Skip to main content

ปี 2558 เป็นปีที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอายุครบ 50 ปี นับตั้งแต่เริ่มเป็นแผนกอิสระในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มาตั้งแต่ปี 2508

ในวาระ 50 ปีนี้ คณะฯ เห็นว่า แทนที่เราจะรำลึกย้อนหลัง สู้เราลองคิดกันไปข้างหน้าไม่ดีกว่าหรือ เราจะลองคิดไปข้างหน้าดูว่า ในอีก 50 ปีข้างหน้า ทิศทางของคณะฯ น่าจะไปทางไหน แต่กระนั้นก็ตาม เราก็ต้องคิดไปข้างหน้าบนต้นทุนทางความรู้และต้นทุนทางเครือข่ายสังคมที่เรามีอยู่

สุดท้ายเราก็จึงตกผลึกกันมาที่การวางกรอบข้อเสนอต่อวงการสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาไทยและสากลว่า สาขาวิชาทั้งสองนี้ควรจะคิดถึงเรื่องอะไรต่อไปในอนาคต อันเป็นที่มาของชื่องานว่า “ออกมาข้างใน เข้าไปข้างนอก” ซึ่งเป็นการพยายามก้าวข้ามจากความจำเจคุ้นเคยของความรู้ในหลายๆ มิติ ดังนี้

หนึ่ง ก้าวข้ามศาสตร์ ได้แก่การข้ามพรมแดนของความเป็นสาขาวิชาทั้งสองสาขา สู่สาขาวิชาอื่นๆ แม้ว่าความเป็นสหวิทยาการจะถูกพูดถึงกันมามากแล้ว แต่เราก็ยังต้องการตอกย้ำความจำเป็นของการหาความรู้ข้ามสาขาที่จะทั้งส่งเสริม ทัดทาน หรือแม้แต่ทักท้วงกันทั้งในระดับวิธีการทำความเข้าใจมนุษย์ จุดเน้นของความรู้ และแนวทางการเข้าถึงความรู้ นอกจากนั้น เราต้องการเน้นให้เห็นถึงความได้เปรียบของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในการก้าวข้ามศาสตร์ เพราะมักสนใจมิติต่างๆ ของมนุษย์พร้อมๆ กันเสมอ

สอง ก้าวข้ามพื้นที่ สังคมศาสตร์ไทยมักจำกัดความรู้อยู่เฉพาะในพื้นที่ประเทศไทย ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมา นักวิชาการไทยมักตั้งคำถามเพียงว่า จะนำความรู้ที่ร่ำเรียนมาใช้เข้าใจสังคมไทยได้อย่างไร ทั้งๆ ที่โลกนี้มีมนุษย์อยู่ทั่วไปหมด โลกนี้มีพื้นที่อย่างน้อยตรงตะเข็บชายแคนของพื้นที่ประเทศไทย เรื่อยไปจนถึงเพื่อนบ้านประเทศไทยที่อาศัยต่อเนื่องกับคนในประเทศไทย โลกนี้มีโลกทั้งใบให้เรียนรู้ คณะฯ ไม่เพียงเห็นความจำเป็นแต่ยังมีความเชี่ยวชาญของนักวิชาการทั้งสองสาขาที่ศึกษาพื้นที่พรมแดน ศึกษาประเทศเพื่อนบ้าน และศึกษาประเทศที่ไกลออกไปทั้งทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกา

สาม ก้าวสู่อมนุษย์ ศาสตร์ทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาสนใจศึกษาไม่เพียงสังคมและมนุษย์ แต่ยังศึกษาก้าวล่วงเข้าไปยังโลกของ “อมนุษย์” อมนุษย์ในที่นี้ไม่ใช่ภูติผีที่ไหน หากแต่เป็นวัตถุสิ่งประดิษฐ์ วัตถุธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ทั้งสัตว์และพืช ความรู้ของทั้งสองสาขาในอดีตวางอยู่บนการเข้าใจมนุษย์และอมนุษย์เสมอ แม้ว่าเราจะไม่เน้นจนเด่นชัด ส่วนความรู้ในอนาคตกำลังจะยิ่งให้ความสำคัญกับความเชื่อมต่อกันระหว่างมนุษย์และอมนุษย์มากยิ่งขึ้น

สี่ ก้าวสู่สาธารณะ คณะฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการนำความรู้ไปรับใช้สังคมอย่างต่อเนื่องเสมอมา ทั้งบุคคลากรของคณะในอดีต และที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่หรือศึกษาอยู่ในคณะฯ ต่างมีส่วนร่วมในกระบวนการทางสังคมนอกรั้วมหาวิทยาลัย นอกห้องเรียน เป็นจำนวนมากและต่อเนื่อง นับได้ว่า คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามีส่วนในการสร้างสังคมนอกห้องเรียน ด้วยการนำเสนอประเด็นข้อคิดต่อสังคมและการก้าวออกไปร่วมงานทางด้านนโยบายไม่ว่าจะของเอกชนหรือรัฐ ในอนาคต ทิศทางเหล่านี้ก็จะยังคงอยู่อย่างชัดเจน

ทั้งสี่มิตินั้น ในเบื้องต้นได้รับการถ่ายทอดผ่านตราสัญลักษณ์งาน 50 ปีฯ และจะได้นำเสนอผ่านกิจกรรมต่างๆ ตลอดปี 2558 นี้ โดยเริ่มแรก ในวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ 2558 คณะฯ จัดกิจกรรมทั้งสองวัน ทั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์และรังสิต ประกอบไปด้วบการปาฐกถา การเสวนาวิชาการ กิจกรรมสังสรรค์ การระดมทุนจัดตั้ง “กองทุนกึ่งศตวรรษ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา” 

จากนั้น ในวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2558 จะมีการจัดประชุมวิชาการนานาชาติร่วมกับ International Union of Anthropological and Ethnological Sciences (IUAES) ในหัวข้อใหญ่ชื่อ Re-imagining Anthropological and Sociological Boundaries ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของการ “ออกมาข้างใน เข้าไปขางนอก” วงวิชาการหลากหลายสาขา ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

ไม่เพียงกิจกรรมบรรยายและประชุมวิชาการ ยังมีการจัดพิมพ์หนังสือ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่รู้สึก เพื่อมอบเป็นที่ระลึกสำหรับกัลยาณมิตรของคณะฯ และร่วมกับ โครงการจัดพิมพ์คบไฟ จัดพิมพ์หนังสือวิชาการ 4 เล่ม ได้แก่ ศาสตร์-อศาสตร์ เข้ามาข้างนอก ออกไปข้างใน|| ไม่ใช่เรื่อง ‘หมู หมา กา ไก่’ || รอยต่อ – รอยตัด สังคมศาสตร์ไทย || บทจร: บทอ่านมานุษยวิทยาไทย ซึ่งจะได้วางจำหน่ายต่อเนื่องกันในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ.2558 นี้

(คัดมาจาก http://socanth.tu.ac.th/news/department-news/about-tusocanth50/)

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอกคือ ผมไม่ใช่คนเชี่ยวชาญเกาหลี จะเล่าเรื่องเกาหลีก็จะต้องมีผิดมีพลาดบ้าง เพียงแต่อยากบันทึกเก็บไว้ แล้วแบ่งปันบ้าง เผื่อใครสนใจหรือช่วยเติมต่อความรู้ อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสนใจในการไปเกาหลีทั้งสองครั้ง (ครั้งแรกเมื่อ 8 ปีก่อน ก็ไปแค่สั้นๆ ไม่กี่วัน) ก็คือการได้พบเจอผู้คนและได้ไปเดินด่อมๆ มองๆ ตามย่านการค้า ร้านค้า และพบปะพูดคุยดื่มกินกับผู้คน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่ได้อยู่นฐานะที่จะมาเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลี เดินทางไปแค่สองครั้ง ครั้งละไม่กี่วัน ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ ไม่ได้เชี่ยวชาญอะไร แต่ด้วยนิสัยของการชอบบันทึกเก็บไว้ ก็เลยอยากเขียนอะไรเกี่ยวกับเกาหลีที่รู้จักเอาไว้อ่านเอง เอาไว้คิดต่อ เอาไว้ก่อนที่จะลืม ก่อนที่จะไม่อยากเขียน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ขอร่วมรำลึกวาระ 40 ปี 6 ตุลาด้วยการกล่าวถึงงานศึกษาสังคม-วัฒนธรรมไทยที่เป็นพื้นฐานของเหตุการณ์เมื่อ 40 ปีก่อนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จำเป็นแค่ไหนที่เราจะต้องคิดต่างจากส่วนกลาง ถ้าเราคิดว่าการครอบงำของความรู้ตะวันตกเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเข้าใจตัวตนเราเอง และทั้งยังปิดกั้นความเป็นมนุษย์ที่ไม่ได้ถูกเข้าใจจากมุมมองที่ต่างออกไป เราก็จำเป็นที่จะต้องคิดทั้งนอกกรอบตะวันตกและนอกกรอบการครอบงำจากอำนาจศูนย์กลางของรัฐ ความคิดนอกกรอบการครอบงำดังกล่าวส่วนหนึ่งเรียกว่าแนวคิดหลังอาณานิคม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หลายวันมานี้มีเรื่องขันขื่นหลายเรื่องที่สังคมไทยก้าวไม่พ้นเสียที แต่ผมว่าเรื่องพื้นฐานของปัญหาเหล่านี้คือเรื่องการไม่ยอมรับผิด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไปโกเบเมื่อสี่วันก่อน (7 มิถุนายน 59) นอกจากได้รู้จักความเป็นเมืองฝรั่งๆ ของโกเบแล้ว สาระสำคัญของการไปโกเบวันก่อนอย่างหนึ่งคือการไปพิพิธภัณฑ์เครื่องมือช่างไม้แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์นี้เป็นของบริษัท Takenaka ที่บอกเล่าว่าตั้งมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 17 ส่วนพิพิธภัณฑ์นี้เปิดปี 1984 แล้วเข้าใจว่าน่าจะค่อยๆ พัฒนาคอลเล็กชั่นและการจัดแสดงขึ้นมาเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความสุขอย่างหนึ่งของการมาอยู่ที่ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษามหาวิทยาลัยเกียวโตก็คือ การได้รู้จักผู้คนและแลกเปลี่ยนความรู้ในหลายภาษา อีกอย่างคือได้แลกเปลี่ยนความรู้ในหลายบริบท ทั้งในห้องสัมมนา ห้องทำงาน ห้องเรียน และร้านเหล้า ผมถือว่ามันเป็นบริบททางวิชาการทั้งนั้นแหละ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
รู้กันนะครับว่า เวลาที่เราเรียกว่า "หล่อๆ" นี่ ไม่ใช่ว่าต้องเป็นผู้ชาย ผู้หญิงก็หล่อได้ เพราะมันหล่อในสำนวน ในการแสดงออก ในท่าที ทั้งๆ ที่หน้าตาไม่ต้องหล่อก็ได้ แต่หล่อที่คำพูด 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ที่ผมเคารพรักท่านหนึ่งสอนผมว่า “คำวิจารณ์น่ะ น่าฟังมากกว่าคำชื่นชม เนื่องจากคนที่วิจารณ์เราน่ะ เขาจริงใจกับเรามากกว่าคนที่ชื่นชมเรา ไม่มีใครวิจารณ์เราตามมารยาท แต่คนชมน่ะ บางทีเขาก็ชมเราไปตามมารยาทเท่านั้นแหละ” ดังนั้นเมื่อโลกเขารุมวิจารณ์ไทย เราก็ควรรับฟังเขา เพราะถ้าเขาไม่มีความจริงใจ ไม่อยากเห็นเราปรับปรุงตัวจริงๆ ไม่รัก ไม่ห่วง ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย เขาก็คงไม่ติติงเรา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คนแบบพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้มีแต่พลเอกประยุทธ์เพียงคนเดียว แต่ยังมีคนอีกจำนวนมากที่มีเบื้องลึกของจิตใจแบบพลเอกประยุทธ์ แต่หากจะพูดให้ถูก คนที่มีจิตใจเบื้องลึกที่กักขฬะ อาจจะไม่จำเป็นต้องแสดงออกอย่างกักขฬะแบบพลเอกประยุทธ์ แต่ทำไมขณะนี้สังคมไทยจึงยอมให้ความกักขฬะเข้ามาปกครองบ้านเมือง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ถ้าพูดอย่างหลวม ๆ คือ พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน สองชื่อแรกใช้ในประเทศไทย เรียกกลุ่มคนที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ที่จริงพวกเขายังอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอหนองหญ้งปล้อง และอำเภออื่น ๆ ของเพชรบุรี แล้วยังกระจายย้ายถิ่นไปในจังหวัดอื่น ๆ ตั้งแต่นครปฐม ชุมพร ไปจนถึงนครสวรรค์ เลย ฯลฯ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้ผมกลับมาไทย 7 วัน ไม่รวมวันเดินทางอีกสองวัน ที่มาเพราะได้รับเชิญมาเสนอความเห็นในการ workshop งานหนึ่ง ผมก็เลยถือโอกาสนี้ใช้ทุนที่ต้องใช้สำหรับทำวิจัย เก็บข้อมูลของมหาวิทยาลัยเกียวโต ซึ่งก็มีอยู่ไม่มากนัก มาเพื่อใช้เดินทางไปเก็บข้อมูลเพิ่มเติมด้วยเลย