Skip to main content

รัฐประหารครั้งนี้มีอะไรใหม่ๆ หลายอย่าง ผมไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมหรอก เพราะนวัตกรรมเป็นคำเชิงบวก แต่ผมเรียกว่าเป็นนวัตหายนะ 


นับตั้งแต่การไม่เข้าเผ้าตั้งแต่นาทีแรกๆ ไม่เล่นงานนักการเมืองอย่างเฉียบขาด ไม่ตั้งคณะกรรมการยึดทรัพย์ ไม่ยุบพรรคการเมือง นอกจากนั้นแล้ว สิ่งใหม่ๆ อย่างหนึ่งคือ การไล่บี้เรื่องหมิ่นสถาบันฯ อย่างเอาเป็นเอาตาย งัดทั้งมาตรา 112 และพรบ.คอมฯ รวมทั้งอำนาจดิบอื่นๆ ปราบปราม ขยายนิยามความผิดเรื่องหมิ่นสถาบันฯ อย่างที่ไม่เคยมีในการรัฐประหารครั้งก่อนนี้ 

ที่ผมว่าใหม่อีกอย่างคือ นอกจากการรัฐประหารเพื่อยืนยันการมีอยู่ของอำนาจทหารและ "ชนชั้นนำเก่า" ในการเมืองไทยแล้ว รัฐประหารครั้งนี้ยังเป็นรัฐประหารเพื่อ "ชนชั้นกลางเก่า" ก็ได้แก่บรรดาผู้ที่ทรงอิทธิพลในการสนับสนุนมวลชนให้ล้มรัฐบาลจากการเลือกตั้งทั้งหลาย ที่ต่างได้ดิบได้ดี ชักแถวเดินหน้ากันเข้าไปรับใช้คณะรัฐประหารกันไม่ขาดสาย 

ไม่ว่าจะแวดวงนักวิชาการ แวดวงเอ็นจีโอ แวดวงสื่อมวลชน แวดวงช่างเทคนิคคนเรียนเก่งจบแล้วไปทำงานในภาคธุรกิจหรือรัฐกิจที่เป็นองค์การมหาชนต่างๆ (ไม่อยากเรียกว่าเทคโนแครท มันหรูเกินไป) คนเหล่านี้เกลียดและไม่เคยนับถือนักการเมืองมากก่อน ไม่เชื่อมั่นในการเลือกตั้ง ดูถูกเสียงของประชาชนที่ลงคะแนนเลือกตั้ง แล้วทำเป็นตีหน้านับถือทหารมากกว่า 

แต่ที่จริง รัฐประหารครั้งนี้สำเร็จก็เพราะว่าทหารได้ที่พึ่งจาก "ชนชั้นกลางเก่า" เหล่านี้ ทหารไม่มีความรู้ มีแต่อำนาจดิบจากปืน ก็ต้องพึ่งนักวิชาการ เอ็นจีโอ สื่อมวลชน ช่างเทคนิค ฝ่ายหลังก็ต้องพึ่งทหาร เพราะตนเองไม่มีปัญญาได้อำนาจ ก็เลยเป็นอาการน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า เป็นผีเน่ากับโลงผุกันอยู่อย่างนี้แหละ

อย่างในแวดวงนักวิชาการ ก็ชักแถวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหารกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ทั้งรุ่นใหญ่ไล่มาตั้งแต่อธิการบดี จนรุ่นรองๆ ลงมา กระทั่งล่าสุดผมก็เพิ่งรู้ว่ารุ่นน้องผมที่จบจากสถาบันเดียวกัน ที่เคยเหมือนพูดคุยภาษาเดียวกัน บัดนี้ก็เข้าไปกินเงินเดือนคณะรัฐประหารเรียบร้อยแล้ว คงไปเป็นเนติบริกรฝึกหัดเพื่อสืบทอดอุดมการณ์ทำงานกับใครก็ได้ขอให้จ่ายหนักๆ เป็นพอ

ทิศทางของการรวบอำนาจกลับคืนจากนักการเมืองจึงไม่ใช่เพียงการรวบอำนาจกลับคืนสู่อำนาจราชการ แต่จะเป็นการสร้างองค์กรและกลไกแปลกๆ ใหม่ๆ ที่จะเปิดโอกาสให้ไม่เพียงแต่ข้าราชการ แต่ยังมีบรรดาชนชั้นนำเก่าเหล่านี้ คือนักวิชาการ เอ็นจีโอ สื่อมวลชน และบรรดาช่างเทคนิค น่าจับตาดูว่ากลไกอำนาจและองค์กรใหม่ๆ เหล่านี้จะเป็นหลักประกันรับรองอำนาจของชนชั้นกลางเก่าอย่างไร กลไกเหล่านี้จะสร้างสถาบันการเมืองแบบใหม่มากยิ่งกว่าที่องค์กรอิสระ (อย่างตลก. กกต. ปปช.) เคยมีอำนาจอย่างไร แล้วกลไกใหม่ๆ เหล่านี้จะส่งผลเลวร้ายระยะยาวต่อประชาธิปไตยไทยต่อไปอย่างไรในอนาคต

เมื่อทิศทางเป็นอย่างนี้ สิ่งที่เรากำลังจะได้เห็นในความขัดแย้งทางการเมืองรอบต่อไปก็จะยังเป็นความขัดแย้งทางชนชั้นแบบเดิม แต่จะยิ่งฝังลึกลงเรื่อยๆ เป็นความขัดแย้งที่เกิดจาก "ชนชั้นกลางเก่า" และ "ชนชั้นนำเก่า" ซึ่งเกรงกลัวการสูญเสียอำนาจก็จึงจับมือกันโค่นล้มอำนาจ "ชนชั้นกลางใหม่" ที่ให้อำนาจ "ชนชั้นนำใหม่" ผ่านการเลือกตั้ง ให้เข้ามาเป็นตัวแทนทางการเมืองเพื่อกระจายทรัพยากรของรัฐไปยังพวกเขา

ชาวโลกเขารู้กันดีว่า คำว่าการปราบทุจริต ปราบคอร์รัปชั่นน่ะ เป็นคาถาเท่านั้นแหละครับ ชนชั้นนำเก่ามี agenda อะไรจริงๆ ที่ยอมจับมือกับชนชั้นกลางเก่าที่ก็มี agenda ของตัวเองเหมือนกันน่ะ ใครๆ เขาก็ดูกันออก นี่คืออาการของผีเน่ากับโลงผุน่ะครับ จะเผาผีก็อย่าลืมเผาโลงไปด้วยพร้อมกัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน