Skip to main content

วันนี้ (เวลาในประเทศไทย) เป็นวันเด็กในประเทศไทย ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ผมเดินทางไปดูกิจกรรมต่างๆ ในประเทศซึ่งผมพำนักอยู่ขณะนี้จัดด้วยความมุ่งหวังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ แล้วก็ให้รู้สึกสะท้อนใจแล้วสงสัยว่า เด็กไทยเติบโตมากับอะไร คุณค่าอะไรที่เราสอนกัน


นึกย้อนถึงตนเองวัยเด็ก ผมจำแทบไม่ได้แล้วว่าพ่อแม่หรือน้าๆ ที่ชอบพาผมกับพี่สาวเที่ยว พาพวกเราไปไหน จำไม่ได้ว่าได้ไปเที่ยวชมพวกอาวุธยุทโธปกรณ์หรือไม่ อาจมีบ้าง แต่ไม่ใช่สิ่งที่จำฝังใจอะไร ผมไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเด็ก ก็แค่สังเกตจากตนเองแล้วคิดว่า ความฝันของเด็กๆ คงพัฒนาไปเรื่อยๆ ผมคิดว่าสิ่งที่ปลูกฝังกันตอนเด็กๆ ก็อาจจะไม่ได้ฝังใจเด็กมากนักหรอก เมื่อเด็กโตแล้วก็เปลี่ยนใจเลิกเชื่อตามที่ถูกปลูกฝังมาได้

แต่เมื่อได้มาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ต่างไปมากอย่างทุกวันนี้ และได้มีเวลา มีสายตาพอที่จะสังเกตสังกาชีวิตทางสังคมรอบตัวมากขึ้น ผมก็รู้สึกขึ้นมาว่า บางทีผมอาจจะเป็นคนส่วนน้อยที่สอนไม่จำ ไม่เชื่อสิ่งที่ผู้ใหญ่ปลูกฝังอยู่อย่างนั้นง่ายๆ ผมคงขี้สงสัยมากไป ดูอย่างเพื่อนผมส่วนใหญ่สิ ก็ไม่ได้เป็นแบบผม ถ้าอย่างนั้น การจัดวางสภาพแวดล้อมสำหรับการเรียนรู้ และการปลูกฝังค่านิยมสำหรับเด็ก ก็มีความหมายอย่างยิ่งจริงๆ นั่นแหละ เพราะคนส่วนใหญ่เติบโตมาตามกรอบของระบบคุณค่าที่สังคมสั่งสอนจริงๆ

ในสหรัฐอเมริกา อย่างน้อยเท่าที่ผมได้สัมผัส การปลูกฝังค่านิยมเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ประชาธิปไตย มีสูงมาก โดยเฉพาะในสถานที่สาธารณะอย่างพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมักออกแบบให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้ร่วมกับผู้ใหญ่ ผมเห็นค่านิยมเหล่านี้บรรจุอยู่เต็มไปหมด เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชิคาโก มีห้องหนึ่งจัดแสดงเรื่องเสรีภาพโดยเฉพาะเลย พูดเรื่องสิทธิแรงงาน สิทธิสตรีที่เริ่มจากการเรียกร้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 (ประเด็นนี้มักพบในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ที่นี่) สิทธิชาวเอเชียน และพูดเรื่องการค้าทาสและการเหยียดผิว

นิทรรศการหมุนเวียนเรื่อง ปี 1968 ก็นำเสนอค่านิยมแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยอย่างชัดเจน นับตั้งแต่ก้าวแรกที่เดินเข้าไปเลย เด็กๆ จะได้เข้าใจถึงปัญหาของสงครามเวียดนาม ปัญหาการละเมิดสิทธิคนผิวสี ประเด็นเรื่องเสรีภาพทางเพศ และเสรีภาพในการแสดงออกไม่ว่าจะทางร่างกายหรือการแสดงความคิดเห็น 

