Skip to main content

เมื่อวันส่งท้ายปีเก่าพาแขกชาวไทยคนหนึ่งไปเยี่ยมชมภาควิชามานุษยวิทยาของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ก็เลยทำให้ได้รู้จักอีก 2 ส่วนของภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่ว่ามีความจริงจังลึกซึ้งขนาดไหน ทั้งๆ ที่ก็ได้เคยเรียนที่นี่มา และได้กลับมาสอนหนังสือที่นี่ แต่ก็ไม่เคยรู้จักที่นี่มากเท่าวันนี้
 

วิชามานุษยวิทยาแบบอเมริกันมี 4 สาขาใหญ่ สาขาหนึ่งศึกษาวัฒนธรรม สาขาหนึ่งศึกษาภาษา ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินมีสาขาแรก ส่วนสาขาที่สองส่วนหนึ่งกลายเป็นหน้าที่ต่างหากของภาควิชาภาษาศาสตร์ มีวิชาที่ผมสอนเทอมที่แล้วคือ "ภาษาและวัฒนธรรม" ที่กำลังจะกลายเป็นวิชาบังคับให้นักเรียนภาษาได้เรียนทางด้านมานุษยวิทยาภาษาด้วย ส่วนอีก 2 สาขาที่ยังคงเป็นจุดเด่นของภาควิชานี้ที่นี่คือ สาขาโบราณคดีและสาขามานุษยวิทยาชีวภาพ หรือที่เดิมเรียกว่ามานุษยวิทยากายภาพ

เมื่อครั้งที่ผมเรียนที่นี่ร่วม 10 ปีก่อน ได้เรียนวิชาโบราณคดีเพียงวิชาเดียว ส่วนวิชามานุษยวิทยาชีวภาพไม่ได้เรียน แต่ที่จริงนักศึกษาไม่ว่าจะระดับตรี โท หรือเอก ก็สามารถเลือกเรียนวิชาข้ามทั้ง 3 สาขาได้ ได้มากจนกระทั่งบางคนอาจจบโดยได้รับสองปริญญา เช่นนักเรียนผมคนหนึ่ง เขาศึกษามานุษยวิทยาชีวภาพควบกับมานุษยวิทยาวัฒนธรรม

วันนี้ได้มาพบกับอาจารย์ท่านหนึ่ง ชื่อแดเนียล เบ็นเด็น (Danielle M. Benden) อายุยังน้อยมาก เธอเป็นทั้งอาจารย์ผู้บรรยายและเป็นภัณฑารักษ์ประจำภาควิชามานุษยวิทยาเพียงคนเดียว แต่งานหลักของเธอนั้นมากมายมหาศาล ตั้งแต่จัดระบบบรรดาโบราณวัตถุและกระดูกทั้งของจริงและของจำลอง ตลอดจนจัดการเรียนการสอน และทำโครงการจัดแสดงโบราณวัตถุและกระดูกต่างๆ ทางด้านโบราณคดีและมานุษยวิทยาชีวภาพ

เบ็นเด็นเล่าว่า ภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่เริ่มเก็บโบราณวัตถุและกระดูกมาตั้งแต่ค.ศ. 1897 จนขณะนี้ก็ร้อยกว่าปีแล้ว โบราณวัตถุเหล่านี้จึงมีจำนวนมหาศาล เฉพาะห้องเก็บของเหล่านี้ก็วันนี้ผมก็นับได้ 4 ห้องเล็กกับอีก 1 ห้องใหญ่ๆ แล้ว และที่จริงผมรู้ว่ายังมีข้าวของพวกนี้ซุกซ่อนอยู่ในชั้นเก็บของห้องอาจารย์อีกหลายท่าน และยังมีห้องเรียนที่เป็นห้องทดลองในตัวที่เพิ่งสร้างอย่างทันสมัยอีกอย่างน้อยเท่าที่เห็นวันนี้ 4 ห้อง โดยรวมแล้วจึงได้เห็นว่าภาควิชาได้ลงทุนอย่างมหาศาลกับการศึกษาทางด้านนี้

ผมก็เลยตื่นตาตื่นใจไปกับทั้งของที่ภาควิชาเก็บไว้และวิธีการจัดการดูแลและการทุนเทของภาควิชา เนื่องจากภาควิชานี้ไม่ได้มีพิพิธภัณฑ์ ของพวกนี้จึงเก็บไว้ใช้ในเพื่อการเรียนการสอนและจัดแสดงชั่วคราวเท่านั้น คนทั่วไปจึงมีโอกาสน้อยมากที่จะได้เห็น 

โบราณวัตถุที่เบ็นเด็นภัณฑารักษ์ผู้พาชมอยากอวดในวันนี้มีมากมาย ที่เด่นๆ ก็เช่นบรรดาใบมีดหินกระเทาะขนาดเล็ก ใหญ่ หัวขวานหิน หัวธนูที่ทำจากหินแก้วใส เหล่านี้มาจากแทบทุกทวีป เครื่องปั้นดินเผาอายุตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักพันปีจากทั่วโลก ชิ้นพิเศษๆ ก็เป็นเศษเครื่องปั้นดินเผาของมนุษย์ยุคแรกเริ่ม นอกจากนั้นก็พวกกระดูกและกะโหลกมนุษย์โบราณและมนุษย์วานร ของเหล่านี้เก็บสะสมมานานโดยคณาจารย์ที่สอนภาควิชานี้มาก่อน และทั้งที่ได้มาจากแหล่งโบราณคดีต่างๆ 

ที่ผมเพิ่งทราบเป็นความรู้ใหม่คือ บรรดากระดูกและกะโหลกมนุษย์โบราณและมนุษย์วานรนั้น แม้ส่วนมากนักเรียนจะได้เรียนจากของจำลองทำเป็นวัสดุเรซิน ก็จะต้องเป็นการจำลองทีละชิ้นมาจากกะโหลกและกระดูกของจริงต้นฉบับที่บางชิ้นเก็บไว้ในสถาบันการศึกษาในทวีปต่างๆ ทั่วโลก เช่นบางชิ้นจำลองมาจากสถาบันวิชาการในแอฟริกา วิธีนี้จึงทำให้สามารถได้รายละเอียดของร่องรอยต่างๆ อย่างครบถ้วน เสมือนศึกษาจากกระดูก กะโหลกจริงกันเลยทีเดียว

นอกจากนั้นภัณฑารักษ์ท่านยังเล่าถึงโครงการที่ท่านกำลังจะจัดแสดงนิทรรศการพิเศษ ขนาดเล็ก จะใช้วัตถุจัดแสดงราวๆ ไม่เกิน 100 ชิ้น เรื่องโบราณคดีของวิสคอนซิน ซึ่งแน่นอนว่านี่เป็นความเชี่ยวชาญหนึ่งของภาควิชานี้ ที่ก็มีนักโบราณคดีที่ศึกษาเรื่องนี้เพียง 2 คนเท่านั้น แต่กระบวนการจัดนิทรรศการนี้นั้นต้องใช้เวลาเตรียมการเป็นปี เมื่อร่างโครงการแล้วก็ให้นักศึกษานำไปเสนอให้ชาวบ้านในชุมชนชาวอเมริกันพื้นเมืองได้วิจารณ์เสนอแนะความเห็น และก็นำมาสู่การพัฒนาเนื้อหาการจัดแสดง นิทรรศการนี้จวนจะนำเสนอแล้ว ปลายเดือนหน้านี้หากมีโอกาสจะไปชมมาเล่าให้อ่านกันครับ

ของอีกส่วนหนึ่งที่ภัณฑารักษ์ตื่นเต้นอยากอวดนักวิชาการจากไทยสองคนวันนี้คือ ชุดเครื่องแต่งกายพร้อมเครื่องประดับศีรษะของตัวละครเรื่องสังข์ทอง ซึ่งเป็นของเก่าที่นักมานุษยวิทยาชื่อดังคือเจนและลูเซียน แฮงส์ (Jane and Lucian Hanks) ที่มาศึกษาวิจัยในประเทศไทยตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง บริจาคไว้ ความเป็นมาเป็นอย่างไรไม่แน่ชัด แต่เมื่อได้เห็นสภาพหน้ากากเจ้าเงาะ ชฎานางรจนา และเสื้อชุดละครบางส่วนแล้ว ก็น่าประทับใจกับการเก็บรักษาข้าวของเป้นอย่างดีของที่นี่

น่าเสียดายที่ก่อนหน้านี้ไม่ได้เคยรู้จักด้านนี้ของภาควิชามานุษยวิทยาที่นี่มากนัก จึงไม่ได้ชวนให้ผมอยากศึกษาความรู้ด้านนี้มากเท่าที่ควร แต่ผมก็หวังที่จะได้บอกกล่าวกับคณาจารย์และนักศึกษาที่นี่ว่า พวกเธอมีของดีอีกมากมายที่ควรนำเสนอให้อย่างน้อยนักศึกษาต่างสาขาในภาควิชาเดียวกันได้รับรู้

ส่วนนักวิชาการไทยเองก็หนีไม่พ้นที่จะสะท้อนใจว่า การเรียนการสอนด้านนี้ในประเทศไทยทำไมจึงดูไม่น่าตื่นเต้น ไม่น่าสนุกเท่ากับที่ภัณฑารักษ์วัยเยาว์ท่านนี้ชี้ชวนให้ดูให้ชมให้เรียนรู้ก็ไม่ทราบ ทำไมบรรดาข้าวของโบราณในประเทศไทยมันจึงศักดิ์สิทธิ์เกินเอื้อมจนผู้สนใจไม่สามารถหยิบจับลูบคลำได้ก็ไม่ทราบ ทำไมความรู้โบราณและพิพิธภัณฑ์จึงมักไม่ค่อยประสานเชื่อมโยงกับผู้คนและชุมชนมากนักก็ไม่ทราบ

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์