Skip to main content

"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก

 

หนังสือเล่มนี้ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันเพิ่งได้รับมาจากผู้จัดทำ ในหนังสือระบุว่าเป็น New Testament ในภาษาเวียดนามและภาษาลาว ระบุว่าพิมพ์ปีค.ศ. 2014 ทางห้องสมุดขอให้ผมช่วยให้ความเห็นในการออกเสียงชื่อหนังสือเพื่อจัดทำระเบียนหนังสือ 

ตรงชื่อรองหรือ subtitle เขียนว่า "ความ หญัน ปาว ตอย ลวง ตาง เจ้า เซ (อักษรนี้ออกเสียงไทดำแบบ z ในภาษาอังกฤษ) ซู" นี่เขียนโดยไม่ตรงตามเสียงวรรณยุกต์เป๊ะๆ นะครับ น่าจะแปลได้ว่า "เรื่อง ข้อความ บอกเล่า ตาม แนว ทาง เจ้า เยซู" คำที่ผมไม่แน่ใจเพราะไม่เคยเห็นในภาษาไทดำคือคำว่า หญัน ผมเข้าใจว่าจะเป็นการดัดแปลงจากคำว่า nhắn ซึ่งแปลว่า "ข้อความ" จากภาษาเวียดนาม  

ที่น่าประหลาดใจคือ ผมเคยเห็นบางส่วนของไบเบิลฉบับภาษาไทดำอักษรไทดำมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนในระหว่างที่ทำวิจัยอยู่ในประเทศเวียดนาม แต่เห็นเพียงบางส่วนที่ถูกฉีกมา เพิ่งได้เห็นทั้งเล่มครั้งแรกในห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิสคอนซินนี่เอง แต่กลับกลายเป็นว่าหนังสือเพิ่งพิมพ์ในปี 2014  

เป็นไปได้ว่าในการพิมพ์ครั้งก่อน ก็อาจะระบุปีที่ตีพิมพ์ตามปีก่อนหน้านี้ หรือนี่อาจเป็นการพิมพ์โดยปรับปรุงใหม่ เพียงแต่ไม่มีรายละเอียดระบุไว้ หรืออาจจะเป็นการจัดทำโดยผู้จัดทำคนละกลุ่มกัน แต่ที่แน่ๆ คือในฉบับที่ผมเคยเห็นนั้น ใช้ font พิมพ์อักษรในระบบดิจิทัลชุดเดียวกันนี้ ผมจำฟอนต์นี้ได้ดีเพราะตนเองก็ใช้อยู่เสมอมา

 

สิ่งที่น่าสนใจคือการใช้ภาษาอธิบายเรื่องราวในไบเบิล เมื่อเปิดอ่านดูบางตอนก็พบว่าเข้าใจยากพอสมควร เนื่องจากเมื่อใช้ภาษาไทดำแปลหรืออธิบายเรื่องต่างๆ ในไบเบิลแล้ว ก็จะชวนให้หวนกลับไปหามโนทัศน์ที่มีในวัฒนธรรมไทดำ เช่น มโนทัศน์เรื่องผี มโนทัศน์เรื่องฟ้า รวมทั้งหลายๆ มโนทัศน์ที่ไม่มีในวัฒนธรรมไทดำเดิม เช่นคำว่า "เทวดา" ในหน้าแรกๆ ของไบเบิลนี้ซึ่งว่าด้วยกำเนิดพระเยซู ("เวน ออก เจ้า เซซู คาลิด") ที่ต้องมีคำอธิบายคำนี้ในเชิงอรรถโดยอิงกับภาษาลาวและภาษาเวียดนาม (ในที่นี้เรียกเป็นภาษาไทดำว่า "แกว") 

หากมีโอกาสได้อ่านมากขึ้นก็คงจะสนุกดีและได้ความรู้แปลกๆ ไม่น้อยในหลายๆ แง่ด้วยกัน ได้แก่ ในแง่ของการศึกษาเรื่องการแปล การถ่ายเทและดัดแปลงทางวัฒนธรรมและภาษา และเรื่องราวเบื้องหลังอื่นๆ อย่างการจัดทำไบเบิลนี้ การเผยแพร่ การเลือกใช้ภาษาและอักษร และการเมืองเรื่องศาสนาทั้งในกลุ่มไทดำเองและในถิ่นฐานของไทดำอย่างในเวียดนาม

นึกดูแล้วก็คิดว่าจะติดต่อขอผู้จัดทำมาไว้ที่ห้องสมุดในประเทศไทยสักชุดหนึ่ง เพื่อจะได้เอาไว้ศึกษากันต่อไป

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อวาน (4 ตุลาคม 2560) นิสิตมหาวิทยาลัยหนึ่งโทรศัพท์มาสัมภาษณ์เรื่องการพิมพ์คำ "คะ" "ค่ะ" ผิดๆ ในโซเชียลมีเดียและการส่งข้อความต่างๆ บอกว่าจะเอาไปลงวารสารของคณะเธอ เธอถามว่าการใช้คำผิดแบบนี้มีนัยทางสังคมอย่างไร
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวาน (30 กันยายน 2560) นักศึกษาปริญญาโทชั้นเรียนมานุษยวิยาคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เขียนบทละครเรื่อง "The Dark Fairy Tales นิทานเรื่องนี้ไม่เคยเล่า" ชวนไปดูและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นหลังละครจบ ช่วยให้คิดอะไรเกี่ยวกับการอ่านนิทานได้อีกมากทีเดียวจึงอยากบันทึกไว้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสนทนาอย่างออกรสไม่ได้จะต้องอยู่ในบรรยากาศเคร่งขรึมในห้องเรียน ห้องสัมมนาเสมอไป ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่า การใช้เวลานอกห้องเรียน นอกห้องสัมมนาวิชาการ สำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้เวลาในห้องสี่เหลี่ยมที่มีระเบียบต่างๆ ควบคุมการสนทนาอย่างเคร่งครัดเกินไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
จากเหตุการณ์เข้ามาคุกคามพื้นที่ทางวิชาการของคณะทหารในการประชุมไทยศึกษานานาชาติครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่ จนทำให้นักวิชาการที่มาร่วมประชุมกลุ่มหนึ่งแสดงออกด้วยการชูป้าย "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" แล้วท้ายสุดมีนักวิชาการ 5 คนถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคนนอกเข้ามายุยงให้ต่อต้านรัฐบาล
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันแม่นำความกระอักกระอ่วนใจมาให้ผมตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแม่ในเพลง "ค่าน้ำนม" ที่เด็กในกรุงเทพฯ รุ่นผมถูกให้หัดร้องตามจนแทบจะจำเนื้อได้ทั้งเพลงมาตั้งแต่จำความได้ ไม่ตรงกับแม่ในชีวิตจริงของผม
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยคนหนึ่ง ผมไม่อาจยอมรับการกระทำของอาจารย์ต่อนิสิตด้วยความรุนแรงดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติแห่งหนึ่งได้ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้เกิดความผิดพลาดบางอย่างทำให้บทแนะนำอาจารย์แคทเธอรีน บาววี องค์ปาฐกคนหนึ่งของงานประชุมไทยศึกษาปีนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ได้ถูกนำเสนอในงานประชุม ในเมื่อผมเตรียมไปพูดแล้วแต่ไม่ได้พูด ก็ขอนำบันทึกที่ร่างไว้นี้มาเผยแพร่ในที่นี้แทนก็แล้วกัน 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"ฟ้าข้างในนี้กว้างกว่าข้างนอก ฟ้าในนี้กว้างจนแทบจะเห็นขอบฟ้า"
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้คงเป็นช่วงเขียนรายงาน เขียนวิทยานิพนธ์ของหลายๆ คน ผมเองช่วงนี้เป็นช่วงต้องอ่านงานนักศึกษามากมาย ที่สาหัสที่สุดคืองานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทและเอก 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมอ่านงานจิตรครั้งแรกๆ ก็ตอนที่เรียนมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ตอนนั้นเมื่อออกจากโลกโรงเรียนก็รู้สึกว่า โลกหนังสือของห้องสมุดธรรมศาสตร์ช่างกว้างใหญ่มาก กว้างใหญ่กว่าห้องสมุดแห่งชาติที่สมัยเรียนมัธยมผมชอบไปสิงอยู่มากนัก นี่กล่าวเฉพาะหนังสือที่น่าอ่านเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และศาสนา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (3 พค. 60) ผมไปวิจารณ์งานนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยซึ่งคณะราษฎรมีส่วนก่อตั้งเช่นกัน แต่สำคัญผิดกันไปว่าผู้อื่นมีบุญคุณมากกว่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
บางทีนามสกุลกับบทบาทความเป็นครูของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร คงไม่ทำให้คนสนใจครูฉลบเกินบทบาทไปกว่าการเป็นภรรยาของนายจำกัด พลางกูร และเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนดรุโณทยาน