Skip to main content

จะให้ผมเขียนเรื่องอุปสรรคขัดขวางโลกวิชาการไทยต่อการก้าวขึ้นสู่ความเป็นเลิศในระดับนานาชาติไปอีกเรื่อยๆ น่ะ ผมก็จะหาประเด็นมาเขียนไปได้อีกเรื่อยๆ นั่นแหละ 

 
เช่นว่า ที่จริงก็อยากเขียนเรื่องหลักสูตร อย่างหลักสูตรโครงการปกติ โดยเฉพาะรายวิชาการศึกษาทั่วไป ที่แทบไม่พัฒนาเลยและมีวิธีคิดที่ล้าหลังย่ำอยู่กับที่มานับ 20 ปีแล้ว หลักสูตรพิเศษ ที่เปิดหากินกับกระเป๋าพ่อแม่ผู้ปกครอง ทั้งๆ ที่ไม่สามารถทำคุณภาพให้เท่าหลักสูตรปกติได้ เพราะต้นทุนสูงลิบ และเพราะเงื่อนไขที่กีดกันการจัดชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพ เขียนไปก็ปากว่าตาขยิบเปล่าๆ เพราะอย่างที่บอกคือ ทุกวันนี้หลักสูตรพิเศษคือแหล่งรายได้หลักของมหาวิทยาลัยไทย
 
หรือปัญหาเรื่องหลักสูตรระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ที่ สกอ. คิดในระบบเดียวกับคิดถึงการแบ่งชั้นประถมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา ก็เลยต้องแยกกันโดยไม่จำเป็น ไม่เหมือนที่ชาวโลกเขาทำกันอย่างไทยทุกวันนี้ หลายๆ คณะและภาควิชารวมทั้งคณะผมก็เลยต้องตีลังกาทำหลักสูตรให้เชื่อมโยงกันอย่างพิสดาร ทั้งๆ ที่ในโลกนี้ไม่มีใครเขาทำกัน 
 
หรือเรื่องการบริหารความรู้ต่างสาขาวิชา ที่ไม่คิดให้สอดคล้องกันทั้งระบบ จึงเป็นการศึกษาแยกส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปีสูงของปริญญาตรี บางสถาบันจึงไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษาเปิดหูเปิดตาเรียนรู้ข้ามสาขา 
 
เรื่องหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรนักศึกษาโครงการแลกเปลี่ยนที่กลวงโบ๋และหลอกลวงทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ เปิดกันเหมือนโรงเรียนกวดวิชา แทบจะไม่มีอาจารย์ประจำ จ้างอาจารย์เกษียณและอาจารย์ล่าค่าสอน ให้วิ่งรอกสอนกันไปทั่ว รวมทั้งพื้นฐานนักศึกษาก็อ่อนปวกเปียก แถมห้องเรียนแน่นยั้วเยี้ยและไม่ส่งเสริมการเรียนรู้นอกสถานที่ เพราะหวังกำไรไปสร้างตึกใหม่แต่อ้างว่ามีต้นทุนการจัดการสูงลิ่ว อย่างนี้เป็นต้น
 
ไม่ต้องห่วงครับ ผมสอนหลักสูตรพวกนี้มากแล้ว จนมีคนจะให้บริหารมาแล้วก็มี แต่บริหารอย่างไรได้ล่ะครับ ในเมื่อทั้งระบบใหญ่มันนุงนังกันอย่างนี้ ผมไม่เอาด้วยหรอก ก็จึงเอามาบ่นอยู่นี่ได้ไงครับ ต่อไปนี้ผมคงไม่สอนแล้วล่ะ ส่วนอนาคตข้างหน้าหากเกษียณแล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าอยู่ได้นานขนาดนั้น ก็คงจะหาทางดิ้นรนทำอย่างอื่นไปได้เองนั่นแหละ แต่บอกได้ว่า ระบบที่เป็นอยู่นี้น่ะล้าหลัง ไม่ทันแม้กระทั่งเพื่อนบ้าน 
 
ผมเคยสอนหลักสูตรโครงการแลกเปลี่ยนให้โครงการหนึ่งในประเทศเพื่อนบ้าน เขาไม่ทำอย่างนี้หรอก เขาทุ่มเทให้กับการให้ความรู้มากกว่าที่เมืองไทย เพราะคนจัดการเรียนการสอนอยู่ในระบบอเมริกันเอง ใช้อีกมาตราฐานหนึ่ง ไม่เหมือนในไทยที่ใช้มาตราฐานไทย บางโครงการก็เลยเละจนมหาวิทยาลัยอเมริกันเจ้าของทุนต้องระงับแล้วตั้งต้นกันใหม่ อย่ารู้เลยครับว่าที่ไหน เจ้าตัวถ้าเข้ามาอ่านอาจจะรู้ตัวอยู่บ้าง หรือไม่รู้ก็แล้วไป
 
อีกเรื่องที่พูดได้ไม่รู้จบคือเรื่องการบริหารมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เรื่องใหญ่คือระบบประกันคุณภาพ ผมแตะผ่านๆ มาตลอดในเรื่องอื่นๆ ที่เขียนถึงมาแล้ว และจะให้สาธยายเจาะลงไปโดยตรงก็มีเรื่องให้พูดอีกมากมาย เช่นว่า นอกจากตัวระบบการนับคะแนนจะยุ่งขิงแล้ว วิธีการประกันคุณภาพเอง โดยเฉพาะตัวกรรมการประกันคุณภาพ และ "คุณภาพองกรรมการประกันคุณภาพ" ก็พูดกันได้เป็นวรรคเป็นเวร  หากใครอยากอ่านเรื่องพวกนี้ ก็หาที่ผมเคยเขียนเอาไว้แล้วในหลายๆ ที่อ่านก็แล้วกันครับ
 
ไม่ใช่แต่เฉพาะตัวระบบประกันคุณภาพ ระบบประเมินต่างๆ ที่ซ้อนทับกันยุ่งไปหมด ประกันคุณภาพดีแล้วยังไม่พอ ยังต้องมากรอก มคอ. ประกันมาตรฐานคุณวุฒิกันอีก เอาเฉพาะ มคอ. เองน่ะมั่วและลวงโลกขนาดไหน อย่างที่บอกแล้วคือ มคอ. น่ะ ต้องมี มคอ. 1 ถึง มคอ. 7 ทุกวันนี้หลกสูตรส่วนใหญ่มีแต่ มคอ. 2-7 ไม่มีหรอกครับ มคอ. 1 น่ะ บางหลักสูตรน่ะมี เพราะ สกอ. หาคนทำแล้ว แต่หลักสูตรอีกจำนวนมาก บรรดาคณะใหญ่ๆ อีกหลายคณะ โดยเฉพาะทางสังคมศาสตร์กับมนุษยศาสตร์น่ะ ไม่มีหรอก แล้ว มคอ. 3, 4, 5, 6 ที่กรอกๆ กันน่ะเอาไปไหน ก็เอาไปกองๆ ไว้ใต้ถุนตึกไหนสักตึกน่ะแหละ ไม่มีใครอ่านหรอก สกอ. ยังเคยบอกเองว่า ส่งมาก็ไม่อ่าน
 
ก็เลยขอพักการเขียนเรื่องนี้เอาไว้แค่ก่อน จะได้คิดเรื่องอื่นกันบ้าง เรื่องโลกวิชาการไทยน่ะ คิดไปก็ปวดหัวเปล่าๆ ปลี้ๆ ครับเพราะไม่มีทางแก้ และไม่มีใครอยากแก้ ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริหารมหาวิทยาลัยไทยไต่เต้าขึ้นสู่อำนาจไปก็เพื่อรอรับส่วนบุญจากการรัฐประหารอย่างทุกวันนี้ ฉะนั้น โลกวิชาการไทยน่ะไม่มีวันก้าวไปสู่โลกวิชาการสากลได้ภายใน 20-30 ปีนี้หรอก

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปแม่ฮ่องสอนสามวัน ค้างสองคืน เพื่อร่วมงาน "ไทใหญ่ศึกษา" ทั้งๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน ไม่รู้จักวัฒนธรรมไทใหญ่มาก่อน พอจะรู้จากการอ่านงานเรื่อง "ฉาน" เรื่องรัฐไทใหญ่ เรื่องประวัติศาสตร์บ้างนิดหน่อย จึงมิอาจให้ความเห็นใดๆ กับอาหารไทใหญ่ได้ ทำได้แค่เพียงบอกเล่า "ความประทับใจแรกเริ่ม" ในแบบที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ทั่วไปมักทำกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่รู้เป็นอะไรกันนักหนากับเครื่องแต่งกายนักศึกษา จะต้องมีการประจาน จะต้องมีการให้คุณค่าบวก-ลบ จะต้องถือเป็นเรื่องจริงจังกันจนบางคณะถึงกับต้องนำเรื่องนี้เข้ามาเป็นวาระ "เพื่อพิจารณา" ในที่ประชุมคณาจารย์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานนี้ (12 มิถุนายน 2556) อาจารย์ที่คณะท่านหนึ่งเชิญไปบรรยายในวิชา "มนุษย์กับสังคม" หัวข้อ "สังคมศาสตร์กับความเข้าใจผู้คนและสังคม" ให้นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปี 1 ในห้องเรียนมีนักศึกษาราว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้ถูกเผยแพร่ในอีกพื้นที่หนึ่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเห็นว่าเข้ากับโอกาสของการเปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงขอนำมาเสนออีกครั้งในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธ์ุอยู่หลากหลายกลุ่ม พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และร่วมสร้างสังคม สร้างประวัติศาสตร์โบราณและสมัยใหม่อย่างขาดไม่ได้ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยมีนโยบายกลุ่มชาติพันธ์ุมาก่อน (ยาวนะครับ ถ้ายังอยู่ในโลก 8 บรรทัดโปรดอย่าอ่าน)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 มีคนบ่นว่า "ผ่านมาสามปีแล้ว ทำไมคนเสื้อแดงยังไปรวมตัวกันที่ราชประสงค์กันอีก นี่พวกเขาจะต้องระลึกถึงเหตุการณ์นี้กันไปจนถึงเมื่อไหร่" แล้วลงท้ายว่า "รถติดจะตายอยู่แล้ว ห้างต้องปิดกันหมด ขาดรายได้ นักท่องเที่ยวเดือดร้อน" นั่นสิ น่าคิดว่าทำไมการบาดเจ็บและความตายที่ราชประสงค์เมื่อพฤษภาคม 2553 มีความหมายมากกว่าโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรียน ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้