Skip to main content

ผมไม่จำเป็นต้องสาธยายคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อสังคมไทย หากคุณไม่เห็นคุณูปการของอาจารย์สมศักดิ์ คุณก็คือคนที่ไม่เข้าใจว่าตนเองกำลังกรอกยาฝิ่นใส่ปากตัวเอง แล้วเมายาอยู่จนหลงคิดไปว่ากำลังดื่มโอสถบำรุงกำลัง หากคุณไม่คิดอย่างนั้น ก็ไม่ต้องอ่านต่อไปแล้วไม่ต้องมาพยายามเถียงกับผมให้เสียเวลาเปลืองอารมณ์ที่จะต้องคุยกัน

แต่ผมจำเป็นต้องสาธยายความเลวร้ายเหลวแหลกของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ตัดสินใจขับอาจารย์สมศักดิ์ออกจากการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เสื่อมลงทุกวันภายใต้การบริหารของผู้บริหารชุดปัจจุบัน นับตั้งแต่การพยายามปิดกั้นการแสดงออกของนักวิชาการที่มีความเห็นทางการเมืองแตกต่างจากแนวทางของผู้บริหารก่อนการรัฐประหาร ไปจนกระทั่งการมีส่วนสร้างเงื่อนไขให้นำไปสู่การล้มการปกครองแบบประชาธิปไตย แล้วในที่สุด ผู้บริหารก็ยินดีปรีดา (หาใช่ถูกบังคับหรือเป็นไปตามการกดดัน) เข้าไปร่วมบริหารประเทศกับคณะรัฐประหาร

ผลกระทบจากการรัฐประหารต่อประชาชนและประชาธิปไตยโดยรวมเป็นอย่างไรเอาไว้กล่าวกันในโอกาสอื่น แต่ผลกระทบที่ชัดเจนประการหนึ่งคือผลกระทบต่อบุคคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังการรัฐประหาร นักศึกษาและอาจารย์จำนวนมากที่มีความเห็นขัดแย้งกับคณะรัฐประหารถูกจับ ถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม มีนักศึกษาและอาจารย์ถูกคุกคามข่มขู่โดยคณะรัฐประหาร จนกระทั่งทุกวันนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลายสภาพเป็นดั่งที่ซ่องสุมกำลังทหารทั้งนอกและในเครื่องแบบ คุกคามการเรียนการสอนและการแสวงหาความรู้อยู่เป็นประจำวัน 

ถ้าจะกล่าวเฉพาะการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน หากไม่มีกรณีการขับอาจารย์สมศักดิ์ สาธารณชนย่อมสงสัยกันทั่วไปอยู่แล้วว่า การที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเข้าไปร่วมมือกับคณะรัฐประหารนั้น ก็นับเนื่องได้ว่าได้ร่วมนำสังคมไทยให้จมดิ่งลงไปสู่สภาพสังคมเผด็จการด้วย 

ยิ่งเมื่อมหาวิทยาลัยตัดสินใจขับอาจารย์สมศักดิ์ออก ด้วยเหตุเพราะอาจารย์สมศักดิ์หลบหนีการคุกคามสิทธิเสรีภาพและสวัสดิภาพความปลอดภัย จึงเป็นเหตุสุดวิสัยไม่สามารถไปปฏิบัติหน้าที่ตามปกติได้ สามัญสำนึกของสาธารณชนย่อมสงสัยได้ว่า นอกจากจะไร้มโนธรรมสำนึกในการปกป้องเพื่อนมนุษย์และบุคคากรของตนเองจากการถูกคุกคามสวัสดิภาพแล้ว ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังได้ร่วมกันกับคณะรัฐประหารจองเวรจองกรรมอาจารย์สมศักดิ์อย่างถึงที่สุดด้วยอีกหรือ 

หากผู้บริหารดำเนินการต่างๆ ด้วยการยึดมั่นต่อกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดแล้ว ทำไมจึงยอมละเมิดกฎระเบียบคือละเมิดรัฐธรรมนูญหรือยอมรับการละเมิดรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดเสียเองได้ หรือจะดำเนินตามกฎระเบียบอย่างถึงที่สุด ก็เฉพาะในกรณีที่กฎระเบียบเหล่านั้นสามารถนำพาให้พวกตนมีอำนาจได้เท่านั้น 

นี่หรือคือหน้าตาประชาธิปไตยแบบที่ธรรมศาสตร์ปัจจุบันยกย่อง เป็นประชาธิปไตยแบบที่ส่งเสริมการละเมิดสิทธิเสรีภาพกันอย่างออกหน้าออกตาอย่างนี้หรือ เป็นประชาธิปไตยที่ไม่ฟังใครที่ไม่เห็นด้วยกับพวกตนอย่างนี้หรือ เป็นประชาธิปไตยที่ไล่จองล้างจองผลาญคนที่เห็นต่างจากพวกตนอย่างเอาเป็นเอาตายอย่างนี้หรือ 

นี่หรือคือสถาบันการศึกษาที่เมื่อปี 2477 ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาโดยอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้นำคณะราษฎรที่เปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ นี่หรือคือมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตย นี่หรือธรรมศาสตร์

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง