Skip to main content

เห็นโจมตีกระแนะกระแหนส่วนหนึ่งของความเห็นผมกันยกใหญ่ แต่ผมว่าก็ดีนะ มันชี้ขีดจำกัดของความคิดคนดี ก็ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถูกหมดหรือพูดครบถ้วนหมดจดหรอก เพียงแต่มีข้อแย้งกับข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้มากเช่นกัน

 ผมถือว่าการห้ามดื่มสุราในเทศกาลเป็นการที่รัฐเข้ามายุ่มย่ามก้าวก่ายชีวิตคนมากเกินไป แค่นี้เอง อย่างสโลแกน "ให้เหล้าเท่ากับแช่ง" น่ะ มีแต่สังคมคลั่งศาสนาเท่านั้นแหละที่จะพูดกัน ในสังคมไทย คนไม่คลั่งศาสนาน่ะมีมากกว่าคนคลั่งนะครับ 

โลกสากลเขาจำกัดการดื่มแตกต่างกันไป แต่ไม่มีสังคมไม่คลั่งศาสนาที่ไหนหรอกที่เขาจะทำแบบที่คนดัดจริตในประเทศไทยส่วนหนึ่งอยากทำ ไม่มีสังคมที่ไม่เป็นเผด็จการบ้าอำนาจที่ไหนหรอก ที่เขาจะทำแบบที่เผด็จการบ้าอำนาจบ้านเราทำ

นอกจากความบ้าศาสนาและบ้าอำนาจแล้ว ผมว่ามันยังชี้อะไรอีกหลายๆ อย่าง ข้อแรกคือ คนไทยส่วนมากคิดถึงปัญหาสังคมใหญ่ได้เฉพาะแค่ระดับปัจเจก ปัญหาเมาในเทศกาลน่ะ ไม่ใช่ปัญหาปัจเจก แต่เป็นปัญหาโครงสร้าง เช่น ถ้าระบบขนส่งมวลชนดี คนเมาก็กลับบ้านได้ 

พอวิจารณ์เรื่องนี้ทีไรก็โยงไปโน่น เมาแล้วขับบ้าง เมาแล้วข่มขืนมั่ง ไอ้อุบัติเหตุรถกับอาชญากรรมต่างๆ น่ะ เกิดด้วยเหตุของสุรามากน้อยแค่ไหนกันเชียว ที่รถคว่ำๆ ตามถนนที่ออกแบบไม่ดี หรือแทนที่จะออกแบบระบบขนส่งทางไกล พัฒนาระบบรถไฟน่ะ ไม่คิดหรอก เพราะมันยุ่งยากเกินไปที่จะจัดการ และเพราะมันง่ายกว่าที่จะโทษปัจเจกชนกับการเมาบางลักษณะ 

ข้อต่อมา การเมาอย่างมีสติน่ะ สังคมไทยไม่ได้สั่งสอนกัน ก็เลยเมาแบบขาดสติกัน พูดแบบนี้พวกหมอก็จะมาอาละวาดอีก พวกคนเมาจำนวนมากน่ะ เมาเพื่อสร้างหน้ากากบังตัวตนมากกว่า ผมอยู่ในสังคมคนเมาหลายสังคม คนญี่ปุ่นเมาสุดๆ คนอเมริกันดื่มในเทศกาลในที่สาธารณะเป็นปกติ ทั้งนี้แล้วแต่รัฐ จะมีก็แต่รัฐที่เคร่งศาสนาไม่กี่รัฐที่จะเข้มงวดมาก คนเวียดนามเมารายวัน ทั้งหมดนั่น ผมไม่เห็นใครไปทำร้ายใครกันง่ายๆ เลย 

การยืนยันสิทธิทางวัฒนธรรม สิทธิในวิถีชีวิต สิทธิในร่างกายของแต่ละคน ไม่ใช่ยืนยันว่าจะต้องไปละเมิดคนอื่นเมื่อไหร่ คนขอสิทธิที่จะเมา แม้จะในที่สาธารณะ ไม่ได้ขอสิทธิที่จะไปขับรถชนใครหรือไปละเมิดร่างกายใครเมื่อไหร่ 

ส่วนประเด็นเรื่องชนชั้นน่ะ เห็นๆ กันอยู่ว่า ทัศนคติของสังคมไทยเป็นอย่างไร ตรรกะ "จน-เครียด-กินเหล้า" มาจากไหน ร้านริมถนนไม่ให้ขายเหล้า ไม่ให้กินเหล้าเล่นสงกรานต์ วัฒนธรรมประจำวันกับวัฒนธรรมเฉลิมฉลองแบบนี้น่ะ กระทบใคร ถ้าสงกรานต์ไม่ให้ดื่ม ถามหน่อยว่าตามผับบาร์ที่จัดงานสงกรานต์น่ะ ห้ามดื่มเหล้าด้วยหรือเปล่า

ปัญหาสังคมน่ะ ไม่ได้แก้ง่ายๆ ด้วยการออกกฎเข้มงวดขึ้นหรอก แต่ต้องแก้ด้วยความเข้าใจทั้งเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมด้วย อย่าสักแต่ว่ามีอำนาจแล้วออกกฎบังคับเพื่อเรียกเสียงสนับสนุนจากคนบางกลุ่มที่มีอำนาจด้วยกันเท่านั้น

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร