Skip to main content

เมื่อผมมาสอนหนังสือถึงได้รู้ว่า วันครูน่ะ เขามีไว้ปลอบใจครู ก็เหมือนกับวันสตรี เอาไว้ปลอบใจสตรี วันเด็กเอาไว้หลอกเด็กว่าผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ แต่ที่จริงก็เอาไว้ตีกินปลูกฝังอะไรที่ผู้ใหญ่อยากได้อยากเป็นให้เด็ก ส่วนวันแม่กับวันพ่อน่ะอย่าพูดถึงเลย เพราะหากจะช่วยเป็นวันปลอบใจแม่กับพ่อก็ยังจะดีเสียกว่าที่จะให้กลายเป็นวันฉวยโอกาสของรัฐไทยอย่างที่เป็นอยู่นี้

 
เข้าเรื่องครูดีกว่า จะว่าเรื่อง "ครู" ก็ไม่ถูกนัก เพราะผมอยากเล่าเรื่องความอับจนของโลกวิชาการไทย ที่มาเล่าวันนี้ก็เพราะมันพอจะมีอะไรโยงกับวันครูอยู่บ้าง อาจารย์มหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งก็เป็นครูสอนหนังสือ อีกส่วนหนึ่งก็ทำงานวิชาการผลิตความรู้ อีกส่วนก็บริการสังคม ให้ความรู้กับสาธารณชน แต่ทั้งสามส่วนนั้น มีพื้นฐานสำคัญอยู่ที่การทำงานวิชาการ
 
อะไรคืองานวิชาการ งานวิชาการคือการ "ผลิต" ความรู้ ได้แก่การวิจัย การพิมพ์บทความวิชาการในวารสารวิชาการ การพิมพ์หนังสือและตำรา การเสนอผลงานวิชาการเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานเขียนและการนำเสนอผลงานต่อสาธารณะ ไม่ใช่งานสำคัญก็จริง แต่ก็จำเป็น เพราะเป็นโอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนนักวิชาการและฝึกให้ความรู้กับประชาชน โดยรวมแล้ว หากอาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ทำงานวิชาการ ความรู้ก็จะย่ำอยู่กับที่ ความรู้ที่สอนปาวๆ ที่บรรยายต่อสาธารณชนปาวๆ ก็เป็นความรู้เก่าๆ สังคมก็ไม่ก้าวหน้าไปไหน
 
หลักคิดที่ว่านั้นใครๆ ก็รู้ แต่คำถามคือ ทำไมโลกวิชาการไทยจึงไม่ก้าวหน้า ทำไมมหาวิทยาลัยไทยจึงไม่ติดอันดับสูงๆ ในโลกวิชาการสากล ทำไมนักวิชาการไทยจึงแทบไม่มีชื่ออยู่ในทำเนียบนักวิชาการระดับโลก ถึงมีบ้าง ก็มักเป็นนักวิชาการไทยที่ทำงานอยู่ในต่างประเทศ หรือไม่อย่างนั้นก็ได้รับการยกย่องจากโลกวิชาการสากลก่อนหรือในคนละบริบทกับโลกวิชาการไทย บางคนเป็นที่รู้จักดีในโลกวิชาการสากล แต่ไม่มีใครรู้จักในโลกวิชาการไทย แต่นักวิชาการที่รู้จักกันดีในไทย ส่วนใหญ่กลับไม่มีใครในโลกรู้จักกัน
 
เอาเป็นว่าจำกัดเฉพาะอาจารย์ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก็แล้วกัน ผมสงสัยมานานแล้วว่า ทำไมครูบาอาจารย์ที่ผมร่ำเรียนมาในประเทศไทยจึงไม่กลายเป็นนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในระดับโลก ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นส่วนใหญ่หรือแทบทุกคนก็จบจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งสิ้น ไม่ว่าจะจบจากมหาวิทยาลัย C, H, C-B, หรือแม้แต่ S และอีกสอง Cs ในอเมริกา รวมทั้งมหาวิทยาลัย O, C, L และ L ในอังกฤษ 
 
ถามว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียนพวกเขาล่ะเป็นใคร ทำไมในขณะที่พวกครูบาอาจารย์ผมจบแล้วส่วนใหญ่จึงหายจ้อยไปจากเวทีระดับโลก เพื่อนๆ ร่วมห้องของคณาจารย์ผมกลับโด่งดังระดับโลก หรือที่จริงเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกันกับอาจารย์เหล่านี้ ต่างก็เรียนแย่เหมือนกันหมด คงไม่จริงหรอก เพราะบรรดานักวิชาการที่โด่งดังระดับโลกในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ก็อายุอานามพอๆ กับครูบาอาจารย์ของผมกันทั้งสิ้น
 
เมื่อผมมาเรียนที่สหรัฐอเมริกาด้วยตนเอง เท่าที่เห็น ผมก็ว่าเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกัน ทั้งร่วมสาถบันเดียวกัน หรือเพื่อนต่างมหาวิทยาลัย ที่ว่ามหาวิทยาลัยดีๆ เข้ายากเย็น หรือเรียนกันโหดมหาโหดอย่างไร เมื่อเจอกันในระหว่างเรียนระดับสูง ในงานสัมมนาวิชาการ ในห้องเรียนภาษาต่างประเทศ (อย่างผมก็ห้องเรียนภาษาเวียดนาม) ก็ไม่เห็นว่าเพื่อนร่วมรุ่นจะเก่งกาจแตกต่างไปจากกันมากนัก ความรู้ ความไม่รู้ ก็มีพอๆ กัน แต่ทำไมเมื่อเรียนจบกันไปแล้ว โดยรวมๆ แล้วงานวิชาการไทยจึงไม่ก้าวหน้าแบบงานวิชากรในโลกสากล
 
ที่จริงมีปัจจัยหลายอย่าง แต่ผมอยากจะเน้นที่กลไกทางวิชาการของไทยที่ปิดกั้นการทำงานวิชาการในระดับสากล ผมจะละเว้นไม่พูดถึงบรรยากาศที่ไร้เสรีภาพทางวิชาการอย่างในปัจจุบัน ละไว้ไม่กล่าวถึงความไร้เสรีภาพทางวิชาการในการพูดถึงเรื่องสถาบันกษัตริย์ แต่ผมอยากพูดถึงระบบระเบียบบางอย่างที่ปิดกั้นพัฒนาการของโลกวิชาการไทย เอาไว้จะมาเล่าตอนต่อไป

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่เพียงแต่นักเขียนบางคนเท่านั้นที่อาจจะไม่เข้าใจหรือมองข้ามประเด็นความแตกต่างทางชาติพันธ์ุ แต่ผมคิดว่าแวดวงภาษาและวรรณกรรมบ้านเราอาจจะไม่ตระหนักถึงปัญหานี้โดยรวมเลยก็ได้ และในแง่หนึ่ง ผมคิดว่าซีไรต์เองอาจจะมีส่วนสร้างวัฒนธรรมไม่อ่อนไหวต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และถึงที่สุดแล้ว นี่อาจจะกลายเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสที่วรรณกรรมไทยจะก้าวเข้าสู่ระดับสากล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทัศนะของนายแพทย์ที่เป็นตัวแทนของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ แสดงให้เห็นถึงความคิดคับแคบของผู้มีอำนาจกลุ่มหนึ่ง ที่มักใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตผู้คน บนความไม่รู้ไม่เข้าใจไม่อยากรับผิดชอบต่อปัญหาเชิงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อน และบนกรอบข้ออ้างเรื่องคุณธรรมความดีที่ยกตนเองเหนือคนอื่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แทนที่จะเถียงกับอีกท่านหนึ่งที่วิจารณ์ผมต่อหน้ามากมายเมื่อวาน ผมขอใช้พลังงานเถียงกับข้อเสนอล่าสุดของอาจารย์ธีรยุทธ บุญมีจากข่าวในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1354935625&grpid=01&catid=&subcatid=) ดังนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นึกไม่ถึงและนึกไม่ออกจริงๆ ว่า ทำไมคนเปิดร้านขายหนังสือในปลายศตวรรษที่ 20 - ต้น 21 จะมีความคิดแบบนี้ได้ นี่แสดงว่าเขาไม่ได้อ่านหนังสือที่เขาขายบ้างเลย หรือนี่แสดงว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ช่วยจรรโลงจิตใจนายทุนบางคนขึ้นมาได้เลย*
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่ออ่านข่าวแอร์โฮสเตสที่เพิ่งถูกให้ออก ผมมีคำถามหลายข้อ ทั้งในมิติของโซเชียลมีเดีย hate speech และสิทธิแรงงาน อย่างไรก็ดี ขอเคลียร์ก่อนว่าหากใครทราบจุดยืนทางการเมืองของผม ย่อมเข้าใจดีว่าความเห็นต่อไปนี้ไม่ได้มาจากความเห็นทางการเมืองที่เอนเอียงไปในทางเดียวกับพนักงานสายการบินคนนี้แต่อย่างใด ข้อสังเกตคือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขณะกำลังนั่งกินหอยแครงลวกอยู่เวลานี้ ก็ชวนให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการกัมพูชาคนหนึ่ง ที่เคยนั่งต่อหน้าอาหารเกาหลีจานพิเศษ คือหนอนทะเลดิบตัดเป็นชิ้นๆ ขยับตัวดึบๆ ดึบๆ อยู่ในจานแม้จะถูกตั้งทิ้งไว้เป็นชั่วโมง ตอนนั้น ผมบ่ายเบี่ยงไม่กล้ากินอยู่นาน แม้จะรู้ว่าเป็นอาหารพิเศษราคาแพงที่ศาสตราจารย์ชาวเกาหลีสรรหามาเลี้ยงต้อนรับการมาเกาหลีครั้งแรกของพวกเราหลายคน เพื่อนกัมพูชาบอกว่า "กินเถอะพี่ หอยแครงลวกในเมืองไทยน่ากลัวกว่านี้อีก" ผมจึงหาเหตุที่จะหลบเลี่ยงอีกต่อไปไม่ได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมนั่งดูบันทึกรายการ The Voice Thailand (เดอะวอยซ์) เป็นประจำ แม้ว่าจะเห็นคล้อยตามคำนิยมของโค้ชทั้ง 4 อยู่บ่อยๆ แถมยังแอบติดตามความเห็นเปรี้ยวๆ ของนักเขียนบางคนที่ชอบเรียกตนเองสวนทางกับวัยเธอว่า "ป้า" ซึ่งหมดเงินกดโหวตมากมายให้นักร้องหนุ่มน้อยแนวลูกทุ่ง แต่ผมไม่ได้รับความบันเทิงจากเดอะวอยซ์เพียงจากเสียงเพลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 ผมพยายามถามตัวเองว่า การจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามที่นำโดย "เสธ.อ้าย" จะมาจากเหตุผลประการใดบ้าง แต่ผมก็ชักจะเริ่มไม่แน่ใจว่า เอาเข้าจริง คนที่เข้าร่วมชุมนุมกับเสธ.อ้ายจะมีเหตุผลหรือไม่ หรือหากมี พวกเขาจะใช้เหตุผลชุดไหนกันในการเข้าร่วมชุมนุม ยังไงก็ตาม อยากถามพวกคุณที่ไปชุมนุมว่า พวกคุณอยากให้ประเทศเป็นอย่างนี้จริงๆ หรือ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (20 พฤศจิกายน 2555) นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชิญไปบรรยายในงานสัมมนา "การเมืองเรื่องคนธรรมดา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอตัดส่วนหนึ่งของบทบรรยายของผมที่ใช้ชื่อว่า "การเมืองวัฒนธรรมดา: ความไม่ธรรมดาของสามัญชน" มาเผยแพร่ในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2555 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเชิญไปร่วมกิจกรรมจุฬาวิชาการ โดยให้ไปวิจารณ์บทความนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ 4 ชิ้น 1) ว่าด้วยเบื้องหลังทางการเมืองของการก่อตั้งองค์การอาเซียน 2) ว่าด้วยบทบาทและการต่อรองระหว่างประเทศในอาเซียน 3) ว่าด้วยการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าของธุรกิจเอกชนไทยในคู่ค้าอาเซียน และ 4) ว่าด้วยนโยบายชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพม่า ข้างล่างนี้คือบันทึกบทวิจารณ์