Skip to main content

ผมไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อสังคมไทย หากคุณไม่เห็นคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ คุณก็คือคนที่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังกรอกยาฝิ่นใส่ปากตัวเอง แล้วเมายาอยู่จนหลงคิดไปว่ากำลังดื่มโอสถบำรุงกำลัง หากคุณไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ต้องอ่านต่อไปแล้วไม่ต้องมาพยายามเถียงกับผมให้เสียเวลาเปลืองอารมณ์ที่จะต้องคุยกัน

แต่ผมจำเป็นต้องสาธยายความเลวร้ายเหลวแหลกของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ตัดสินใจขับอาจารย์สมศักดิ์ออกจากการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสื่อมลงทุกวันภายใต้การบริหารของผู้บริหารชุดปัจจุบัน นับตั้งแต่การพยายามปิดกั้นการแสดงออกของนักวิชาการที่มีความเห็นทางการเมืองแตกต่างจากแนวทางของผู้บริหารก่อนการรัฐประหาร ไปจนกระทั่งการมีส่วนสร้างเงื่อนไขให้นำไปสู่การล้มการปกครองแบบประชาธิปไตย แล้วในที่สุด ผู้บริหารก็ยินดีปรีดา (หาใช่ถูกบังคับหรือเป็นไปตามการกดดัน) เข้าไปร่วมบริหารประเทศกับคณะรัฐประหาร

ผลกระทบจากการรัฐประหารต่อประชาชนและประชาธิปไตยโดยรวมเป็นอย่างไรเอาไว้กล่าวกันในโอกาสอื่น แต่ผลกระทบที่ชัดเจนประการหนึ่งคือผลกระทบต่อบุคคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังการรัฐประหาร นักศึกษาและอาจารย์จำนวนมากที่มีความเห็นขัดแย้งกับคณะรัฐประหารถูกจับ ถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม มีนักศึกษาและอาจารย์ถูกคุกคามข่มขู่โดยคณะรัฐประหาร จนกระทั่งทุกวันนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลายสภาพเป็นดั่งที่ซ่องสุมกำลังทหารทั้งนอกและในเครื่องแบบ คุกคามการเรียนการสอนและการแสวงหาความรู้อยู่เป็นประจำวัน 

ถ้าจะกล่าวเฉพาะการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน หากไม่มีกรณีการขับอาจารย์สมศักดิ์ สาธารณชนย่อมสงสัยกันทั่วไปอยู่แล้วว่า การที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเข้าไปร่วมมือกับคณะรัฐประหารนั้น ก็นับเนื่องได้ว่าได้ร่วมนำสังคมไทยให้จมดิ่งลงไปสู่สภาพสังคมเผด็จการด้วย 

ยิ่งเมื่อมหาวิทยาลัยตัดสินใจขับอาจารย์สมศักดิ์ออก ด้วยเหตุเพราะอาจารย์สมศักดิ์หลบหนีการคุกคามสิทธิเสรีภาพและสวัสดิภาพความปลอดภัย จึงเป็นเหตุสุดวิสัยไม่สามารถไปปฏิบัติหน้าที่ตามปกติได้ สามัญสำนึกของสาธารณชนย่อมสงสัยได้ว่า นอกจากจะไร้มโนธรรมสำนึกในการปกป้องเพื่อนมนุษย์และบุคคากรของตนเองจากการถูกคุกคามสวัสดิภาพแล้ว ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังได้ร่วมกันกับคณะรัฐประหารจองเวรจองกรรมอาจารย์สมศักดิ์อย่างถึงที่สุดด้วยอีกหรือ 

หากผู้บริหารดำเนินการต่างๆ ด้วยการยึดมั่นต่อกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดแล้ว ทำไมจึงยอมละเมิดกฎระเบียบคือละเมิดรัฐธรรมนูญหรือยอมรับการละเมิดรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดเสียเองได้ หรือจะดำเนินตามกฎระเบียบอย่างถึงที่สุด ก็เฉพาะในกรณีที่กฎระเบียบเหล่านั้นสามารถนำพาให้พวกตนมีอำนาจได้เท่านั้น 

นี่หรือคือหน้าตาประชาธิปไตยแบบที่ธรรมศาสตร์ปัจจุบันยกย่อง เป็นประชาธิปไตยแบบที่ส่งเสริมการละเมิดสิทธิเสรีภาพกันอย่างออกหน้าออกตาอย่างนี้หรือ เป็นประชาธิปไตยที่ไม่ฟังใครที่ไม่เห็นด้วยกับพวกตนอย่างนี้หรือ เป็นประชาธิปไตยที่ไล่จองล้างจองผลาญคนที่เห็นต่างจากพวกตนอย่างเอาเป็นเอาตายอย่างนี้หรือ 

นี่หรือคือสถาบันการศึกษาที่เมื่อปี 2477 ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาโดยอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎรที่เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ นี่หรือคือมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตย นี่หรือธรรมศาสตร์

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร