Skip to main content

เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"

ไม่ใช่ว่าธรรมศาสตร์จะไม่มีใครให้เชิดชูกัน ชื่อ ปรีดี ป๋วย ถูกเอ่ยถึงอยู่เสมอๆ แต่ถ้าถามว่า ธรรมศาสตร์มีใครเป็นชื่อที่คงความเป็นคนหนุ่มสาว ดุจดั่งเป็นอมตะแบบจิตรอยู่บ้าง ผมยังนึกชื่อใครไม่ออก นอกจากที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเมื่อเขาตายแล้ว ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะอมตะแบบจิตรหรือไม่ แต่จะพูดเรื่องจิตรหรือประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์มากก็เสี่ยงที่จะเป็นการเรียกแขกไปเสียเปล่าๆ อย่าพูดมากเลยดีกว่า 

ที่จริงในโอกาสนี้ ผมแค่อยากแนะนำหนังสือ "จิตร ภูมิศักดิ์ : ความทรงจำและคนรุ่นใหม่" (2557) ที่มีอาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐเป็นบรรณาธิการ หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความและบทนำเสนอต่างๆ ในงานสัมมนาครบรอบ 80 ปีจิตร ภูมิศักดิ์ที่อักษรฯ จุฬาฯ เมื่อปี 2553 ในงานนั้น มีผลงานหลายชิ้นที่น่าตื่นตาตื่นใจมาก มีทั้งการมองจิตรในมิติของการเป็นนักต่อสู้ นักปฏิวัติ นักวิชาการด้านต่างๆ และจิตรที่ถูกจดจำหรือถูกลืม ลองติดตามอ่านกันได้ครับ 

  

ผมรอคอยหนังสือเล่มนี้มานาน ทั้งอยากเห็นผลงานตัวเอง และอยากใช้ให้นักศึกษาอ่าน ไม่ทราบว่าแอบพิมพ์ออกมาเมื่อไหร่ เพราะหลังจากสัมมนากันตั้งแต่เมื่อปี 2553 ผมก็เฝ้ารอมาตลอด แต่เมื่อพิมพ์ออกมาแล้ว ตามปีที่ระบุคือ 2557 คือปีกลาย ผมก็ยังไม่เห็นตัวเล่มเลย เพิ่งมาเห็นเมื่อค้นรายชื่อหนังสือในห้องสมุดที่ธรรมศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้เอง ทางผู้จัดพิมพ์คืออาจารย์ยิ้ม สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ คงจะจัดส่งให้ผมแล้วในระหว่างที่ผมไม่ได้อยู่ประเทศไทย 

ไหนๆ ก็พูดถึงตัวเองแล้ว ขอเล่าย้อนหลังว่า ผมเขียนถึงจิตรใน 2 วาระและเป็นการวิจารณ์งานสำคัญ 2 ชิ้นด้วยกัน ในปี 2547 คือเปิดตัว "กองทุนจิตร ภูมิศักดิ์" ผมเขียนบทวิจารณ์หนังสือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" คราวนั้น "ศิลปวัฒนธรรม" กรุณานำไปพิมพ์ พอ 80 ปีจิตร สำนักพิมพ์ "ฟ้าเดียวกัน" ผู้จัดพิมพ์หนังสือชุดผลงานของจิตรตั้งแต่เริ่มตั้งกองทุน กรุณาชวนเชิญผมไปร่วมสัมมนาในงาน 80 ปี ซึ่งก็ทำให้ผมได้อ่านและเขียนบทวิจารณ์ต่อบทวิจารณ์วรรณกรรมเรื่อง "โองการแช่งน้ำ" โดยจิตร ภูมิศักดิ์ (ซึ่งฟ้าเดียวกันนำมาจัดพิมพ์ใหม่) อย่างจริงจัง  

