Skip to main content

"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก

 

หนังสือเล่มนี้ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันเพิ่งได้รับมาจากผู้จัดทำ ในหนังสือระบุว่าเป็น New Testament ในภาษาเวียดนามและภาษาลาว ระบุว่าพิมพ์ปีค.ศ. 2014 ทางห้องสมุดขอให้ผมช่วยให้ความเห็นในการออกเสียงชื่อหนังสือเพื่อจัดทำระเบียนหนังสือ 

ตรงชื่อรองหรือ subtitle เขียนว่า "ความ หญัน ปาว ตอย ลวง ตาง เจ้า เซ (อักษรนี้ออกเสียงไทดำแบบ z ในภาษาอังกฤษ) ซู" นี่เขียนโดยไม่ตรงตามเสียงวรรณยุกต์เป๊ะๆ นะครับ น่าจะแปลได้ว่า "เรื่อง ข้อความ บอกเล่า ตาม แนว ทาง เจ้า เยซู" คำที่ผมไม่แน่ใจเพราะไม่เคยเห็นในภาษาไทดำคือคำว่า หญัน ผมเข้าใจว่าจะเป็นการดัดแปลงจากคำว่า nhắn ซึ่งแปลว่า "ข้อความ" จากภาษาเวียดนาม  

ที่น่าประหลาดใจคือ ผมเคยเห็นบางส่วนของไบเบิลฉบับภาษาไทดำอักษรไทดำมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนในระหว่างที่ทำวิจัยอยู่ในประเทศเวียดนาม แต่เห็นเพียงบางส่วนที่ถูกฉีกมา เพิ่งได้เห็นทั้งเล่มครั้งแรกในห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิสคอนซินนี่เอง แต่กลับกลายเป็นว่าหนังสือเพิ่งพิมพ์ในปี 2014  

เป็นไปได้ว่าในการพิมพ์ครั้งก่อน ก็อาจะระบุปีที่ตีพิมพ์ตามปีก่อนหน้านี้ หรือนี่อาจเป็นการพิมพ์โดยปรับปรุงใหม่ เพียงแต่ไม่มีรายละเอียดระบุไว้ หรืออาจจะเป็นการจัดทำโดยผู้จัดทำคนละกลุ่มกัน แต่ที่แน่ๆ คือในฉบับที่ผมเคยเห็นนั้น ใช้ font พิมพ์อักษรในระบบดิจิทัลชุดเดียวกันนี้ ผมจำฟอนต์นี้ได้ดีเพราะตนเองก็ใช้อยู่เสมอมา

 

สิ่งที่น่าสนใจคือการใช้ภาษาอธิบายเรื่องราวในไบเบิล เมื่อเปิดอ่านดูบางตอนก็พบว่าเข้าใจยากพอสมควร เนื่องจากเมื่อใช้ภาษาไทดำแปลหรืออธิบายเรื่องต่างๆ ในไบเบิลแล้ว ก็จะชวนให้หวนกลับไปหามโนทัศน์ที่มีในวัฒนธรรมไทดำ เช่น มโนทัศน์เรื่องผี มโนทัศน์เรื่องฟ้า รวมทั้งหลายๆ มโนทัศน์ที่ไม่มีในวัฒนธรรมไทดำเดิม เช่นคำว่า "เทวดา" ในหน้าแรกๆ ของไบเบิลนี้ซึ่งว่าด้วยกำเนิดพระเยซู ("เวน ออก เจ้า เซซู คาลิด") ที่ต้องมีคำอธิบายคำนี้ในเชิงอรรถโดยอิงกับภาษาลาวและภาษาเวียดนาม (ในที่นี้เรียกเป็นภาษาไทดำว่า "แกว") 

หากมีโอกาสได้อ่านมากขึ้นก็คงจะสนุกดีและได้ความรู้แปลกๆ ไม่น้อยในหลายๆ แง่ด้วยกัน ได้แก่ ในแง่ของการศึกษาเรื่องการแปล การถ่ายเทและดัดแปลงทางวัฒนธรรมและภาษา และเรื่องราวเบื้องหลังอื่นๆ อย่างการจัดทำไบเบิลนี้ การเผยแพร่ การเลือกใช้ภาษาและอักษร และการเมืองเรื่องศาสนาทั้งในกลุ่มไทดำเองและในถิ่นฐานของไทดำอย่างในเวียดนาม

นึกดูแล้วก็คิดว่าจะติดต่อขอผู้จัดทำมาไว้ที่ห้องสมุดในประเทศไทยสักชุดหนึ่ง เพื่อจะได้เอาไว้ศึกษากันต่อไป

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมเลี่ยงที่จะอ่านข่าวเกี่ยวกับมติครม.งดเหล้าเข้าพรรษาเพราะไม่อยากหงุดหงิดเสียอารมณ์ ไม่อยากมีความเห็น และไม่อยากต้องโดนด่าหลังแสดงความเห็น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อต้องกลับมาชวนคนอ่านงานของบรมครูทาง "วัฒนธรรมศึกษา" คนหนึ่ง ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรนัก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปแม่ฮ่องสอนสามวัน ค้างสองคืน เพื่อร่วมงาน "ไทใหญ่ศึกษา" ทั้งๆ ที่ไม่เคยไปมาก่อน ไม่รู้จักวัฒนธรรมไทใหญ่มาก่อน พอจะรู้จากการอ่านงานเรื่อง "ฉาน" เรื่องรัฐไทใหญ่ เรื่องประวัติศาสตร์บ้างนิดหน่อย จึงมิอาจให้ความเห็นใดๆ กับอาหารไทใหญ่ได้ ทำได้แค่เพียงบอกเล่า "ความประทับใจแรกเริ่ม" ในแบบที่นักชาติพันธ์ุนิพนธ์ทั่วไปมักทำกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไม่รู้เป็นอะไรกันนักหนากับเครื่องแต่งกายนักศึกษา จะต้องมีการประจาน จะต้องมีการให้คุณค่าบวก-ลบ จะต้องถือเป็นเรื่องจริงจังกันจนบางคณะถึงกับต้องนำเรื่องนี้เข้ามาเป็นวาระ "เพื่อพิจารณา" ในที่ประชุมคณาจารย์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อาจารย์ชาญวิทย์เกิดวันที่ 6 พฤษภาคม วันที่ 22 มิถุนายนนี้ ลูกศิษย์ลูกหาจัดงานครบรอบ 72 ปีให้อาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวานนี้ (12 มิถุนายน 2556) อาจารย์ที่คณะท่านหนึ่งเชิญไปบรรยายในวิชา "มนุษย์กับสังคม" หัวข้อ "สังคมศาสตร์กับความเข้าใจผู้คนและสังคม" ให้นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปี 1 ในห้องเรียนมีนักศึกษาราว
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ข้อเขียนนี้ถูกเผยแพร่ในอีกพื้นที่หนึ่งไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากเห็นว่าเข้ากับโอกาสของการเปิดภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงขอนำมาเสนออีกครั้งในที่นี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธ์ุอยู่หลากหลายกลุ่ม พวกเขาอาศัยอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และร่วมสร้างสังคม สร้างประวัติศาสตร์โบราณและสมัยใหม่อย่างขาดไม่ได้ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยมีนโยบายกลุ่มชาติพันธ์ุมาก่อน (ยาวนะครับ ถ้ายังอยู่ในโลก 8 บรรทัดโปรดอย่าอ่าน)
ยุกติ มุกดาวิจิตร
 มีคนบ่นว่า "ผ่านมาสามปีแล้ว ทำไมคนเสื้อแดงยังไปรวมตัวกันที่ราชประสงค์กันอีก นี่พวกเขาจะต้องระลึกถึงเหตุการณ์นี้กันไปจนถึงเมื่อไหร่" แล้วลงท้ายว่า "รถติดจะตายอยู่แล้ว ห้างต้องปิดกันหมด ขาดรายได้ นักท่องเที่ยวเดือดร้อน" นั่นสิ น่าคิดว่าทำไมการบาดเจ็บและความตายที่ราชประสงค์เมื่อพฤษภาคม 2553 มีความหมายมากกว่าโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งที่ผ่านมาก่อนหน้านี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เรียน ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เห็นนักคิดไทยสองคนออกมาเทศนาแล้วอดสงสัยไม่ได้ว่า "ทำไมนักคิดไทย พอแก่ตัวลงต้องไปจนแต้มที่วิธีคิดแบบพุทธๆ"