Skip to main content

เห็นโจมตีกระแนะกระแหนส่วนหนึ่งของความเห็นผมกันยกใหญ่ แต่ผมว่าก็ดีนะ มันชี้ขีดจำกัดของความคิดคนดี ก็ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถูกหมดหรือพูดครบถ้วนหมดจดหรอก เพียงแต่มีข้อแย้งกับข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้มากเช่นกัน

 ผมถือว่าการห้ามดื่มสุราในเทศกาลเป็นการที่รัฐเข้ามายุ่มย่ามก้าวก่ายชีวิตคนมากเกินไป แค่นี้เอง อย่างสโลแกน "ให้เหล้าเท่ากับแช่ง" น่ะ มีแต่สังคมคลั่งศาสนาเท่านั้นแหละที่จะพูดกัน ในสังคมไทย คนไม่คลั่งศาสนาน่ะมีมากกว่าคนคลั่งนะครับ 

โลกสากลเขาจำกัดการดื่มแตกต่างกันไป แต่ไม่มีสังคมไม่คลั่งศาสนาที่ไหนหรอกที่เขาจะทำแบบที่คนดัดจริตในประเทศไทยส่วนหนึ่งอยากทำ ไม่มีสังคมที่ไม่เป็นเผด็จการบ้าอำนาจที่ไหนหรอก ที่เขาจะทำแบบที่เผด็จการบ้าอำนาจบ้านเราทำ

นอกจากความบ้าศาสนาและบ้าอำนาจแล้ว ผมว่ามันยังชี้อะไรอีกหลายๆ อย่าง ข้อแรกคือ คนไทยส่วนมากคิดถึงปัญหาสังคมใหญ่ได้เฉพาะแค่ระดับปัจเจก ปัญหาเมาในเทศกาลน่ะ ไม่ใช่ปัญหาปัจเจก แต่เป็นปัญหาโครงสร้าง เช่น ถ้าระบบขนส่งมวลชนดี คนเมาก็กลับบ้านได้ 

พอวิจารณ์เรื่องนี้ทีไรก็โยงไปโน่น เมาแล้วขับบ้าง เมาแล้วข่มขืนมั่ง ไอ้อุบัติเหตุรถกับอาชญากรรมต่างๆ น่ะ เกิดด้วยเหตุของสุรามากน้อยแค่ไหนกันเชียว ที่รถคว่ำๆ ตามถนนที่ออกแบบไม่ดี หรือแทนที่จะออกแบบระบบขนส่งทางไกล พัฒนาระบบรถไฟน่ะ ไม่คิดหรอก เพราะมันยุ่งยากเกินไปที่จะจัดการ และเพราะมันง่ายกว่าที่จะโทษปัจเจกชนกับการเมาบางลักษณะ 

ข้อต่อมา การเมาอย่างมีสติน่ะ สังคมไทยไม่ได้สั่งสอนกัน ก็เลยเมาแบบขาดสติกัน พูดแบบนี้พวกหมอก็จะมาอาละวาดอีก พวกคนเมาจำนวนมากน่ะ เมาเพื่อสร้างหน้ากากบังตัวตนมากกว่า ผมอยู่ในสังคมคนเมาหลายสังคม คนญี่ปุ่นเมาสุดๆ คนอเมริกันดื่มในเทศกาลในที่สาธารณะเป็นปกติ ทั้งนี้แล้วแต่รัฐ จะมีก็แต่รัฐที่เคร่งศาสนาไม่กี่รัฐที่จะเข้มงวดมาก คนเวียดนามเมารายวัน ทั้งหมดนั่น ผมไม่เห็นใครไปทำร้ายใครกันง่ายๆ เลย 

การยืนยันสิทธิทางวัฒนธรรม สิทธิในวิถีชีวิต สิทธิในร่างกายของแต่ละคน ไม่ใช่ยืนยันว่าจะต้องไปละเมิดคนอื่นเมื่อไหร่ คนขอสิทธิที่จะเมา แม้จะในที่สาธารณะ ไม่ได้ขอสิทธิที่จะไปขับรถชนใครหรือไปละเมิดร่างกายใครเมื่อไหร่ 

ส่วนประเด็นเรื่องชนชั้นน่ะ เห็นๆ กันอยู่ว่า ทัศนคติของสังคมไทยเป็นอย่างไร ตรรกะ "จน-เครียด-กินเหล้า" มาจากไหน ร้านริมถนนไม่ให้ขายเหล้า ไม่ให้กินเหล้าเล่นสงกรานต์ วัฒนธรรมประจำวันกับวัฒนธรรมเฉลิมฉลองแบบนี้น่ะ กระทบใคร ถ้าสงกรานต์ไม่ให้ดื่ม ถามหน่อยว่าตามผับบาร์ที่จัดงานสงกรานต์น่ะ ห้ามดื่มเหล้าด้วยหรือเปล่า

ปัญหาสังคมน่ะ ไม่ได้แก้ง่ายๆ ด้วยการออกกฎเข้มงวดขึ้นหรอก แต่ต้องแก้ด้วยความเข้าใจทั้งเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมด้วย อย่าสักแต่ว่ามีอำนาจแล้วออกกฎบังคับเพื่อเรียกเสียงสนับสนุนจากคนบางกลุ่มที่มีอำนาจด้วยกันเท่านั้น

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ภูมิทัศน์ทางปัญญาของนักศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร น่าจะมีใครทำวิจัยเล็กๆ ดูกันบ้าง ผมเดาว่าส่วนใหญ่คงวนเวียนอยู่หน้า "กำแพง" สมุดพักตร์ (ขอยืมสำนวนที่เพื่อนนักวิชาการรุ่นพี่คนหนึ่งมักใช้บ่อยๆ)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตลกที่เวลาผมชื่นชมผู้ใหญ่ในวงการบางคนในบางโอกาส มีคนว่าผมประจบผู้ใหญ่ ไม่รู้จักวิพากษ์ ก็ไม่เป็นไร แต่ส่วนตัวผมและกับคนในวงการเดียวกันคงจะรู้สึกว่า ที่พูดถึงผมแบบนั้นน่ะเพี้ยนแล้ว เพราะผมวิพากษ์ "ผู้ใหญ่" ในวงวิชาการเดียวกันมาเสียจนลูกศิษย์ลูกหาของท่านๆ เหล่านั้นสุดจะทน จนขณะนี้ ผมยังนึกไม่ออกว่ายังเหลือผู้ใหญ่ในวงการท่านใดบ้างที่ผมยังไม่วิพากษ์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ระหว่างเดินทางไปมาด้วยรถไฟหลายเที่ยวในโอซากาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเกิดฉุกคิดถามเพื่อนชาวญี่ปุ่นขึ้นมาว่า วิธีที่คนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายมากที่สุดคือวิธีไหน เพื่อนตอบทันทีโดยไม่ได้คิดว่า "ก็กระโดดให้รถไฟชนตายนี่แหละ" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อครหาอีกข้อที่มีคือ การที่ผมชอบคิดคำศัพท์ ใช้คำศัพท์ทางวิชาการรุงรัง นี่เป็นข้อครหาที่นักสังคมศาสตร์ไทยโดนเป็นประจำ เพื่อนนักวิชาการคนอื่นๆ คิดอย่างไรผมไม่ทราบ แต่ผมมีทัศนะของผมเองคร่าวๆ ดังที่จะเสนอในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เสียงสะท้อนที่รบกวนใจผมอยู่บ้างในระยะนี้ คือคำวิจารณ์ที่เข้ามาสู่หูผมมากขึ้นๆ ทุกวันว่า ผมเป็นพวกบ้าทฤษฎี พวกบ้าศัพท์แสง พวกบ้าวิพากษ์ และพวกคลั่งตะวันตก ซึ่งผมก็น้อมรับด้วยความยินดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พึงสำเหนียกว่า กษัตริย์ไม่ใช่พ่อ เป็นเพียง "สมมุติพ่อ" ที่สังคมไทยอุปโลกน์ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แต่ละคนคงมีตำนานส่วนตัวของตนเอง ที่สะสมความทรงจำซึ่งมักออกจะเดินจริงไปสักหน่อย แม้เมื่อมาพบกับสถานที่ บุคคล หรือแม้แต่รสสัมผัส ในที่นี้คืออาหาร ในตำนานเข้าจริงๆ อีกสักครั้ง แล้วจะรู้สึกว่าความอลังการของบุคคลและวัตถุในตำนานจะถดถอยค่าลงบ้าง ก็ยังไม่ถึงกับจะทำให้ภาพงดงสมในตำนานเลือนหายไปได้ง่ายๆ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 เดินทางมาสัมมนาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ท่าศาลา นครศรีธรรมราช ในงาน "สัมมนาวิชาการ การศึกษาสู่อาเซียน: มิติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" มาเที่ยวนี้มาเป็นวิทยากรเสนอเรื่องที่เคยเสนอไปหลายเวทีแล้ว แต่เป็นความคิดที่ผมยังพัฒนาไม่เต็มอิ่มดี ยิ่งนำเสนอก็ยิ่งเห็นมุมมองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่ประเทศไทยกำลังจะมีแผนแม่บทพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2559) (ตามข่าว) จึงขอนำวิดีโอ แสดงทัศนะของนักปรัชญาชื่อดังแห่งปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 นาม สลาวอย ชีเชก (Slavoj Zizek) มาเพื่อให้แลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกันว่า ทำไมส้วมจึงสำคัญนักหนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (15 กพ.) ตามดูสามสาวดีว่าส์ คาเฟ่แสดงความเห็นกรณีปฏิทินนกแอร์ แล้วนึกถึงข้อวิจารณ์ที่คนอเมริกันบางคนมีต่อ Beyoncé ในการแสดงคั่นครึ่งเวลาซุปเปอร์โบว์ปีที่ผ่านมา คนวิจารณ์ Beyoncé ว่าทำตัวเป็นวัตถุทางเพศ แต่มีนักสังคมวิทยาอเมริกันเถียงว่า เธอใช้ความสามารถแสดงออก แม้จะอย่างยั่วยวน ก็ไม่ได้แปลว่าเธอกลายเป็นวัตถุทางเพศ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 วันวาเลนไทน์ในแบบที่เข้าใจกันทุกวันนี้ กลายเป็นทั้งวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ผ่านมาผมก็ไม่เคยคิดกับมันหรอก แต่เมื่อคุณคำ ผกาชวนไปพูดคุยเรื่ิงความรักในรายการดีว่าส์ คาเฟ่ เมื่อวันที่ 14 กพ. ผมก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล ก็มันน่าตื่นเต้นน้อยเสียเมื่อไหร่ ที่จะได้ออกรายการสดกับสามสาวแสนฉลาดและรวยเสน่ห์ แต่จากที่เขาชวนคุยเรื่องรักใคร่ ไปๆ มาๆ ก็กลับวกไปกลายเป็นเรื่องรัฐเร่่ืองไพร่เสียได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 พอดีเมื่อสักครู่เพิ่งเห็นภาพภาพหนึ่ง เป็นภาพซอกตึกเมืองเล็กๆ ที่ไหนสักแห่ง มีคำบรรยายภาพว่า “Put down that map and get wonderfully lost.” “วางแผนที่นั่นเสียเถอะ แล้วหลงทางให้อัศจรรย์ใจ” ก็เลยคิดเรื่อยเปื่อยถึงความหมายของการหลงทาง