Skip to main content

เห็นโจมตีกระแนะกระแหนส่วนหนึ่งของความเห็นผมกันยกใหญ่ แต่ผมว่าก็ดีนะ มันชี้ขีดจำกัดของความคิดคนดี ก็ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถูกหมดหรือพูดครบถ้วนหมดจดหรอก เพียงแต่มีข้อแย้งกับข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้มากเช่นกัน

 ผมถือว่าการห้ามดื่มสุราในเทศกาลเป็นการที่รัฐเข้ามายุ่มย่ามก้าวก่ายชีวิตคนมากเกินไป แค่นี้เอง อย่างสโลแกน "ให้เหล้าเท่ากับแช่ง" น่ะ มีแต่สังคมคลั่งศาสนาเท่านั้นแหละที่จะพูดกัน ในสังคมไทย คนไม่คลั่งศาสนาน่ะมีมากกว่าคนคลั่งนะครับ 

โลกสากลเขาจำกัดการดื่มแตกต่างกันไป แต่ไม่มีสังคมไม่คลั่งศาสนาที่ไหนหรอกที่เขาจะทำแบบที่คนดัดจริตในประเทศไทยส่วนหนึ่งอยากทำ ไม่มีสังคมที่ไม่เป็นเผด็จการบ้าอำนาจที่ไหนหรอก ที่เขาจะทำแบบที่เผด็จการบ้าอำนาจบ้านเราทำ

นอกจากความบ้าศาสนาและบ้าอำนาจแล้ว ผมว่ามันยังชี้อะไรอีกหลายๆ อย่าง ข้อแรกคือ คนไทยส่วนมากคิดถึงปัญหาสังคมใหญ่ได้เฉพาะแค่ระดับปัจเจก ปัญหาเมาในเทศกาลน่ะ ไม่ใช่ปัญหาปัจเจก แต่เป็นปัญหาโครงสร้าง เช่น ถ้าระบบขนส่งมวลชนดี คนเมาก็กลับบ้านได้ 

พอวิจารณ์เรื่องนี้ทีไรก็โยงไปโน่น เมาแล้วขับบ้าง เมาแล้วข่มขืนมั่ง ไอ้อุบัติเหตุรถกับอาชญากรรมต่างๆ น่ะ เกิดด้วยเหตุของสุรามากน้อยแค่ไหนกันเชียว ที่รถคว่ำๆ ตามถนนที่ออกแบบไม่ดี หรือแทนที่จะออกแบบระบบขนส่งทางไกล พัฒนาระบบรถไฟน่ะ ไม่คิดหรอก เพราะมันยุ่งยากเกินไปที่จะจัดการ และเพราะมันง่ายกว่าที่จะโทษปัจเจกชนกับการเมาบางลักษณะ 

ข้อต่อมา การเมาอย่างมีสติน่ะ สังคมไทยไม่ได้สั่งสอนกัน ก็เลยเมาแบบขาดสติกัน พูดแบบนี้พวกหมอก็จะมาอาละวาดอีก พวกคนเมาจำนวนมากน่ะ เมาเพื่อสร้างหน้ากากบังตัวตนมากกว่า ผมอยู่ในสังคมคนเมาหลายสังคม คนญี่ปุ่นเมาสุดๆ คนอเมริกันดื่มในเทศกาลในที่สาธารณะเป็นปกติ ทั้งนี้แล้วแต่รัฐ จะมีก็แต่รัฐที่เคร่งศาสนาไม่กี่รัฐที่จะเข้มงวดมาก คนเวียดนามเมารายวัน ทั้งหมดนั่น ผมไม่เห็นใครไปทำร้ายใครกันง่ายๆ เลย 

การยืนยันสิทธิทางวัฒนธรรม สิทธิในวิถีชีวิต สิทธิในร่างกายของแต่ละคน ไม่ใช่ยืนยันว่าจะต้องไปละเมิดคนอื่นเมื่อไหร่ คนขอสิทธิที่จะเมา แม้จะในที่สาธารณะ ไม่ได้ขอสิทธิที่จะไปขับรถชนใครหรือไปละเมิดร่างกายใครเมื่อไหร่ 

ส่วนประเด็นเรื่องชนชั้นน่ะ เห็นๆ กันอยู่ว่า ทัศนคติของสังคมไทยเป็นอย่างไร ตรรกะ "จน-เครียด-กินเหล้า" มาจากไหน ร้านริมถนนไม่ให้ขายเหล้า ไม่ให้กินเหล้าเล่นสงกรานต์ วัฒนธรรมประจำวันกับวัฒนธรรมเฉลิมฉลองแบบนี้น่ะ กระทบใคร ถ้าสงกรานต์ไม่ให้ดื่ม ถามหน่อยว่าตามผับบาร์ที่จัดงานสงกรานต์น่ะ ห้ามดื่มเหล้าด้วยหรือเปล่า

ปัญหาสังคมน่ะ ไม่ได้แก้ง่ายๆ ด้วยการออกกฎเข้มงวดขึ้นหรอก แต่ต้องแก้ด้วยความเข้าใจทั้งเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมด้วย อย่าสักแต่ว่ามีอำนาจแล้วออกกฎบังคับเพื่อเรียกเสียงสนับสนุนจากคนบางกลุ่มที่มีอำนาจด้วยกันเท่านั้น

 

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
 แน่นอนว่าโฆษณาโปรแกรมเรียนภาษาไทย (บางคนบอกเป็นแค่ตลกล้อเลียน?) ที่เป็นข่าว 2-3 วันที่ผ่านมานั้น ตั้งอยู่บนอคติทางเพศ ดูถูกเพศหญิงว่าเป็นวัตถุทางเพศ ดูถูกเพศชายว่าจ้องเสพสุขทางเพศท่าเดียว (หรือหลายท่า?) สร้างภาพเหมารวมให้คนไทยและสังคมไทยไร้ศีลธรรม (ดูสิ เราออกจะเมืองพุทธ เมืองพระ) แต่ที่ยังน่าจะต้องทำความเข้าใจคือ ปฏิกิริยาที่คนไทยมีต่อวิดีโอล้อเลียนนี้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้พยายามทำความเข้าใจตรรกะของพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแสดงไว้ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ว่าพระองค์มีทัศนะต่อแนวคิด The King Can Do No Wrong อย่างไร และมาตรา 112 ควรแก้ไขเพราะเหตุใด
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การตัดสินคดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุขและอีกหลายๆ คดีก่อนหน้านี้ด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (ม.112) ชี้ให้เห็นยิ่งขึ้นทุกวันว่า รัฐไทยกำลังสร้างความรักด้วยการใช้กำลังข่มเหงให้ประชาชนรักประมุขของประเทศ หาใช่การส่งเสริมให้เกิดความรักประมุขจากใจจริงของประชาชนไม่
ยุกติ มุกดาวิจิตร
งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ดี โดยเฉพาะงานทางมานุษยวิทยา มักมีแรงขับจากอารมณ์ใคร่บางอย่าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากเรียกร้องเรื่องทรงผม ก็ต้องเรียกร้องเรื่องชุดนักเรียนนักศึกษาด้วย จะได้เป็นก้าวแรกของการอภิวัฒน์การศึกษาไทยอย่างจริงจังเสียที พวกผู้ใหญ่ที่คอยเรียกร้องนักเรียนกับครูอาจารย์ ให้สอนให้เด็กรู้จักคิดน่ะ พวกท่านเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่า ชุดนักเรียนนักศึกษาเป็นปราการปิดกั้นเสรีภาพการคิดอย่างไร และเด็กๆ เองก็ควรเข้าใจด้วยว่า การควบคุมเรือนร่างเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแบบอำนาจนิยมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์พัฒนา กิติอาษาเมื่อเช้าตรู่วานนี้ (10 มกราคม 2556) คงไม่เป็นที่สนใจของใครต่อใครนอกแวดวงวิชาการสังคมศาสตร์มากนัก แต่นี่นับเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของแวดวงสังคมศาสตร์ไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
หากพวกคุณวิจัยสำรวจอย่างตรงไปตรงมาจริงๆ พวกคุณก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า ชัยชนะจากคะแนนเสียงที่ "ไม่่่ท่วมท้นนัก" ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา มาจากกลุ่มคนที่มีความหวังว่าเพื่อไทยจะเป็นเดินหน้าพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยอย่างจริงจังเสียที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สังคมไทยมีสังคมแบบหนึ่งที่แทรกซ้อนอยู่ในสังคมขนาดใหญ่ คือสังคมดัดจริต สังคมดัดจริตไม่ได้มีขนาดใหญ่โต แต่เป็นสังคมของคนชั้นกลางและคนใหญ่คนโตที่กำลังเสื่อมอำนาจ สังคมดัดจริตคอยผลิตวัฒนธรรมดัดจริตเพื่อทำให้ตนเองดูดีมีหลักการ เพื่อให้ตนเองอยู่เหนือคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีจริตจะดัด และเหนืออื่นใดคือเพื่อปกป้องฐานะอำนาจของตนเอง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตื่นเช้าขึ้นมาวันนี้ คือวันที่ 1 มกราคม 2556 ผมลองคิดบวกดูบ้าง คือคิดแบบเข้าข้างตนเองทบทวนดูว่า หนึ่งปีที่ผ่านมาได้ทำอะไรใหม่ๆ ให้ตนเองบ้าง คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในสมองผมคือ ได้อ่านหนังสืออะไรที่นับว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บ้าง แล้วก็คิดไปเรื่อยว่า ได้ทำอะไรที่ให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ คิดอะไรใหม่ๆ บ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามปีใหม่ ยากที่จะหาของขวัญที่ไม่กลายเป็นขยะในชั่วข้ามคืนได้ เพื่อนชาวอเมริกันที่ผมรู้จักหลายคน ซึ่งดูท่าจะทั้งเป็นนักช้อปและเป็นคนช่างมีเหตุผล ก็เลยใช้วิธีให้เด็กๆ เขียนลิสต์รายการสิ่งของที่อยากได้ยามสิ้นปี เพื่อเป็นหลักประกันว่าของที่ซื้อมาให้จะถูกใจผู้รับสักชิ้นหนึ่ง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (24 ธันวาคม 2555) กสทช.เชิญให้ผมไปร่วมแสดงความเห็นในเวทีเสวนาสาธารณะ “1 ปี กสทช. กับความ (ไม่) สมหวังของสังคมไทย” ทีแรกผมไม่คิดว่าตนเองจะสามารถไปวิจารณ์อะไรกสทช.ได้ แต่ผู้จัดยืนยันว่าต้องการมุมมองแบบมานุษยวิทยา ผมจึงตกปากรับคำไป 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&catid=&subcatid=) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้