Skip to main content

ผมโชคดีที่มีโอกาสได้รับเชิญไปร่วมประชุมวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อวันศุกร์สัปดาห์ก่อน ทั้งหมดเป็นประสบการณ์แปลกใหม่ในหลายๆ ด้านด้วยกัน 

แรกเลยคือ ผมไม่เคยไปเมืองบอสตันมาก่อน ด้วยเวลาเพียงเล็กน้อย ผมยังไม่เจอเสน่ห์ของบอสตัน นอกจากความเป็นเมืองมหาวิทยาลัย ที่อาจจะทำให้เมืองพอจะน่าเสน่หาขึ้นมาบ้าง ตัวประชากรจึงน่าสนใจยิ่งกว่าตัวเมือง แต่ที่จริงทั้งสองส่วนกำน่าสนใจคนละแบบ ด้านประชากร ผมสังเกตว่าคนที่นั่นทั้งในตัวเมืองบอสตัน บนรถสาธารณะทั้งรถเมล์และรถไฟใต้ดิน ส่วนใหญ่มีอายุน้อย คืออยู่ระหว่าง 20 กว่าๆ ถึง 30 กว่าๆ เป็นคนวัยการศึกษาระดับอุดมศึกษา แทบไม่เจอนักเรียนมัธยม เจอคนสูงวัยน้อย นั่นก็ไม่แปลก เพราะนอกจากมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ อย่างมหาวิทยาลัยบอสตัน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (มฮ.) และ MIT แล้ว ยังมีมหาวิทยาลัยอื่นๆ อีกที่ตั้งอยู่ที่นั่น 

อีกด้านของประชากรคือ มีคนขาวที่พูดหลากภาษาปะปนกับคนเอเชียนมาก ซึ่งผมเดาอีกว่าน่าจะเป็นนักเรียนจากเอเชีย มากกว่าจะเป็นคนที่เกิดและเติบโตในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือในบอสตัน ดูเผินๆ ผมว่าบอสตันคงมีคนเอเชียนมากกว่าคนดำด้วยซ้ำไป ซึ่งนั่นทำให้ "ไชน่าทาวน์" ที่บอสตันค่อนข้างคึกคัก พวกเพื่อนๆ ผมติดใจร้านติ่มซำอยู่ร้านหนึ่ง ผมก็เลยให้พวกเขาพาไปชิม ก็อร่อยและมีติ่มซำจานแปลกๆ ที่ผมไม่เคยกินมาก่อน อย่างขนมกุ่ยช่ายก็ใส่ผักน้อยแล้วใส่หมูเพิ่มเข้ามา แต่ที่โดดเด่นคือติ่มซำที่มีอาหารทะเลผสม จะสด อร่อยมาก คงเพราะบอสตันติดทะเล 

สิ่งที่ดูดีในบอสตันอีกอย่างคือชานเมือง ผมมีโอกาสได้ไปพักทั้งที่โรงแรมนอกตัวเมืองบอสตัน (มีผู้รู้กระซิบมาว่า เมื่อข้ามฝั่งแม่น้ำจากบอสตันไป แถบ มฮ. ต้องเรียกว่าเคมบริดจ์*) และที่บ้านพักอาจารยืไทยท่านหนึ่งที่มาทำวิจัยที่ มฮ. อยู่ห่างจาก มฮ. เพียงสถานีรถใต้ดินเดียว เท่าที่เห็น บ้านเรือนอายุสักร้อยปีขึ้นไปจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ส่วนมากมีถึง 3 ชั้น แล้วมักเป็นบ้านเป็นหลังๆ ไม่เหมือนในชานเมืองชิคาโกที่มีบ้านแฝดแบบทาวน์เฮาส์บ้านเราจำนวนมาก อีกอย่างคือคงเนื่องจากมีมหาวิทยาลัยมาก บ้านเหล่านี้มักกลายเป็นห้องเช่าสำหรับนักศึกษา และในอาณาบริเวณที่พักอาศัยจึงมักมีร้านรวง คือเป็นเมืองขนาดย่อม มีร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านขายของชำ มีกระทั่งร้านขายของที่ระลึก เปรียบได้กับท่าพระจันทร์หรือท่าช้างสมัยรุ่งเรือง ที่มีร้านเล็กร้านน้อยเต็มไปหมด 

เมื่อไปถึงบอสตัน ผมตื่นตาตื่นใจกับจำนวนหิมะที่ตกค้างอยู่มาก ทั้งในเมืองบอสตันและนอก*เมือง มันกองกันอยู่สูงบางแห่งเกือบท่วมหัว นี่ขนาดมันละลายไปบ้างแล้วก็ยังเหลืออีกมาก ถึงสัปดาห์นี้อาจละลายไปเกือบหมดแล้วเพราะอากาศตอนนี้อุ่นขึ้นมาก การมีหิมะกองค้างอยู่ตามทางเดินริมถนนมากขนาดนี้แสดงว่าที่เขาว่าหิมะตกมากที่สุดในรอบ 100 ปีนั้นคงจะจริง จากประสบการณ์การอยู่ในเมืองหิมะอย่างแมดิสัน วิสคอนซินมาก่อน ผมเข้าใจได้เลยว่าทำไมเขาไม่กำจัดมันเสีย เพราะปัญหาใหญ่คือต้องสิ้นเปลืองพลังงานมาก และไม่รู้จะเอาไปกองไว้ไหน ลำพังขจัดหิมะจากถนนให้เกลี้ยงได้ก็เก่งแล้ว ถ้ากำจัดไม่หมดดีจริง หิมะที่ละลายจะกลายเป็นน้ำแข็ง ลื่นและอันตรายมาก 

การนำเสนอผลงานวิชาการที่ มฮ. ก็เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งเหมือนกัน ผมไม่ได้เกร็งกับการเสนองานวิชาการแบบนี้มาค่อนข้างนานแล้ว แต่นี่ไม่เพียงต้องนำเสนอด้วยภาษาที่ไม่ถนัด แล้วยังเป็นที่ มฮ. ซึ่งมีชื่อเสียงน่าเกรงขาม ก็เลยทำให้ต้องเตรียมตัวอย่างเข้มข้น แม้จะรู้ว่าประเดี๋ยวแค่ 20 นาทีมันก็จะผ่านไป แต่ก็ยังมีความประหม่าและมีช่วงวินาทีเงียบงันอยู่หลายหน แม้จะเตรียมไปอ่าน แต่เมื่ออยู่ในภาวะคับขัน ก็ต้องตัดตอน อาศัยลูกเล่นเฉพาะหน้าเอาตัวรอดไปได้ หลังการนำเสนอเสร็จแล้วมีคนถามมาก ผมก็โล่งใจถือว่าเป็นผลตอบรับที่ดี เพราะหากไม่เอาไหนเลย อย่างน้อยยังพอจะก็ชวนให้คนสงสัยที่จะอยากรู้หรือคิดว่าเราอธิบายอะไรเพิ่มเติมได้บ้าง 

(ขอบคุณอาจารย์บัณฑิต จันทร์โรจนกิจที่เอื้อเฟื้อภาพ)

อีกสิ่งสำคัญหนึ่งที่ได้รู้คือ งาน Human Rights and Everyday Governance in Thailand: Past, Present, and Future (สิทธิมนุษยชนกับการปกครองชีวิตประจำวันในประเทศไทย : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต) ที่ผมไปร่วมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อกู้ชื่อเสียงของ มฮ. ที่ถูกวิจารณ์ว่ารับเงินฝ่ายอนุรักษ์นิยมจากประเทศไทยที่สนับสนุนรัฐประหารไปก่อตั้งโครงการไทยศึกษา งานนี้ถือเป็นการตอบคำถามว่า มฮ. จะถูกแหล่งทุนชักนำหรือบิดเบือนให้ละเลยเสรีภาพทางวิชาการหรือไม่ ผู้จัดเชิญทั้งฝ่ายรัฐบาลปัจจุบัน (แต่ตัวแทนจากสถานทูตไทยไม่ได้มาร่วมงาน อ้างว่าการเดินทางขัดข้อง) และฝ่ายรัฐบาลเก่า (ซึ่งมีตัวแทนจำนวนหนึ่งเดินทางมาฟังและแสดงออกทางการเมือง) และอนุญาตให้ตัวแทนนักวิชาการที่ออกแถลงการณ์เรียกร้องเสรีภาพทางวิชาการในประเทศไทยได้อ่านแถลงการณ์ในงาน ก็นับได้ว่า มฮ. สามารถตอบโต้ข้อครหาได้ค่อนข้างดี 

ที่จริงยังมีอะไรที่น่าสนใจอีกมาก เช่น การได้ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ชาติพันธ์ุวิทยา ซึ่งเป็นเพียงแห่งหนึ่งในบรรดารพิพิธภัณฑ์ซึ่งมีมากมายนับไม่ถ้วนของ มฮ. เอาไว้เมื่อกลับไปอีกจะหาโอกาสชมให้มากขึ้นแล้วจะมาเขียนเล่าอีก อย่างไรก็ดี พร้อมๆ กับประสบการณ์เหล่านั้น ผมยังได้พบเจอและสังสรรค์กับมิตรสหายที่ไม่ได้เจอกันมานานเกือบปีแล้ว นับเป็นการพบเจอกันในที่ห่างไกลบ้านเมืองของแต่ละคนอย่างที่ไม่คาดฝันมาก่อน ซึ่งก็ยังความรื่นรมย์และพลังใจให้ทำงานกันต่อไปได้ไม่น้อยทีเดียว

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพ่ิงกินอาหารเย็นเสร็จ วันนี้ลงมือทำสเต็กเนื้อ เนื้อโคขุนไทยๆ นี่แหละ ต้องชิ้นหนาๆ หน่อย ย่างบนกะทะเหล็กหนาๆ ที่หอบหิ้วมาจากอเมริกา เป็นกะทะเทพมากๆ เพราะความร้อนแรงดีมาก ใช้เวลาไม่ถึงสิบนาที เกรียมได้ที่ทั้งสองด้าน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษา" ต้องการพื้นที่ลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เมื่อความรู้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของสถาบันการศึกษาเพียงเท่านั้น พื้นที่การเรียนรู้ก็ย่อมจะต้องเปลี่ยนไปด้วย แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกการเรียนรู้ ยังมีคนบางกลุ่มดื้อรั้นขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง