Skip to main content

เมื่อปี 2553 เป็นปีครบรอบวันเกิด 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ มีการจัดงานรำลึกใหญ่โตที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเอ่ยถึงจิตรทีไร ผมก็มักเปรยกับอาจารย์ประวัติศาสตร์จุฬาฯ ท่านหนึ่งว่า "น่าอิจฉาที่จุฬาฯ มีวิญญาณของความหนุ่ม-สาวผู้ชาญฉลาดและหล้าหาญอย่างจิตรอยู่ให้ระลึกถึงเสมอๆ" อาจารย์คณะอักษรฯ ที่ผมเคารพรักท่านนี้ก็มักย้อนบอกมาว่า "ธรรมศาสตร์ก็ต้องหาคนมาเชิดชูของตนเองบ้าง"

ไม่ใช่ว่าธรรมศาสตร์จะไม่มีใครให้เชิดชูกัน ชื่อ ปรีดี ป๋วย ถูกเอ่ยถึงอยู่เสมอๆ แต่ถ้าถามว่า ธรรมศาสตร์มีใครเป็นชื่อที่คงความเป็นคนหนุ่มสาว ดุจดั่งเป็นอมตะแบบจิตรอยู่บ้าง ผมยังนึกชื่อใครไม่ออก นอกจากที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเมื่อเขาตายแล้ว ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะอมตะแบบจิตรหรือไม่ แต่จะพูดเรื่องจิตรหรือประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์มากก็เสี่ยงที่จะเป็นการเรียกแขกไปเสียเปล่าๆ อย่าพูดมากเลยดีกว่า 

ที่จริงในโอกาสนี้ ผมแค่อยากแนะนำหนังสือ "จิตร ภูมิศักดิ์ : ความทรงจำและคนรุ่นใหม่" (2557) ที่มีอาจารย์สุธาชัย ยิ้มประเสริฐเป็นบรรณาธิการ หนังสือเล่มนี้รวบรวมบทความและบทนำเสนอต่างๆ ในงานสัมมนาครบรอบ 80 ปีจิตร ภูมิศักดิ์ที่อักษรฯ จุฬาฯ เมื่อปี 2553 ในงานนั้น มีผลงานหลายชิ้นที่น่าตื่นตาตื่นใจมาก มีทั้งการมองจิตรในมิติของการเป็นนักต่อสู้ นักปฏิวัติ นักวิชาการด้านต่างๆ และจิตรที่ถูกจดจำหรือถูกลืม ลองติดตามอ่านกันได้ครับ 

  

ผมรอคอยหนังสือเล่มนี้มานาน ทั้งอยากเห็นผลงานตัวเอง และอยากใช้ให้นักศึกษาอ่าน ไม่ทราบว่าแอบพิมพ์ออกมาเมื่อไหร่ เพราะหลังจากสัมมนากันตั้งแต่เมื่อปี 2553 ผมก็เฝ้ารอมาตลอด แต่เมื่อพิมพ์ออกมาแล้ว ตามปีที่ระบุคือ 2557 คือปีกลาย ผมก็ยังไม่เห็นตัวเล่มเลย เพิ่งมาเห็นเมื่อค้นรายชื่อหนังสือในห้องสมุดที่ธรรมศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้เอง ทางผู้จัดพิมพ์คืออาจารย์ยิ้ม สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ คงจะจัดส่งให้ผมแล้วในระหว่างที่ผมไม่ได้อยู่ประเทศไทย 

ไหนๆ ก็พูดถึงตัวเองแล้ว ขอเล่าย้อนหลังว่า ผมเขียนถึงจิตรใน 2 วาระและเป็นการวิจารณ์งานสำคัญ 2 ชิ้นด้วยกัน ในปี 2547 คือเปิดตัว "กองทุนจิตร ภูมิศักดิ์" ผมเขียนบทวิจารณ์หนังสือ "ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" คราวนั้น "ศิลปวัฒนธรรม" กรุณานำไปพิมพ์ พอ 80 ปีจิตร สำนักพิมพ์ "ฟ้าเดียวกัน" ผู้จัดพิมพ์หนังสือชุดผลงานของจิตรตั้งแต่เริ่มตั้งกองทุน กรุณาชวนเชิญผมไปร่วมสัมมนาในงาน 80 ปี ซึ่งก็ทำให้ผมได้อ่านและเขียนบทวิจารณ์ต่อบทวิจารณ์วรรณกรรมเรื่อง "โองการแช่งน้ำ" โดยจิตร ภูมิศักดิ์ (ซึ่งฟ้าเดียวกันนำมาจัดพิมพ์ใหม่) อย่างจริงจัง  

ผมพาดพิงถึงจิตรบ่อยๆ ในงานของผม หรือไม่ก็มีจิตรเป็นคู่สนทนาหลายครั้ง ก็เนื่องจากว่างานการศึกษาเรื่องกลุ่มชาติพันธ์ุ เรื่องคนไทนอกประเทศไทย และเรื่องภาษาและอักษรของจิตรนั้น อยู่ในอาณาบริเวณความรู้ที่ผมต้องถกเถียงด้วยเสมอ งานของจิตรที่ผมมักสนใจจึงเป็นงานในช่วงหลังของเขา   

อาจารย์สุธาชัยเล่าในงานสัมมนาเมื่อปี 2553 ว่า งานที่ผมสนใจเป็นงานช่วงที่จิตรอยู่ในคุก ซึ่งจิตรค้นคว้าด้านมานุษยวิทยาและภาษาศาสตร์มากขึ้น นอกจาก "ความเป็นมาฯ" และ "โองการแช่งน้ำ" แล้ว เขายังศึกษาภาษาละหุ งานช่วงนี้จึงค่อนข้างแตกต่างจากงานศึกษาประวัติศาสตร์ไทยแนวมาร์กซิสม์อย่าง "โฉมหน้าศักดินาไทย" หรือ "สังคมไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยอยุธยา"    

ในหลายโอกาสที่ได้สนทนากับคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ "พี่สุจิตต์" บอกเสมอว่า งานของจิตรมีอิทธิพลต่อความคิดของเขามาก และในหลายๆ เรื่องก็ไม่เคยเจอใครเสนออะไรแบบที่จิตรเสนอมาก่อน นักประวัติศาสตร์ที่ผมขอไม่เอ่ยนามในที่นี้คนหนึ่งเคยกล่าวกับผมมานานแล้วว่า งานของจิตรด้านภาษานั้น ทำให้นักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องเมืองไทยพบกับเพดาน คือไม่สามารถประเมินงานเขาได้ ผมเองเพียงหาช่องในการทั้งเข้าใจเขาและอ่านงานจิตรเพื่อสร้างบทสนทนาขยายความรู้ต่อไป  

หากนับว่าใครเป็นครู ผมก็จะนับจิตรคนหนึ่งล่ะที่เป็นครูของผม เพียงแต่ผมถือว่าครูไม่ได้เอาไว้บูชากราบไหว้บนหิ้ง แต่ครูมีไว้ให้เราสนทนาด้วยและก้าวข้ามเพดานความรู้ของครู หากใครอ่านงานของจิตรอย่างจริงจัง ก็คงจะได้เห็นวิธีการทำงานท้าทายครูของจิตรไปด้วยเช่นกัน

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมไม่แน่ใจว่านโยบายยุบโรงเรียนขนาดเล็กนี้จะดีหรือไม่ สงสัยว่า "คิดดีแล้วหรือที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก" ในทางเศรษฐศาสตร์แบบทื่อๆ คงมี "จุดคุ้มทุน" ของการจัดการศึกษาอยู่ระดับหนึ่ง ตามข่าว ดูเหมือนว่าควรจะอยู่ที่การมีนักเรียนโรงเรียนละ 60 คน แต่คงมีเหตุผลบางอย่างที่โรงเรียนตามพื้นที่ชนบทไม่สามารถมีนักเรียนมากขนาดนั้นได้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ตอนนี้เถียงกันมากเรื่องกะหรี่ ว่ากันไปมาจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายก็หนีไม่พ้นเอาคำเดียวกัน หรือทัศนะคติเหยียดเพศหญิงเช่นเดียวกันมาด่ากัน ฝ่ายหนึ่งด่าอีกฝ่ายว่า "อีกะหรี่" อีกฝ่ายหนึ่งด่ากลับว่า "แม่มึงสิเป็นกะหรี่" หรือ "ไปเอากระโปรงอีนั่นมาคลุมหัวแทนไป๊" ตกลงก็ยังหนีไม่พ้นสังคมที่ดูถูกเพศหญิงอยู่ดี
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงสั้นๆ ของชีวิตผมมีโอกาสได้รู้จักคนในแวดวงนักเขียนรูป ผ่านครูสอนวาดเส้นให้ผมคนหนึ่ง ครูผมคนนี้มีเพื่อนคนหนึ่งที่เขาสนิทสนมกันดี ชื่อไสว วงษาพรหม เมื่อคืน ได้สนทนากับคนในแวดวงศิลปะ ที่เรือนชานแห่งหนึ่งที่มีไมตรีให้เพื่อนฝูงเสมอ ผมจึงเพิ่งทราบว่าไสวเสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ลอง google ดูพบว่าเขาเสียชีวิตเมื่อ 22 สิงหาคม 2551
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทำไม "เหี้ย ควย หี เย็ด" จึงกลายเป็นภาพเขียนชุดล่าสุดของศิลปินเขียนภาพชั้นนำของไทย ทำไม "กะหรี่" จึงเป็นส่วนหนึ่งของข้อเขียนนักเขียนการ์ตูนผู้ทรงอิทธิพลของไทย ทำไมนักเศรษฐศาสตร์ไทยชั้นนำจึงเขียนคำ "อยากเอา" เป็นความเห็นประกอบภาพวิจารณ์นักการเมือง ทำไมภาษาแบบนี้จึงกลายมาเป็นภาษาทางการเมืองของคนที่มีความสามารถในการสื่อสารเหนือคนทั่วไปเหล่านี้ หลายคนวิเคราะห์แล้วว่า เพราะพวกเขาเร่ิมจนแต้มทางการเมือง "เถียงสู้อีกฝ่ายไม่ได้ก็เลยด่าแม่งไป"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วานนี้ (29 เมษายน 2556) "ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา" และ "ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดอภิปราย "สู่สันติภาพในอุษาคเนย์" งานนี้จัดท่ามกลางบรรยากาศการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับ BRN
ยุกติ มุกดาวิจิตร
“นักวิชาการเสื้อแดง” เป็นเสมือนตำแหน่งทางวิชาการอย่างหนึ่ง การตีตราตำแหน่งนี้สะท้อนความเฉยชาและคับแคบต่อปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมของปัญญาชนไทย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานเพ่ิงดูพี่ "มากขา" หลายขา แล้วก็อยากมีความเห็นอย่างใครๆ เขาบ้าง ส่วนใครที่ยังไม่ได้ดูแล้วกำลังคิดจะไปดู ก็อย่าเพ่ิงอ่านครับ เดี๋ยวจะเซ็งเสียก่อน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทุกๆ ปี ผมสอนวิชา “ชาติพันธ์ุ์นิพนธ์: การวิพากษ์และการนำเสนอแนวใหม่” ระดับปริญญาตรี ผมออกแบบให้วิชานี้เป็นการศึกษาแบบสัมมนา มีการแลกเปลี่ยนความเห็นของนักศึกษามากกว่าการบรรยายของผู้สอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อสองวันก่อน มีคนที่สนใจนโยบายรถไฟความเร็วสูงคนหนึ่งถามผมว่า "อาจารย์รู้ไหมว่า โอกาสที่รถไฟไทยจะตรงเวลามีเท่าไหร่" ผมตอบ "ไม่รู้หรอก" เขาบอกว่า "มีเพียง 30%" 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ปีใหม่" เป็นจินตกรรมของเวลาที่กำหนดการสิ้นสุดและการเริ่มต้น ศักราช เวลาของสังคม การจัดระบบของเวลา ล้วนมีเทศกาลกำกับ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
น่าละอายใจที่สภาผู้แทนราษฎรปัดตกข้อเสนอของประชาชนกว่าสามหมื่นคนที่เสนอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถ้าบอกกันตรงๆ ว่า "กลัวอ่ะ" ก็จบ ประชาชนอาจจะให้อภัยความปอดแหกได้ แต่ประชาชนส่วนหนึ่งจะตัดสินใจไม่เลือกพวกคุณเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ อีกอย่างแน่นอน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ยามหมดปีการศึกษาทีไร ก็ชวนให้ทบทวนถึงหน้าที่การงานด้านการเรียนการสอนของตนเอง แต่ผมทำตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ สกอ. ให้ทำไม่เป็นหรอก เพราะมันไร้สาระ เป็นกลไกเกินไป และไม่ก่อประโยชน์อะไรนอกจากเปลืองกระดาษและน้ำหมึก ผมมักทำในแบบของผมเองนี่แหละ