Skip to main content

"ปับ เจียน ความ เจ้า ปัว ฟ้า" แปลตามตัวอักษรได้ว่า "หนังสือ เล่า เรื่อง เจ้า กษัตริย์ (แห่ง)ฟ้า" ซึ่งก็คือไบเบิลนั่นเอง แต่แปลเป็นภาษาไทดำแล้วพิมพ์ด้วยอักษรไทดำ อักษรลาว และอักษรเวียดนาม เมื่ออ่านแล้วจะออกเสียงและใช้คำศัพท์ภาษาไทดำเป็นหลัก

 

หนังสือเล่มนี้ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันเพิ่งได้รับมาจากผู้จัดทำ ในหนังสือระบุว่าเป็น New Testament ในภาษาเวียดนามและภาษาลาว ระบุว่าพิมพ์ปีค.ศ. 2014 ทางห้องสมุดขอให้ผมช่วยให้ความเห็นในการออกเสียงชื่อหนังสือเพื่อจัดทำระเบียนหนังสือ 

ตรงชื่อรองหรือ subtitle เขียนว่า "ความ หญัน ปาว ตอย ลวง ตาง เจ้า เซ (อักษรนี้ออกเสียงไทดำแบบ z ในภาษาอังกฤษ) ซู" นี่เขียนโดยไม่ตรงตามเสียงวรรณยุกต์เป๊ะๆ นะครับ น่าจะแปลได้ว่า "เรื่อง ข้อความ บอกเล่า ตาม แนว ทาง เจ้า เยซู" คำที่ผมไม่แน่ใจเพราะไม่เคยเห็นในภาษาไทดำคือคำว่า หญัน ผมเข้าใจว่าจะเป็นการดัดแปลงจากคำว่า nhắn ซึ่งแปลว่า "ข้อความ" จากภาษาเวียดนาม  

ที่น่าประหลาดใจคือ ผมเคยเห็นบางส่วนของไบเบิลฉบับภาษาไทดำอักษรไทดำมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนในระหว่างที่ทำวิจัยอยู่ในประเทศเวียดนาม แต่เห็นเพียงบางส่วนที่ถูกฉีกมา เพิ่งได้เห็นทั้งเล่มครั้งแรกในห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิสคอนซินนี่เอง แต่กลับกลายเป็นว่าหนังสือเพิ่งพิมพ์ในปี 2014  

เป็นไปได้ว่าในการพิมพ์ครั้งก่อน ก็อาจะระบุปีที่ตีพิมพ์ตามปีก่อนหน้านี้ หรือนี่อาจเป็นการพิมพ์โดยปรับปรุงใหม่ เพียงแต่ไม่มีรายละเอียดระบุไว้ หรืออาจจะเป็นการจัดทำโดยผู้จัดทำคนละกลุ่มกัน แต่ที่แน่ๆ คือในฉบับที่ผมเคยเห็นนั้น ใช้ font พิมพ์อักษรในระบบดิจิทัลชุดเดียวกันนี้ ผมจำฟอนต์นี้ได้ดีเพราะตนเองก็ใช้อยู่เสมอมา

 

สิ่งที่น่าสนใจคือการใช้ภาษาอธิบายเรื่องราวในไบเบิล เมื่อเปิดอ่านดูบางตอนก็พบว่าเข้าใจยากพอสมควร เนื่องจากเมื่อใช้ภาษาไทดำแปลหรืออธิบายเรื่องต่างๆ ในไบเบิลแล้ว ก็จะชวนให้หวนกลับไปหามโนทัศน์ที่มีในวัฒนธรรมไทดำ เช่น มโนทัศน์เรื่องผี มโนทัศน์เรื่องฟ้า รวมทั้งหลายๆ มโนทัศน์ที่ไม่มีในวัฒนธรรมไทดำเดิม เช่นคำว่า "เทวดา" ในหน้าแรกๆ ของไบเบิลนี้ซึ่งว่าด้วยกำเนิดพระเยซู ("เวน ออก เจ้า เซซู คาลิด") ที่ต้องมีคำอธิบายคำนี้ในเชิงอรรถโดยอิงกับภาษาลาวและภาษาเวียดนาม (ในที่นี้เรียกเป็นภาษาไทดำว่า "แกว") 

หากมีโอกาสได้อ่านมากขึ้นก็คงจะสนุกดีและได้ความรู้แปลกๆ ไม่น้อยในหลายๆ แง่ด้วยกัน ได้แก่ ในแง่ของการศึกษาเรื่องการแปล การถ่ายเทและดัดแปลงทางวัฒนธรรมและภาษา และเรื่องราวเบื้องหลังอื่นๆ อย่างการจัดทำไบเบิลนี้ การเผยแพร่ การเลือกใช้ภาษาและอักษร และการเมืองเรื่องศาสนาทั้งในกลุ่มไทดำเองและในถิ่นฐานของไทดำอย่างในเวียดนาม

นึกดูแล้วก็คิดว่าจะติดต่อขอผู้จัดทำมาไว้ที่ห้องสมุดในประเทศไทยสักชุดหนึ่ง เพื่อจะได้เอาไว้ศึกษากันต่อไป

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
รถกระบะพัฒนาจากการเป็นปัจจัยการผลิตจนกลายเป็นปัจจัยทางวัตถุเชิงวัฒนธรรมในระยะ 20 ปีมานี้เอง การเกิดขึ้นของวัฒนธรรมรถกระบะไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และรัฐบาลนั่นแหละที่มีส่วนสำคัญทำให้เกิดพัฒนาการนี้ขึ้นมา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ไปโตรอนโตได้สัก 5 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ก็อยู่ในห้องประชุม กับนั่งเตรียมเสนองาน จะมีบ้างก็สองวันสุดท้าย ที่จะมีชีวิตเป็นของตนเอง ได้เดินไปเดินมา เที่ยวขึ้นรถเมล์ รถราง กิน ดื่ม ละเลียดรายละเอียดของเมืองบางมุมได้บ้าง ก็ได้ความประทับใจบางอย่างที่อยากบันทึกเก็บไว้ ผิดถูกอย่างไรชาวโตรอนโตคงไม่ถือสานัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อีกสถานที่หนึ่งที่ตั้งใจไปเยือนคือโรงเบียร์ใจกลางเมืองชื่อ Steam Whistle ทำให้ได้เห็นทั้งวิธีคิดของเมือง วิธีการทำเบียร์ ความเอาจริงเอาจังของคนรุ่นใหม่ในแคนาดา รวมทั้งเข้าใจอะไรๆ เกี่ยวกับเบียร์มากขึ้น
ยุกติ มุกดาวิจิตร
แรกทีเดียวก่อนไปชม ก็ไม่คิดว่าจะได้อะไรมาก คิดว่าคงแค่ไปดูความเป็นมาของบาทาเป็นหลัก แล้วก็คงมีรองเท้าดีไซน์แปลกๆ ให้ดูบ้าง กับคงจะได้เห็นรองเท้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลกเอามาเปรียบเทียบกันด้วยความฉงนฉงายในสายตาฝรั่งบ้าง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผมมาประชุมวิชาการ AAS ประจำปี 2017 ที่โตรอนโต แคนาดา เมื่อเสนองานไปแล้วเมื่อวาน (18 มีค. 60) เมื่อเช้าก็เลยหาโอกาสไปทำความรู้จักกับเมืองและผู้คนบ้าง เริ่มต้นจากการไปแกลลอรีแห่งออนทาริโอ แกลลอรีสำคัญของรัฐนี้ ตามคำแนะนำของใครต่อใคร ไปถึงแล้วก็ไม่ผิดหวังเพราะแกลลอรีนี้น่าสนใจในหลายๆ ลักษณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดในการจัดแสดงงาน การเล่าเรื่องราว และการแสดงความเป็นแคนาดา
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ช่วงนี้มิวเซียมสยามมีนิทรรศการชั่วคราวชุดใหม่จัดแสดงอยู่ ชื่อนิทรรศการ "ต้มยำกุ้งวิทยา : วิชานี้อย่าเลียน !" ผมเพิ่งไปดูมาเมื่อสองวันก่อนนี้ ดูแล้วคิดอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเอามาปันกันตรงนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ทันทีที่ คสช. ขอบคุณ ธีรยุทธ บุญมี ธีรยุทธก็ได้วางมาตรฐานใหม่ให้แก่การทำงานวิชาการเพื่อสนับสนุนและแอบอิงไปกับเผด็จการทหาร แนวทางสำคัญ ๆ ได้แก่งานวิชาการที่ 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
วันนี้ (27 มค. 60) ไปสอน นศ. ธรรมศาสตร์ปี 1 ที่ลำปาง วิชามนุษย์กับสังคม ผมมีหน้าที่แนะนำว่าสังคมศาสตร์คืออะไร แล้วพบอะไรน่าสนใจบางอย่าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เมื่อคืนวันที่ 18 พย. ผมไปดูละครเรื่อง "รื้อ" มา ละครสนุกเหลือเชื่อ เวลาชั่วโมงครึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว พอดีผู้จัดซึ่งเป็นผู้แสดงหลักคนหนึ่งด้วย คืออาจารย์ภาสกร อินทุมาร ภาควิชาการละคร ศิลปกรรม ธรรมศาสตร์ ชวนไปเสวนาแลกเปลี่ยนหลังการแสดง ก็เลยต้องนั่งดูอย่างเอาจริงเอาจัง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักมานุษยวิทยามีแนวโน้มที่จะ "โรแมนติก" นั่นคือ "อิน" ไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา ความเห็นอกเห็นใจอาจเกินเลยจนกลายเป็นความหลงใหลฟูมฟายเออออไปกับกลุ่มคนที่ตนเองศึกษา 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ความเคลื่อนไหวในสังคมไทยขณะนี้มีหลายเหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นถึงขีดจำกัดคุณค่าความดีของสังคมไทยปัจจุบัน นั่นคือข้อเท็จจริงที่ว่า ความดีแบบไทยๆ ไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ไม่จำเป็นต้องดีอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นความดีที่ผูกติดกับสังคมนิยมชนชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
อย่างที่บอก ผมไปเกาหลีเที่ยวนี้เพื่อไปประชุมวิชาการครบรอบ 50 ปีการก่อตั้งภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยฮันกุ๊กภาษาและกิจการต่างประเทศ (Hankuk University of Foreign Studies)