Skip to main content

สนามบินที่ไหนๆ ก็ดูเหมือนๆ กันไปหมด อยู่ที่ว่าจะออกจากไหน ด้วยเรื่องราวอะไร หรือกำลังจะไปเผชิญอะไร ในความคาดหวังแบบไหน

แต่เร็วๆ นี้ได้ฟังบรรยายของนักมานุษยวิทยาหญิงแกร่งเก่งกาจที่เชี่ยวชาญเรื่องพม่า ฉาน ไทย คนหนึ่ง ชื่อเจน เฟอร์กูสัน เมื่อเธอผ่านมายังมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เธอเล่าเรื่องงานวิจัยเกี่ยวกับคติชนในสนามบิน การบิน เครื่องบิน แล้วก็ทำให้มองการบินเปลี่ยนไปบ้าง 

นักมานุษยวิทยาหรือนักภูมิศาสตร์หรือนักประวัติซาสตร์ศิลป์ที่สนใจสถาปัตยกรรม แล้วไปศึกษาสนามบิน มักเสนอว่า สนามบินเป็นพื้นที่กลางๆ เป็นที่ซึ่งคนหลากหลายพบปะกันแบบแทบจะไร้ตัวตน เป็นที่ที่คนไม่รู้สึกรู้สากับความหมายเฉพาะของมัน เป็นที่ซึ่งคนไม่ผูกพันด้วย นักต่างๆ เหล่านี้บางคนจึงนับพื้นที่อย่างสนามบินว่าเป็น ที่ไม่ใช่ที่ หรือ non-space แต่เฟอร์กูสันไม่เห็นด้วย 

แม้การบินจะเป็นการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด แต่ก็ดูจะเป็นการเดินทางที่คนกลัวมากที่สุด แล้วแต่ละสังคมก็แสดงความกลัวนั้นออกมาต่างกัน นั่นคือคำถามใหญ่คำถามหนึ่งของงานวิจัยนั้น 

เรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับการบินจึงมีทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก เรื่องยูเอฟโอ เรื่องเล่าต่อเนื่องจาก 9/11 จนกระทั่งเรื่องผีในสนามบิน เรื่องเหตุเครื่องบินตกแบบลึกลับ เรื่องสารพัด หังไปฟังมาแล้วก็ให้สงสัยว่า ทำไมนักวิชาการแถวบ้านเราถึงไม่หาหัวข้อวิจัยเท่ๆ แบบนี้ทำกันมั่งนะ 

ผมว่า ที่จริงความกังวลจากการบินคงไม่ใช่มีแค่กลัวอุบัติเหตุ แต่ยังมีความกังวลอื่นๆ กลัวตกเครื่องบิน กลัวลืมบัตรประจำตัว กลัวกระเป๋าน้ำหนักเกิน กลัววีซ่าไม่ผ่าน กลัวเข้าเมืองไม่ได้ กลัวกระเป๋าหาย กลัวต่อเคนื่องบินไม่ทัน กลัวหาประตูทางออกไม่เจอ 

นอกจากความกลัว แต่ละคนคงมีเรื่องเล่าขำๆ ขื่นๆ แปลกๆ เปิ่นๆ เกี่ยวกับการบินมากมาย รวมทั้งเรื่องราวเฉพาะถิ่นของสนามบิน ตลอดจนลูกเรือและการบริการบนเครื่องบิน  

ประสบการณ์หนึ่งที่ผมคงจดจำไปไม่ลืมคือการต่อเครื่องบินที่บินจากบอสตัน ไปแมดิสัน ที่ต้องต่อเครื่องที่ซินสิเนติ เนื่องจากเครื่องที่ออกจากบอสตันบินจากที่อื่นมาถึงช้า ผมก็เลยมีเวลาแค่ 15 นาทีเมื่อเครื่องลงจอดกับเวลาที่อีกเครื่องหนึ่งจะออก เมื่อตัดเวลาจัดการต่างๆ แล้ว ก็เหลือเวลาวิ่งจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งเพียง 5 นาที  

พอเครื่องลงจอดปุ๊บ มีคนอยู่ในสถานการณ์เดียวกันสัก 10 กว่าคนได้ กัปตันประกาศว่าใครไม่รีบให้นั่งรอก่อน ผู้คนที่เดินทางบ่อยคงรู้ คนไม่รีบก็ยังไม่ลุก คนลุกขึ้นยืนมองหน้ากันเหมือนจรดมือเข้าเส้นเตรียมวิ่งร้อยเมตรพร่อมคว้ากระเป๋า เมื่อประตูเครื่องเปิด สิบกว่าคนนั้รก็กรูกันออกไปคนละทิศคนละทาง ไปสู่เส้นชัยของตนเอง ผมตาบีตาเหลือกดูทาง ดูเกต เห็นเค้าท์เตอร์ยังมีคนอยู่ บริกรให้ขึ้นเครื่องอย่างอบอุ่น แล้วก็ได้ขึ้นไปนั่งหอบบนเครื่องบิน 

อีกสิ่งหนึ่งที่ผมชอบหากมีเวลาคือ หาของกินท้องถิ่นของสนามบินต่างๆ กรณีนี้จะชัดเจนเมื่อบินไปประเทศต่างๆ แต่ทร่จริงการบินในประเมศอย่างประเทศไทย ก็ให้ความบันเทิงเรื่องอาหารถิ่นได้เหมือนกัน ไม่เหมือนที่สหรัฐอเมริกา ที่อาหารสนามบินมักครือๆ กันจนสุดท้ายส่วนใหญ่ก็พึ่งแซนด์วิช 

อยู่เมืองไทย ถ้าบินไปหาดใหญ่ ผมก็หาซื้อลูกหยีกวนไร้เมล็ดกลับบ้าน สนามบินท่าศาลาเมืองนครฯ มีร้านอาหารใต้พอพึ่งได้อยู่ สนามยินเชียงใหม่แทบไม่มีใครเสียเวลาในสนามบิน คงเพราะใกล้เมืองจนคนมาถึงได้เร็ว แต่ก็มีร้านของฝากเชียงใหม่มากมายที่สนามบิน ทางอีสาน สนามบินอุบลฯ แม้จะดูไม่มีอะไร ร้านเล็กๆ ที่มีหมูยอร้อนๆ ขายก็มักเป็นที่พึ่งได้ ราคาก็ไม่ได้แตกต่างจากข้างนอกมากนัก 

แน่นอนว่าสนามบินนานาชาติก็มักจะมีอาหารที่คนทั่วโลกยอมกินกัน พวกไก่ทอด เบอร์เกอร์ กาแฟ แต่บางที่ก็หาของกินท้องถิ่นได้เช่นกัน อย่างที่หนึ่งที่ผมว่าเขาโปรโมตอาหารถิ่นดีที่หนึ่งคือสนามบินไทเป ที่นั่นมีอาหารจีนแบบไต้หวัน ซึ่งคงไม่ใช่มีเฉพาะที่ไต้หวัน เพียงแต่เจอมากในไต้หวัน พวกเกี๊ยวซ่า เสี่ยวหลงเปา บะหมี่เนื้อตุ๋น อาหารพวกนี้ขายราคาไม่ต่างจากข้างนอกนัก  

หรือที่มาเลเซีย สนามบินเปิดโล่งไร้เคาื่องประบอากาศของสายการยินราคาประหยัดสายหนึ่ว มีร้านอาหารถิ่นร้านหนึ่ง ที่คนท้องถิ่นหลายคนไม่ชอบนัก เพราะเป็นที่นั่งชิลของคนชั้นกลางที่ดูไม่เคร่งครัดรสนิยมนัก แต่ผมชอบบรรยากาศร้านแบบร้านน้ำชาตามย่านคนจีนสมัยก่อน โต๊ะ-เก้าอี้ไม้ พื้นกลม ปูพื้นโต๊ะ-เก้าอี้ด้วยหินอ่อน ขายชานมรสจัด มีก๋วยเตี๋ยวแปลกๆ ที่ไม่ทีทางรู้ว่าเป็นรสชาติอย่างที่คนท้องถิ่นชอบจริงไหม  

แต่ที่ขัดใจมากคือขนมปังทางเนยผสมน้ำตาลหวานเจี๊ยบ ถึงอย่างนั้นมันก็ชวนให้คิดว่า นี่คงเป็นการ "แปล" ขนมปังให้เป็นกึ่งอาหารกึ่งขนม แบบเดียวกับที่คนไทยเอามาจารีน (มาการีน) ทาขนมปังย่างเตาถ่านแล้วโรยน้ำตาล หรือเอาขนมปังไปนึ่งจนนุ่มแล้วจิ้มสังขยา หรือตักไอติมโปะขนมปัง "บัน" ที่คนอเมริกันไว้กินกับฮ็อตด็อก  

ที่เกาหลี ผมตื่นตาตื่นใจกับร้านอาหารเกาหลีซึ่งมีของกินดูดี ดูเกาหลีๆ ให้ชิมมากมาย แม้เกาหลีมักจะเป็นทางผ่าน มากกว่าเป็นปลายทางที่เคยไปเพียงครั้งเดียว ร้านอาหารที่สนามบินสำหรับต่อเครื่องก็ชวนให้สนุกลิ้นได้เช่นกัน  

ส่วนที่ญี่ปุ่น นอกจากบะหมี่และเบียร์หลายยี่ห้อแล้ว สงสัยว่าสำหรับชาวญี่ปุ่น ระหว่างเดินทางคงไม่อำนวยให้กินอาหารญี่ปุ่นที่ลึกซึ้งมากนัก ส่วนใหญ่ผมมักได้กินราเมนสักชาม กับซื้อบรรดาขนมโมจิ หรือที่เดี๋ยวนี้คนไทยมักเรียกชื่อไดฟูกุ เป็นของฝาก  

ของกินที่เป็นของฝากน่าสนุกจากญี่ปุ่นได้อีกอย่างหนึ่งคือ บรรดาปลาหมึกแห้ง ที่ช่างสรรหาวิธีดัดแปลง และหลากหลายพันธ์ุ ส่วนใหญ่ก็ไม่หนีกับที่พอจะจินตนาการได้จากในภูมิทัศน์ปลาหมึกแห้งแบบไทย เพียงแต่ไม่รู้ทำไมคนญี่ปุ่นขยันจับของขบเคี้ยวเหล่านี้ใส่ห่อพลาสติกให้ชวนชิมได้มากนัก 

อาคารสนามบิน เครื่องบินในฐานะพาหนะ ความสัมพันธ์ระหว่างคนเดินทาง ไม่ได้ว่างเปล่าชวนเหนื่อยหน่ายจนกลายเป็น ที่ไม่ใช่ที่ ไปเสียทุกที่ทุกการเดินทาง ขึ้นอยู่กับว่าคนเดินทางสื่อสารอะไรกับเส้นทาง ขึ้นอยู่กับว่าที่ระหว่างทางต่างๆ พยายามสร้างความหมายและสายสัมพันธ์ุให้สัมผัสกับผู้คนอย่างไร  

ในระหว่างการเดินทาง ผมก็แค่เขียนเพื่อหาความหมายให้กับการเคลื่อนย้ายไปมา แล้วก็ชวนให้ตนเองอยากท่องเที่ยวไปเพียงบนเส้นทาง ซึ่งต่างก็สร้างความเป็นปลายทางให้กับตัวเองไปพร้อมๆ กับการเป็นที่ผ่านทาง

บล็อกของ ยุกติ มุกดาวิจิตร

ยุกติ มุกดาวิจิตร
อันที่จริงผมก็นึกไม่ถึงว่าจะมีคนสนใจข่าวนี้กันมากนัก เรื่องอาจจะเป็นเพราะมีการใช้คำในการรายงานข่าวเบื้องต้นอย่างคลาดเคลื่อนไป ก็เลยทำให้เป็นที่น่าตกใจ แต่อีกนัยหนึ่งก็ชี้ให้เห็นปัญหาการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนกระทั่งเมื่อมีการแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะอยู่ใต้อำนาจกดทับนั้น คนก็จึงตอบรับกันอย่างกระหน่ำ อย่างไรก็ดี ผมก็อยากชี้แจงให้กระจ่างเพิ่มเติมว่า ทำไมผมจึงเลือกที่จะแสดงสถานภาพในการเดินทางมาต่างประเทศของผมในครั้งนี้เพิ่มเติมผ่านข้อเขียนนี้
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เพิ่งผ่านมาเพียง 5 เดือนอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะถามว่า หลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 แล้วขบวนการประชาชนจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่หากมองย้อนกลับไป แล้วมองไปข้างหน้าอีกสักหน่อย ก็น่าจะลองคิดถกเถียงกันบ้างว่า ขบวนการประชาชนน่าจะไปทางไหนต่อไป
ยุกติ มุกดาวิจิตร
TED รายการบรรยายสาธารณะที่มีชื่อเสียงและผมก็ติดตามเรียนรู้มาสม่ำเสมอ ได้เผยแพร่คลิปบรรยายของคีท เชน นักเศรษฐศาสตร์ที่เสนอข้อถกเถียงว่า ภาษามีความเชื่อมโยงกับการออมตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ผมเพิ่งได้ยินเกี่ยวกับการศึกษานี้มาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษานี้ในชั้นเรียนวิชามานุษยวิทยาภาษา ที่นักศึกษาคนหนึ่งเอ่ยถึงการศึกษานี้ และเพิ่งได้ดูด้วยตัวเองเมื่อ 3-4 วันก่อนนี้เอง เห็นว่าน่าสนใจดีก็เลยนำไปให้นักศึกษาดูและถกเถียงกันในชั้น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การอัตวินิบาตกรรมของคุณนวมทอง ไพรวัลย์ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง นัยหนึ่งถือว่าเป็นการประท้วงต่อการรัฐประหาร อีกนัยหนึ่งถือเป็นการยืนยันความจริงจังและบริสุทธิ์ใจต่ออุดมการณ์ อีกนัยหนึ่งอาจปลุกเร้าสำนึกของผู้ร่วมอุดมการณ์ หรืออีกนัยหนึ่งก็เกรงว่าจะเป็นความสูญเสียที่สูญเปล่า
ยุกติ มุกดาวิจิตร
การสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยแตกต่างจากการสอนหนังสือในระดับโรงเรียนก็คงจะตรงที่ว่า ผู้สอนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เรียนการสอนมาก่อน อาจจะมีการอบรมเรื่องการเรียนการสอนบ้าง มีการประเมินผลให้ผู้สอนพิจารณาปรับปรุงตนเองบ้าง มีการประเมินตนเองบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ผู้สอนมีส่วนสร้างระบบการเรียนการสอนด้วยตนเอง
ยุกติ มุกดาวิจิตร
"อาร์บอรีทั่ม" (Arboretum) เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ร่วม 3 พันไร่ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สวนนี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งมหาวิทยาลัย แต่ก็อยู่ห่างออกไปไม่ไกลนัก หากขยันเดิน สักชั่วโมงหนึ่งก็ถึง ถีบจักรยานไปก็สัก 20 นาที อาจเร็วกว่าขับรถที่ต้องเจอกับป้ายหยุด ทางแยก ไฟสัญญาณ กว่าจะถึงก็สัก 30 นาที
ยุกติ มุกดาวิจิตร
นักวิชาการมิได้มีสถานภาพพิเศษแตกต่างไปจากคนอื่นๆ ในสังคม เพียงแต่อาชีพนักวิชาการเป็นอาชีพที่ต้องพัฒนาความคิดความอ่านตลอดเวลา นักวิชาการจึงไม่ควรมีขอบเขตของความคิดความอ่าน พร้อมๆ กับที่ไม่ควรปิดกั้นขอบเขตของความคิดคนอื่น 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
กว่า 3 เดือนที่ผ่านมาผมไปชมการแสดงดนตรีไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ นึกเสียดายที่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่มาเรียนไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านี้เลย เมื่อวานนี้ (ตามเวลาที่อเมริกา) ผมก็เพิ่งออกจากห้องแสดงดนตรีมา จนทำให้ผมคิดขึ้นมาได้ว่า นี่ผมอยู่ในโลกไหนกัน แล้วทำไมที่ที่ผมอยู่เป็นปกติเขาถึงไม่ทำสถาบันการศึกษาให้เป็นสถานที่บ่มเพาะความเจริญของจิตใจได้อย่างนี้บ้าง 
ยุกติ มุกดาวิจิตร
เดอร์ แรธสเคลเลอร์เป็นบาร์เบียร์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ตั้งอยู่ในตึกกิจกรรมนักศึกษา (ที่นี่เรียกว่า Memorial Union) ตึกกิจฯ นี้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1928 โน่นเลย บาร์เบียร์แห่งนี้ก็น่าจะอายุไม่น้อยไปกว่าตึกที่มันอาศัยอยู่เท่าใดนัก
ยุกติ มุกดาวิจิตร
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมกิจกรรมสังคมวิชาการซ้ำซ้อนกันหลายงาน ตั้งแต่บรรยายเรื่องการทำวิจัยในเวียดนามให้นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟัง ต่อด้วยปาร์ตี้ประจำปีของศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของมหา'ลัยวิสคอนซิน ซึ่งเป็นงานแบบ potluck party และก็ฟองดูปาร์ตี้เล็กๆ ที่บ้านอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่อะไรมากไปกว่าขนมปังจุ่มชีสต้มเดือด ทั้งหมดนั้นได้อะไรสนุกๆ มามากมาย
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ผ่านมาได้ 3 สัปดาห์ วิชาที่ผมสอนที่วิสคอนซินเริ่มสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในห้องมีนักเรียน 10 คน ขนาดพอๆ กับที่เคยสอนที่ธรรมศาสตร์ แต่ที่ต่างคือในห้องเดียวกันนี้มีทั้งนักเรียนปริญญาตรี โท และเอกเรียนร่วมกัน เพียงแต่ข้อกำหนดของงานและความคาดหวังจากนักเรียนระดับ ป.ตรีกับ ป.โท-เอก ย่อมแตกต่างกัน
ยุกติ มุกดาวิจิตร
ท่านถามอย่างนี้กับสื่อมวลชน ต่อหน้าสาธารณชน ใครเขาจะกล้าตอบ ก็ในเมื่อท่านมีปืนอยู่ในมือ ใครเอาปืนจี้หัวท่านไว้แล้วท่านจะตอบความในใจที่ขัดความรู้สึกเขาได้ไหมล่ะ เรื่องแค่นี้น่าจะเข้าใจนะ