ผมพาดพิงถึงจิตรบ่อยๆ ในงานของผม หรือไม่ก็มีจิตรเป็นคู่สนทนาหลายครั้ง ก็เนื่องจากว่างานการศึกษาเรื่องกลุ่มชาติพันธ์ุ เรื่องคนไทนอกประเทศไทย และเรื่องภาษาและอักษรของจิตรนั้น อยู่ในอาณาบริเวณความรู้ที่ผมต้องถกเถียงด้วยเสมอ งานของจิตรที่ผมมักสนใจจึงเป็นงานในช่วงหลังของเขา   

อาจารย์สุธาชัยเล่าในงานสัมมนาเมื่อปี 2553 ว่า งานที่ผมสนใจเป็นงานช่วงที่จิตรอยู่ในคุก ซึ่งจิตรค้นคว้าด้านมานุษยวิทยาและภาษาศาสตร์มากขึ้น นอกจาก "ความเป็นมาฯ" และ "โองการแช่งน้ำ" แล้ว เขายังศึกษาภาษาละหุ งานช่วงนี้จึงค่อนข้างแตกต่างจากงานศึกษาประวัติศาสตร์ไทยแนวมาร์กซิสม์อย่าง "โฉมหน้าศักดินาไทย" หรือ "สังคมไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยอยุธยา"    

ในหลายโอกาสที่ได้สนทนากับคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ "พี่สุจิตต์" บอกเสมอว่า งานของจิตรมีอิทธิพลต่อความคิดของเขามาก และในหลายๆ เรื่องก็ไม่เคยเจอใครเสนออะไรแบบที่จิตรเสนอมาก่อน นักประวัติศาสตร์ที่ผมขอไม่เอ่ยนามในที่นี้คนหนึ่งเคยกล่าวกับผมมานานแล้วว่า งานของจิตรด้านภาษานั้น ทำให้นักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องเมืองไทยพบกับเพดาน คือไม่สามารถประเมินงานเขาได้ ผมเองเพียงหาช่องในการทั้งเข้าใจเขาและอ่านงานจิตรเพื่อสร้างบทสนทนาขยายความรู้ต่อไป  

หากนับว่าใครเป็นครู ผมก็จะนับจิตรคนหนึ่งล่ะที่เป็นครูของผม เพียงแต่ผมถือว่าครูไม่ได้เอาไว้บูชากราบไหว้บนหิ้ง แต่ครูมีไว้ให้เราสนทนาด้วยและก้าวข้ามเพดานความรู้ของครู หากใครอ่านงานของจิตรอย่างจริงจัง ก็คงจะได้เห็นวิธีการทำงานท้าทายครูของจิตรไปด้วยเช่นกัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
นี่เป็นข้อเขียนภาคทฤษฎีของ "การเมืองของนักศึกษาปัจจุบัน" หากใครไม่ชอบอ่านทฤษฎีก็ขอร้องโปรดมองข้ามไปเถอะครับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จริงหรือที่นักศึกษาไม่สนใจการเมือง ขบวนการนักศึกษาตายแล้วจริงหรือ ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าการถกเถียงเรื่องเครื่องแบบ เรื่องทรงผม เรื่องห้องเรียน เป็นเรื่องการเมืองได้อย่างไร แล้วดูแคลนว่ามันเป็นเพียงเรื่องเสรีภาพส่วนตัว เรื่องเรียกร้องเสรีภาพอย่างเกินเลยแล้วล่ะก็ คุณตกขบวนการเมืองของยุคสมัยไปแล้วล่ะ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในวาระที่กำลังจะมีการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบุคคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ผู้หนึ่ง ผมขอเสนอ 5 เรื่องเร่งด่วนที่อธิการบดีคนต่อไปควรเร่งพิจารณา เพื่ิอกอบกู้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กลับมาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ เป็นบ่อน้ำบำบัดผู้กระหายความรู้ และเป็นสถาบันที่เคียงข้างประชาชนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บันทึกประกอบการพูดเรื่อง "การศึกษาไทย" เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเสนอว่าเรากำลังต่อสู้กับสามลัทธิคือ ลัทธิบูชาชาติ-ศาสน์-กษัตริย์ ลัทธิล่าปริญญา และลัทธิแบบฟอร์ม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"การศึกษาไทยไทย: ความสำเร็จหรือความล้มเหลว" เป็นโจทย์ที่นักกิจกรรมทางสังคมรุ่นใหม่ตั้งขึ้นอย่างท้าทาย พวกเขาท้าทายทั้งระบบการเรียนการสอน วัฒนธรรมการศึกษา เนื้อหาในหลักสูตร และระบบสังคมในสถานศึกษา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะที่ร่วมก่อตั้งและร่วมงานกับ "ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53" (ศปช.) ผมอดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบสปิริตของการทำงานของ ศปช. กับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ว่ามองหลักสิทธิมนุษยชนต่างกันอย่างไร อย่างไรก็ดี นี่เป็นทัศนะและหลักการของผมเองในการร่วมงานกับ ศปช. ซึ่งอาจแตกต่างจากสมาชิกคนอื่นบ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
คำตัดสินของศาลอาญาในกรณี 6 ศพวัดประทุมฯ ชวนให้นึกถึงภาพถ่ายเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ที่ใต้ต้นมะขามต้นหนึ่งที่สนามหลวง นอกจากภาพชายคนที่ใช้เก้าอี้ตีศพที่ถูกแขวนคอใต้ต้นมะขามแล้ว ภาพผู้คนที่รายล้อมต้นมะขามซึ่งแสดงอาการเห็นดีเห็นงามหรือกระทั่งสนับสนุนอยู่นั้น สะเทือนขวัญชาวโลกไม่น้อยกว่าภาพชายใช้เก้าอี้ทำร้ายศพ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเคยนั่งในพิธีรับปริญญาบัตรในฐานะผู้รับและในมุมมองของผู้ให้มาแล้ว แต่ไม่เคยได้นั่งในพิธีในฐานะผู้สังเกตการณ์จากบนเวทีแบบเมื่อครั้งที่ผ่านมานี้มาก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ปฐมลิขิต: ใครรังเกียจทฤษฎี เกลียดงานเขียนแบบหอคอยงาช้าง ไม่ต้องพลิกอ่านก็ได้นะครับ และเวลาผมใส่วงเล็บภาษาอังกฤษหรืออ้างนักคิดต่างๆ นี่ ไม่ได้จะโอ่ให้ดูขลังนะครับ แต่เพื่อให้เชื่อมกับโลกวิชาการสากลได้ ให้ใครสนใจสืบค้นอ่านต่อได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จะว่าไป กสทช. คนที่แสดงความเห็นต่อเนื้อหาละครฮอร์โมนนั้น ดูน่าจะเป็นคนที่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจสังคมได้มากที่สุดในบรรดา กสทช. ทั้ง 11 คน เพราะเขามีดีกรีถึงปริญญาเอกทางสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยโด่งดังในเยอรมนี ต่างจากคนอื่นๆ ที่ถ้าไม่ใช่เพราะเป็นทหารหรือใครที่สมยอมกับการรัฐประหารปี 2549 แล้ว ก็เป็นช่างเทคนิคทางด้านการสื่อสาร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ผู้หญิงท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า "ไม่รู้อาจารย์ผู้ชายทนสอนหนังสือต่อหน้านักศึกษานุ่งสั้นที่นั่งเปิดหวอหน้าห้องเรียนได้อย่างไร" สำหรับผม ก็แค่เห็นนักศึกษาเป็นลูกเป็นหลานก็เท่านั้น แต่สิ่งยั่วยวนในโลกทางวิชาการมีมากกว่านั้นเยอะ และบางทีจะยิ่งหลบเลี่ยงยากยิ่งกว่าการสร้าง incest taboo ในจินตนาการขึ้นมาหน้าห้องเรียน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักเรียนมนุษยศาสตร์จำนวนมากสนใจวิธีการและทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แต่นักสังคมศาสตร์เขาตั้งท่าทำวิจัยกันอย่างไร แล้วหากนักมนุษยศาสตร์จะใช้วิธีการและทฤษฎีแบบสังคมศาสตร์บ้างจะทำอย่างไร