แล้วพักค้างคืนที่เอียน บ๋าย (Yên Bái) ก่อนมุ่งหน้าสู่ฮานอยในอีกวันหนึ่ง ตลอดเส้นทางนี้ผมใจหายกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลอดการเดินทาง สิ่งหนึ่งที่หนักหนาเสมอคือการดื่มกินกับคนพื้นเมือง ในการเดินทางครั้งนี้ มื้อที่แสนสาหัสที่สุดคือมื้อที่ต้องทั้งประคองตัวเอง ทั้งไม่ให้เสียน้ำใจ และทั้งไม่ให้เพื่อนร่วมทางเหน็ดเหนื่อยเกินกว่าจะร่วมทางกันต่อไปได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองไลเป็นเมืองสำคัญอย่างไรในประวัติศาสตร์เวียดนาม สยาม และฝรั่งเศส คงเป็นคำถามที่ไม่มีใครสนใจนัก เพราะเมืองไลปัจจุบันกำลังกลายเป็นอดีตที่ถูกกลบเกลื่อนลบเลือนไปจนเกือบหมดสิ้น ทั้งจากน้ำเหนือเขื่อน และจากการจัดการปกครองในปัจจุบัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองแถงมนดั่งขอบกระด้ง เมืองคดโค้งเยี่ยงเขาควาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสักเกือบ 15 ปีก่อน ผมไปเสาะหาบ้านนาน้อยอ้อยหนูที่เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) กับอาจารย์คำจอง นักชาติพันธ์ุวิทยาชาวไตดำ/เวียดนาม 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมืองลา (Sơn La) ไม่ใช่เมืองท่องเที่ยว แทบไม่มีใครรู้จักเมืองลาแม้ว่าเมืองนี้จะมีประวัติศาสตร์สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเดียนเบียนฟู เนื่องจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสใช้เป็นฐานในการปกครองเมืองคนไต แต่เดียนเบียนฟูโด่งดังขึ้นมาจากการที่ฝรั่งเศสแพ้พวกคอมมิวนิสต์เวียดนามอย่างราบคาบ ทำให้คนไม่ได้ทันสนใจว่า ก่อนหน้านั้นฝรั่งเศสปกครองเมืองคนไตอย่างไร แล้วมีฐานที่มั่นสำคัญอยู่ที่ไหนก่อนที่จะไปอยู่ที่เมืองแถงหรือเดียนเบียนฟู
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาเมืองมุน (Mai Châu, Hoà Bình) ครั้งแรกเมื่อปี 1998 มาเป็นผู้ช่วยวิจัย ตอนนั้นมาเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวมากแล้วเตรียมตัวไม่พอ ยังไม่รู้จักความหนาว เมื่อมาถึงที่นี่ ได้แต่นั่งผิงไฟ ขณะนั้นเมืองมุนเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวมาพัก มีโฮมสเตย์อยู่สัก 5-6 หลัง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุนมหาวิทยาลัยเกียวโตนี่ดีกว่าที่ผมคิด เดิมทีแค่รู้ว่าได้ทุนมาเพื่อทำวิจัย ซึ่งก็จะทำอะไรก็ทำไปเถอะ ตามข้อเสนอขอทุนที่เขียนไปไม่ถึงหนึ่งหน้ากระดาษ งานที่รับผิดชอบคือเสนองานสักสองครั้ง แล้วพยายามพิมพ์อะไรออกมาก็โอเคแล้ว นี่จึงถือว่าเป็นทุนชั้นยอด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมเดินทางด้วยรถไฟชินคันเซนจากเกียวโตไปโตเกียว มีเรื่องราวมากมายที่น่าบันทึกไว้ ณ ที่นี่ แต่เบื้องต้นขอเล่าเพียงตลาด Tsukiji ก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตกใจเหมือนกันที่ Divas Cafe จะเลิกออกอากาศแล้ว อยากบันทึกสั้นๆ ว่าผมดีใจ ภูมิใจ ปลื้มใจ ที่เคยได้เป็นแขกในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เป็นรายการที่ไปคุยด้วยสนุกมาก พิธีกรรุกเร้ามาก เวลาสั้นจนต้องปรับจังหวะการพูดให้เร็วมาก แถมบางครั้งยังต้องหาจังหวะแย่งพิธีกรพูดอีก