Skip to main content

ผมอ่านเรื่องการขายข้าวของ บก.ลายจุด ไปขัดใจคนอีกฝั่งหนึ่งแล้ว ทีแรกก็ไม่ค่อยอยากสนใจนัก เพราะ บก.ลายจุด ขยับทำอะไรที ฝ่ายนั้นก็คอยจ้องโจมตีเรื่อยไปจนน่าเบื่อไปแล้ว แต่พอเสธ.ไก่อูมาสนใจการขายข้าวของ บก.ลายจุด ผมว่า อ้อ อย่างนี้นี่เอง ทำไมการขายข้าวของ บก.ลายจุด จึงน่าสนใจขึ้นมาได้

ก็ไม่ใช่ว่าผมจะมองไม่ออกหรอกนะครับว่า การขายข้าวของ บก.ฯ จะมีนัยอย่างไร เพียงไม่นึกไม่ถึงว่าจะมีพลังมากขนาดนี้ ขอบันทึกเพื่อความเข้าใจของตัวเองว่าอย่างนี้ก็แล้วกันครับ (เพื่อความเข้าใจของตนเองนะครับ ใครเห็นว่าไม่เห็นจะมีประเด็นอะไร ไม่เห็นจะต้องมาเขียนอะไร ก็ไม่เห็นจะต้องอ่าน ผ่านเลยไปครับ)  

หนึ่ง ผมว่า บกฯ ฉลาดเรื่องปฏิบัติการเชิงสัญลักษณ์เสมอๆ ตั้งแต่การเป็นคนเริ่มใส่เสื้อแดงเป็นคนแรก โดยอาศัยคำขวัญ "วันอาทิตย์สีแดง" ผมยังจำคลิปที่ บกฯ ใส่เสื้อแดงพุงกลมไปเล่นละครใบ้ที่สีลมได้ สุดท้าย เสื้อแดงกลายเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ใหญ่ที่สุดขบวนการหนึ่งในประเทศไทยในรอบทศวรรษ 2540-2550 (ก่อนหน้านี้มีขบวนการสมัชชาคนจน กับขบวนการพันธมิตรฯ ที่เรียกร้อง ม.7)  

สอง อีกระดับหนึ่งที่ผมว่าน่าประทับใจคือ บก.ฯ เก่งเรื่องการริเริ่มสร้างความหมายทางการเมืองจากวัฒนธรรมสามัญ อย่างการชวนคนไปกินแฮมเบอร์เกอร์ ผมถามคนสนิทกับ บก.ฯ มากคนหนึ่งว่า ตกลง บก.ฯ ชอบกินแฮมเบอร์เกอร์ จริงๆ เหรอ คนนั้นตอบว่า เท่าที่รู้ไม่เห็นเคยชอบนะ แต่ในเมื่อพื้นที่ตรงนั้นมันเป็นพื้นที่ใจกลางสัญลักษณ์ของการต่อต้านเผด็จการไปแล้วในระยะหนึ่ง ร้านแฮมเบอร์เกอร์นั้นก็เลยกลายสภาพไปเป็นที่นัดชุมนุมทางการเมืองไปด้วยในตัว วิธีทำนองเดียวกันนี้ภายหลังกลุ่มนักศึกษาก็ใช้เช่นกัน แต่ผมว่าพวกเขาคงไม่ได้เอาอย่าง บก.ฯ หรอก เพียงแต่มันคล้ายกัน 

สาม บกฯ สื่อสารกับคนด้วยภาษาง่ายๆ ได้ดี เมื่อก่อน ซึ่งไม่นานมานี้นักหรอก ผมว่า บก.ฯ เป็นคนพูดไม่เก่งนะ ผมเคยฟัง บก.ฯ พูดอภิปรายในบางเวที ผมฟังแทบไม่เข้าใจเลย หรือเป็นเพราะเวทีนั้นเป็นเวทีวิชาการก็ไม่รู้ หรือจะเพราะ บก.ฯ เคยถนัดแต่ละครใบ้ก็ไม่รู้ แต่หลังๆ มา บก.ฯ สื่อสารเก่งมาก ทักษะในการพูดของ บก.ฯ นี่ ในวงอภิปรายหรือรายการทีวีที่ไปร่วมเวทีกันทีไร (นึกๆ แล้วก็แปลกดีที่ไปร่วมเวทีเดียวกับ บก.ฯ อย่างน้อย 3-4 ครั้ง) ถ้าผมต้องพูดหลัง บก.ฯ ละก็ ต้องหามุกหลบไปเป็นวิชาการจ๋าๆ เลยทุกที  

สี่ เรื่องการสื่อสาร มีรายละเอียดที่สำคัญอีกคือ ตรรกของ บก.ฯ มักจะแหวกแนว มีเวทีนึง ผมไปร่วมเวทีกับ บก.ฯ และผู้ร่วมอภิปรายคนอื่นๆ อีก 2-3 คน เป็นเรื่องการศึกษาในมหาวิทยาลัย ทุกคนวิจารณ์ระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยที่เป็นอยู่ โดยนัยที่ว่าจะปรับปรุงมันยังไง พอถึงคิว บก.ฯ บก.ฯ บอก "ผมว่าเราน่าจะสร้างมหาวิทยาลัยแบบใหม่" แล้ว บก.ฯ ก็หันมาชวนผมว่าให้ยกเลิกหรือลาออกจากมหาวิทยาลัยปัจจุบันไปตั้งมหาวิทยาลัยแบบใหม่กันดีกว่า บก.ฯ เก่งเรื่องการคิดแหวกแนวมาก แล้วแกคิดจริงจังด้วย ไม่ใช่แค่คิดหรือพูดลอยๆ คือจริงจังแบบมีแนวทางมีแผนงานที่ใกล้จะทำจริงได้เลย 

ห้า (ชักเยอะแล้วนี่) มุกใหม่ของ บก.ฯ เรื่องการขายข้าวนี่ ที่จริงก็ต่อเนื่องมาจากการขายนาฬิกา ผมนั่งดู บก.ฯ ขายนาฬิกา ซึ่งก็เคยเห็นอยู่เรือนหนึ่งในบ้านคนรู้จักกันดี "แถวนี้" แล้ว ผมก็ว่า บก.ฯ คงใจเย็น คือค่อยๆ ขายทั้งสินค้าและความคิดไปแบบเรื่อยๆ เรียงๆ แต่พอกระโดดมาขายข้าวนี่ ผมว่า "มันใช่เลย" ยิ่งเสธ.ไก่อู เริ่มกระแนะกระแหนในลีลาทหารดีแต่ปากนี่ ผมว่า บก.ฯ ขายของออกแล้ว ผมว่านี่เป็นการแปลงวิธีการแบบที่คนเมืองเข้าใจได้มาเป็นขบวนการทางสังคมได้อย่างชาญฉลาดอีกครั้งหนึ่ง เป็นการแปลงตรรกแบบการตลาดมาเป็นพลังของผู้ด้อยอำนาจอย่างแยบคาย 

ขายของต่อไปครับ บก.ฯ ผมทำอะไรแบบ บก.ฯ ไม่เป็นสักอย่าง ทำได้แค่หาทางทำให้ตัวเองเข้าใจ บก.ฯ แบบที่ขีดๆ เขียนๆ มาเท่านั้นเอง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระดับภูมิภาคซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ การปกครองส่วนภูมิภาค สภาองค์กรชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในแต่ละปี ผมมักไปร่วมสัมภาษณ์นักเรียนเพื่อเข้าศึกษาในคณะในมหาวิทยาลัยที่ผมสอนประจำอยู่โดยไม่ได้ขาด เสียดายที่ปีนี้มีโอกาสสัมภาษณ์นักเรียนเพียงไม่กี่คน เพราะติดภาระกิจมากมาย แต่ก็ยังดีที่ได้สัมภาษณ์อย่างจริงจังถึง 10 คนด้วยกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การเสียชีวิตของเด็กหญิงบนรถไฟทำให้สังคมไทยสะเทือนใจกันไปทั่ว แต่ที่น่าสะเทือนใจไม่น้อยไปกว่าความสูญเสียดังกล่าวคือ การแสดงออกของสังคม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็นสังคมอาชญากรรมในหลายๆ ประการ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวัยเยาว์ ผมเริ่มสงสัยง่าย ๆ ว่า ในหัวของแต่ละคนคิดอะไรอยู่ จึงได้ทำให้คนแตกต่างกันหรือเหมือนกัน ผมพยายามค้นหาว่าความรู้ชนิดใดกันที่จะทำให้เข้าใจความคิดในหัวคนได้ แรก ๆ ก็เข้าใจว่าศาสนาจะช่วยให้เข้าใจได้ ต่อมาก็คือจิตวิทยา แต่ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ แล้วมาสนใจประวัติศาสตร์และปรัชญา ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ถูกใจ สุดท้ายผมได้เจอกับวิชาที่น่าสนใจว่าน่าจะช่วยให้เข้าใจทัศนคติได้ดี นั่นก็คือวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมสงสัยว่า บุคคลที่น่านับถือจำนวนมากที่ยินยอมตอบรับหรือเสนอตัวเข้าร่วมกับคณะรัฐประหาร ในคณะกรรมการต่างๆ มากมายนั้น ทั้งโดยออกนอกหน้าและเสนอตัวว่าขอทำงานอย่างลับๆ พวกเขาเข้าร่วมด้วยหลักการอะไร 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมพยายามครุ่นคิดอยู่นานว่า ทำไมคนไทยกลุ่มหนึ่งจึงโกรธนักโกรธหนาที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาประณามและต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่พวกเขานั้นเป็นทาสฝรั่งเหล่านี้มากที่สุดในประเทศนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการสันติศึกษาเหล่านี้*ท่านคงไม่ได้ติดตามข่าว ขณะนี้ไม่มีใครพูดถึงมาตรา 7 กันแล้ว ฝ่ายที่จะพยายามตั้งรัฐบาล ทั้ง กปปส. และพรรคพวก และการดำเนินงานของประธานวุฒิสภาเถื่อน (เพราะยังไม่ได้รับการโปรดเกล้า ทำเกินอำนาจหน้าที่) ในขณะนี้ ไม่ได้สนใจข้อกฎหมายมาตราใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาเพียงพยายามหาเสียงสนับสนุนจากสังคมโดยไม่ใยดีกับเสียงคัดค้าน ไม่ใยดีกับข้อกฎหมาย เพื่อที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของเขาเท่านั้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (8 พค. 57) ผมข้องเกี่ยวอยู่กับภาพยนตร์ในหลายๆ ลักษณะ ตอนเช้า สัมภาษณ์นักศึกษาสอบเข้าปริญญาโทสาขามานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ น่าแปลกใจที่ผู้เข้าสอบหลายต่อหลายคนสนใจภาพยนตร์ ตกบ่าย ไปชมภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"ตามคำเชิญของ "คุณสืบ" และ "คุณเปีย" ผู้กำกับและตากล้องภาพยนตร์เรื่อง "วังพิกุล"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 12 เพิ่งจบสิ้นลงไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (22-24 เมษายน ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย) ผมไปประชุมครั้งนี้อย่างเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องเตรียมตัวเสนอบทความตนเองหนึ่งชิ้น และร่วมในห้องเสวนาโต๊ะกลมอีกสองห้อง ทุกรายการอยู่คนละวัน ผมก็เลยต้องพูดทุกวันทั้งสามวัน