ในพิพิธภัณฑ์เด็กของเมืองแมดิสันเป็นอีกแหล่งปลูกฝังคุณค่าอย่างแนบเนียน แล้วเด็กก็ชอบมากด้วย นี่เป็นพิพิธภัณฑ์สำหรับเด็กอย่างแท้จริง เด็กๆ มาพร้อมกับพ่อแม่ ครอบครัว แล้วเล่นๆๆ บางทีก็เล่นกับพ่อแม่ผู้ปกครอง บางทีก็เล่นกันเองเต็มไปหมด เขาออกแบบให้เด็กเรียนรู้จากการเล่นในบริบทต่างๆ ตามประเด็นใหญ่ๆ หลักๆ คือ ห้องธรรมชาติ ก็ออกแบบสภาพแวดล้อมให้เด็กทั้งได้เห็นและสัมผัสกับความเป็นธรรมชาติ ห้องวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี เขาก็ออกแบบให้เด็กได้เข้าใจวิทยาศาสตร์และเล่นกับเทคโนโลยีได้ง่ายๆ และห้องศิลปะกับการสร้างสรรค์ เขาก็ให้เด็กทำกิจกรรมหลายๆ อย่าง ตั้งแต่ตัดกระดาษ วาดรูป ปั้นดิน ทำเซรามิก

แต่ก็มีบางมุมเล็กๆ ที่น่าสนใจคือชั้น "ตุ๊กตาประชาธิปไตย" (Dolls for Democracy) เขานำเอาบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของสหรัฐอเมริกามาแสดง มีทั้งคนดำและคนขาว ที่จำได้แน่ๆ คือมีมาณืติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ผู้ต่อสู้เรียกร้องสิทธิคนดำจนถูกสังหารในปี 1968 ยินเคียงข้างตุ๊กตาจอนห์ เอฟ เคเนดีอยู่ด้วย

 


 

ผมไม่ได้บอกว่าสหรัฐอเมริกาขณะนี้ปลอด racism, socio-economic class discrimination และ religious discrimination แล้ว เพราะแม้จะสอนถึงความเลวร้ายของสงครามเวียดนาม แต่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็หาเหตุที่จะก่อสงครามในประเทศอื่นมาได้เสมอจนทุกวันนี้ แม้จะสอนให้เคารพคนต่างสีผิว แต่เมื่อเร็วๆ นี้ตำรวจก็ยิงคนผิวดำที่ไม่มีอาวุธ แม้จะเคารพเสรีภาพทางความเห็นและการแสดงออก แต่การจ้องจับผิดประชาชนผ่านการดักฟังโทรศัพท์ก็ยังมีอยู่

รวมทั้งเพื่อน "ขาวๆ" ของผมหลายคนที่การศึกษาสูง ก็ยังมีความคิดแบ่งแยกและดูถูกคนที่สีผิว ฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษา และศาสนาอยู่ดี ความคิดแบบนี้ยังมีมากจนกระทั่ง หลายครั้งผมอึดอัดที่จะคุยกับเพื่อนๆ แล้วต้องเปลี่ยนเรื่องสนทนาไปเลยก็มี 

ถึงกระนั้นก็ตาม ค่านิยมเรื่องสิทธิ เสรีภาพ สันติภาพ และประชาธิปไตย ก็เป็นสิ่งที่ได้รับการปลูกฝังอย่างเข้มข้น โดยนัยแล้ว นี่คือการที่สาธารณชนอเมริกันพยายามที่จะปลูกฝังให้สังคมเขาเดินไปตามทิศทางนี้ นี่คือสิ่งที่สังคมเขาต้องการเป็นในอนาคต นี่คือสิ่งที่เขาพยายามใช้เพื่อต่อสู้กับชุดความคิดเหยียดคนไม่เท่ากัน ต่อสู้กับชุดความคิดที่ยอมให้การละเมิดสิทธิถูกเพิกเฉยที่ยังดำเนินไปในสังคม 

เด็กที่เที่ยววันเด็กในประเทศไทยวันพรุ่งนี้จะเรียนรู้อะไร หากผู้ใหญ่ไปเที่ยวงานวันเด็กบ้างก็คงจะเข้าใจได้ไม่ยาก แต่ผู้ใหญ่ก็ควรถามตนเองด้วยว่า คุณค่าเหล่านั้นหรือคือคุณค่าที่เราอยากปลูกฝังให้เด็กไทย มีทางเลือกอื่นไหมที่เราจะปลูกฝังคุณค่าอื่นๆ หากไม่มี คุณจะอธิบายเด็กๆ อย่างไร คุณจะต่อสู้กับคุณค่าที่เด็กไทยถูกยัดเยียดอยู่ทุกวันนี้อย่างไร

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระดับภูมิภาคซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนภูมิภาค สภาองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในแต่ละปี ผมมักไปร่วมสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในคณะในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนประจำอยู่โดยไม่ได้ขาด เสียดายที่ปีนี้มีโอกาสสัมภาษณ์นักเรียนเพียงไม่กี่คน เพราะติดภาระกิจมากมาย แต่ก็ยังดีที่ได้สัมภาษณ์อย่างจริงจังถึง 10 คนด้วยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียชีวิตของเด็กหญิงบนรถไฟทำให้สังคมไทยสะเทือนใจกันไปทั่ว แต่ที่น่าสะเทือนใจไม่น้อยไปกว่าความสูญเสียดังกล่าวคือ การแสดงออกของสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นสังคมอาชญากรรมในหลายๆ ประการ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวัยเยาว์ ผมเริ่มสงสัยง่าย ๆ ว่า ในหัวของแต่ละคนคิดอะไรอยู่ จึงได้ทำให้คนแตกต่างกันหรือเหมือนกัน ผมพยายามค้นหาว่าความรู้ชนิดใดกันที่จะทำให้เข้าใจความคิดในหัวคนได้ แรก ๆ ก็เข้าใจว่าศาสนาจะช่วยให้เข้าใจได้ ต่อมาก็คือจิตวิทยา แต่ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ แล้วมาสนใจประวัติศาสตร์และปรัชญา ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ถูกใจ สุดท้ายผมได้เจอกับวิชาที่น่าสนใจว่าน่าจะช่วยให้เข้าใจทัศนคติได้ดี นั่นก็คือวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมสงสัยว่า บุคคลที่น่านับถือจำนวนมากที่ยินยอมตอบรับหรือเสนอตัวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ในคณะกรรมการต่างๆ มากมายนั้น ทั้งโดยออกนอกหน้าและเสนอตัวว่าขอทำงานอย่างลับๆ พวกเขาเข้าร่วมด้วยหลักการอะไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่า ทำไมคนไทยกลุ่มหนึ่งจึงโกรธนักโกรธหนาที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประณามและต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่พวกเขานั้นเป็นทาสฝรั่งเหล่านี้มากที่สุดในประเทศนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้*ท่านคงไม่ได้ติดตามข่าว ขณะนี้ไม่มีใครพูดถึงมาตรา 7 กันแล้ว ฝ่ายที่จะพยายามตั้งรัฐบาล ทั้ง กปปส. และพรรคพวก และการดำเนินงานของประธานวุฒิสภาเถื่อน (เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้า ทำเกินอำนาจหน้าที่) ในขณะนี้ ไม่ได้สนใจข้อกฎหมายมาตราใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาเพียงพยายามหาเสียงสนับสนุนจากสังคมโดยไม่ใยดีกับเสียงคัดค้าน ไม่ใยดีกับข้อกฎหมาย เพื่อที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของเขาเท่านั้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (8 พค. 57) ผมข้องเกี่ยวอยู่กับภาพยนตร์ในหลายๆ ลักษณะ ตอนเช้า สัมภาษณ์นักศึกษาสอบเข้าปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ น่าแปลกใจที่ผู้เข้าสอบหลายต่อหลายคนสนใจภาพยนตร์ ตกบ่าย ไปชมภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"ตามคำเชิญของ "คุณสืบ" และ "คุณเปีย" ผู้กำกับและตากล้องภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 12 เพิ่งจบสิ้นลงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (22-24 เมษายน ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย) ผมไปประชุมครั้งนี้อย่างเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องเตรียมตัวเสนอบทความตนเองหนึ่งชิ้น และร่วมในห้องเสวนาโต๊ะกลมอีกสองห้อง ทุกรายการอยู่คนละวัน ผมก็เลยต้องพูดทุกวันทั้งสามวัน